Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10616
Title: ผลของการเติมออร์โธฟอสเฟตที่ขั้นตอนแอโรบิกต่อการกำจัดฟอสฟอรัสทางชีวภาพโดยกระบวนการเอสบีอาร์แบบแอนแอโรบิก-แอโรบิก
Other Titles: Effects of the orthophosphate addition to the aerobic stage on the biological phosphorus removal by an anaerobic/aerobic-SBR process
Authors: อร รุ่งเรืองวัฒน์
Advisors: ธงชัย พรรณสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Thongchai.P@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดฟอสฟอรัส
น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการแบบตะกอนเร่ง
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการเติมออร์โธฟอสเฟตที่ขั้นตอนแอโรบิกต่อประสิทธิภาพการกำจัดฟอสฟอรัสทางชีวภาพของกระบวนการแอนแอโรบิก/แอโรบิก ซึ่งมีการทำงานแบบเอสบีอาร์ โดยถังปฏิกิริยาที่ใช้มีปริมาตรใช้งานเท่ากับ 10 ลิตร อัตราส่วนน้ำที่เติม (Vf) ต่อน้ำค้างถัง (Vo) เท่ากับ 2:1 ค่าอายุสลัดจ์เท่ากับ 8 วัน และวัฏจักรการทำงานเท่ากับ 8 ชม. ได้แก่ ช่วงเวลาเติมน้ำเข้ารวมกับช่วงแอนแอโรบิก 2 ชม. ช่วงแอโรบิก 4 ชม. ช่วงตกตะกอน 40 นาที ช่วงระบายน้ำทิ้ง 5 นาที และช่วงแอนอกซิก 1 ชม. 15 นาที การทดลองได้แบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดแรกซึ่งเป็นชุดควบคุมนั้นฟอสฟอรัสถูกเติมที่น้ำเสียสังเคราะห์โดยตรง และชุดที่สองซึ่งเป็นชุดทดสอบเติมฟอสฟอรัสที่ขั้นตอนแอโรบิก โดยทั้งสองชุดทดลองกำหนดให้เติมฟอสฟอรัสในปริมาณเท่ากันคือ 15 มก./ล. และทำการแปรผันปริมาณสารอาหารเพื่อศึกษาผลของปริมาณสารอาหารที่มีต่อการกำจัดฟอสฟอรัส โดยสารอาหารที่ใช้ในการทดลองนี้ใช้ในรูปของอาร์บีซีโอดี (ในรูปของโซเดียมอะซิเทตและนิวเทรียนต์บรอธ โดยใช้นิวเทรียนบรอธในปริมาณที่ให้ปริมาณไนโตรเจนเพียงพอต่อความต้องการของชีวสังเคราะห์ของเซลล์ ซึ่งกำหนดจากค่าอัตราส่วนบีโบ 100:3) และสำหรับชุดควบคุมอัตราส่วนอาร์บีซีโอดีต่อฟอสฟอรัสเท่ากับ 6:1, 12:1, 24:1 และ 48:1 (การทดลองชุด 6:1, 12:1, 24:1 และ 48:1 ตามลำดับ) ส่วนชุดทดสอบได้ทำการทดลองที่อัตราส่วน 6:1, 24:1 และ 48:1 (การทดลองชุด 6:1@AER, 24;1@AER และ 48:1@AER ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังได้ทำการทดลองแบบแบตซ์เพิ่มเติมอีก โดยได้นำสลัดจ์จากปลายขั้นตอนแอนแอโรบิกของชุดควบคุมมาเติมฟอสฟอรัสด้วยความเข้มข้นเท่ากับ 0, 22.5 และ 67.5 มก./ล. ตามลำดับ เพื่อศึกษาผลของการเติมฟอสฟอรัสที่ปลายขั้นตอนแอนแอโรบิกในปริมาณที่ต่างกันของชุดทดลองที่มีอัตราส่วนอาร์บีซีโอดีและฟอสฟอรัสแตกต่างกันด้วย ผลจากการทดลองของชุดควบคุมที่สถานะคงตัวแสดงว่า ประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสเท่ากับร้อยละ 21, 42, 75 และ 100 ตามลำดับ ค่าฟอสฟอรัสละลายในน้ำออกมีค่าเท่ากับ 11.8, 8.7, 3.7 และ 0.0 มก./ล. ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์ฟอสฟอรัสในเซลล์มีค่าเท่ากับร้อยละ 13.5, 9.3, 6.4 และ 4.9 ตามลำดับ ส่วนผลการทดลองจากการเก็บโพรไฟล์ของชุดทดสอบให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสเท่ากับร้อยละ 20, 59 และ 100 ตามลำดับ และฟอสฟอรัสละลายในน้ำออกมีค่าเท่ากับ 12.0, 6.1 และ 0.0 มก./ล. ตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับชุดควบคุม จึงแสดงให้เห็นว่าตำแหน่งของการเติมฟอสฟอรัสเข้าระบบไม่ใช่สิ่งสำคัญที่จะมากำหนดประสิทธิภาพของการกำจัดฟอสฟอรัสของระบบ แต่ปริมาณสารอาหารที่เติมเข้าระบบนั้นเองที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัส กล่าวคือ เมื่อปริมาณสารอาหารเพิ่มขึ้นทำให้ประสิทธิภาพการกำจัดฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น และพบว่าอัตราส่วนสารอาหารต่อฟอสฟอรัสมีผลต่อกลุ่มจุลชีพที่อยู่ในระบบ โดยเมื่ออัตราส่วนปริมาณสารอาหารต่อฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นอัตราส่วนจุลชีพพวกพีเอโอต่อกลุ่มจุลชีพทั้งหมดในระบบจะมีค่าลดลง สำหรับผลการทดลองแบบแบตซ์แสดงให้เห็นว่าเมื่อปริมาณสารอาหารเพิ่มขึ้นจำกำจัดฟอสฟอรัสได้เพิ่มขึ้นด้วย และเมื่อเติมฟอสฟอรัสในปริมาณมากขึ้นจะเกิดการกำจัดฟอสฟอรัสได้มากขึ้นด้วย ซึ่งแนวคิดจากผลส่วนนี้นำไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมได้
