Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10700
Title: การประยุกต์ใช้แบบแผนไบออร์ทอกอนอลกับผู้ใช้อัตราข้อมูลสูงร่วมด้วยการหักล้างสัญญาณแทรกสอดสำหรับระบบดีเอสซีดีเอ็มเอแบบหลายอัตราที่ใช้แบบแผนหลายรหัส
Other Titles: Application of biorthogonal scheme on high-rate users with interference cancellation for multicode multirate DS-CDMA systems
Authors: เสรี วณิชภักดีเดชา
Advisors: สมชาย จิตะพันธ์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somchai.J@chula.ac.th
Subjects: การเข้าถึงแบบหลายทางด้วยการแบ่งรหัส
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เสนอการนำแบบแผนไบออร์ทอกอนอลหรือแบบแผนไบออร์ทอกอนอลแบบหลายรหัสมาใช้ในผู้ใช้ข้อมูลอัตราสูงของระบบซีดีเอ็มเอแบบสามอัตราที่ใช้แบบแผนหลายรหัส เพื่อปรับปรุงสมรรถนะของระบบซีดีเอ็มเอแบบสามอัตราในข่ายเชื่อมโยงขาขึ้น โดยจะช่วยลดค่ากำลังสัญญาณสูงที่สุดของผู้ใช้ข้อมูลอัตราสูงที่มากเกินไปซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาความผิดเพี้ยนแบบไม่เชิงเส้นที่ตัวขยายสัญญาณ โดยสัญญาณที่ส่งด้วยแบบแผนไบออร์ทอกอนอลจะมีกำลังสูงที่สุดคงที่ในขณะที่สัญญาณที่ส่งด้วยแบบแผนหลายรหัสจะมีกำลังสูงสุดแปรตามอัตราข้อมูลที่ส่ง นอกจากนี้สัญญาณแทรกสอดในกรณีที่ส่งด้วยแบบแผนไบออร์ทอกอนอลหรือแบบแผนไบออร์ทอกอนอลแบบหลายรหัสจะมีความแรงลดน้อยลง ทำให้การประมาณสัญญาณของผู้ใช้รายอื่นมีความเชื่อถือได้มากขึ้น เครื่องรับแบบหักล้างสัญญาณแทรกสอดอย่างขนานซึ่งเป็นกลุ่มที่มุ่งหักล้างสัญญาณแทรกสอดให้กับผู้ใช้ข้อมูลอัตราสูงจะถูกใช้เป็นเครื่องรับสำหรับการส่งข้อมูลที่ใช้แบบแผนไบออร์ทอกอนอลหรือแบบแผนไบออร์ทอกอนอลแบบหลายรหัสกับผู้ใช้ข้อมูลอัตราสูง ซึ่งจะอาศัยความเชื่อถือได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้ใช้ข้อมูลอัตราต่ำและกลางที่ใช้แบบแผนหลายรหัสมาหักล้างสัญญาณแทรกสอดให้กับผู้ใช้ข้อมูลอัตราสูงที่ใช้แบบแผนไบออร์ทอกอนอลหรือแบบแผนไบออร์ทอกอนอลแบบหลายรหัส ผลการจำลองระบบที่ใช้แบบแผนไบออร์ทอกอนอลหรือแบบแผนไบออร์ทอกอนอลแบบหลายรหัสในการส่งข้อมูลของผู้ใช้ข้อมูลอัตราสูง และใช้เครื่องรับแบบหักล้างสัญญาณแทรกสอดอย่างขนานเป็นกลุ่มที่มุ่งหักล้างสัญญาณแทรกสอดให้กับผู้ใช้ข้อมูลอัตราสูง เปรียบเทียบกับระบบที่ใช้แบบแผนหลายรหัสในผู้ใช้ทุกราย และใช้เครื่องรับแบบหักล้างสัญญาณแทรกสอดอย่างขนาน พบว่าระบบที่เสนอสามารถปรับปรุงสมรรถนะของระบบสามอัตราให้ดีขึ้นสำหรับผู้ใช้ข้อมูลอัตราต่ำ และกลาง และที่ผู้ใช้ข้อมูลอัตราสูงที่ค่า SNR ค่อนข้างสูง
Other Abstract: This thesis proposed multicode tri-rate CDMA systems using biorthogonal or biorthogonal multicode scheme on high-rate users for the objective of improving the up-link performance. This applyment reduces high-rate signal's peak power that might cause a nonlinear distortion problem at power amplifiers. By biorthogonal schemes, the peak power of a signal can be fixed to a constant, different from multicode scheme's case where the peak power of a signal increases with data rate. Moreover, interferences occuring from signal using biorthogonal or biorthogonal multicode scheme are lower than those occuring from signal using multicode scheme. This characteristic increases reliability in bit detections. Groupwise parallel interference cancellation that tends to cancel interference for high-rate users is used to be a receiver of the system that uses biorthogonal