Other Abstract: This research was to study the effect of the orthophosphate addition to the aerobic stage on the efficiency of the biological phosphorus removal by an anaerobic/aerobic-SBR process. Working volume of the reacter was 10.1., while the ratio of influent (Vf) to remaining volume (Vo) was 2:1. The sludge age was controlled at 8 days and the cycle time was 8 hrs. :2 hrs. feed+anaerobic, 4 hrs. aerobic, 40 min. settling, 5 min. withdraw and 1:15 hrs. anoxic. The experiment was divided into 2 points. In the first or 'Control' experiment; phosphorus was added to the synthetic wastewater directly. In the second or 'test' experiment; phosphorus at the same dose was added to the aerobic stage. Phosphorus at 15 mg/l concentration was used in all experiments. The amount of the substrates was varied so that its effect to phosphorus removal could be investigated. The substrates used in this experiment was in terms of RBCOD (sodium acetate+nutrient broth, the nutrient broth was used to provide the required nitrogen for cell synthesis. BOD:N ratio was set at 100:3). The synthetic wastewater in the Control experiment had RBCOD:P ratio of 6:1, 12:1, 24:1 and 48:1 while that of test experiment RBCOD:P ratio were 6:1, 24:1 and 48:1. Besides those experiments, batch test (which took sludge from the end of the anaerobic stage of the control experiment) was done at a different amount of phosphorus, i.e., 0, 22.5 and 67.5 mg/l., respectively. At steady state, the efficiencies of phosphorus removal for the control experiment were 21, 42, 75 and 100%, respectively. the soluble phosphorus in the effluent were 11.8, 8.7, 3.7 and 0.0 mg/l, respectively. The percentage of phosphorus accumulated in cells were 13.5, 9.3, 6.4 and 4.9 respectively. From the test-experiment profile data it is seen that the efficiencies of phosphorus removal were 20, 59 and 100 respectively. The soluble phosphorus in the effluent were 12.0, 6.1 and 0.0 mg/l, respectively which are closed to the control result. That is, the point of phosphorus addition does not have much effect on the BPR efficiency. But it is the substrates that had effect on the efficiencies of phosphorus removal. When the amount of the substrates increased, the efficiencies of phosphorus removal also increased. And the ratio of the substrates to phosphorus had the effect to a group of organisms in the system. When the ratio of the substrates to phosphorus increased, the portion of PAOs to a group of all organisms in the system would decrease. For the result of batch tests, experiment showed that when the amount of the substrates increased, phosphorus removal also increased. And when addition phosphorus increased, phosphorus removal also increased. This discovery can lead to application in industrial reactors.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10616
ISBN: 9743344942
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orn_Ru_front.pdf871.6 kBAdobe PDFView/Open
Orn_Ru_ch1.pdf837.17 kBAdobe PDFView/Open
Orn_Ru_ch2.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Orn_Ru_ch3.pdf898.54 kBAdobe PDFView/Open
Orn_Ru_ch4.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Orn_Ru_ch5.pdf694.16 kBAdobe PDFView/Open
Orn_Ru_back.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.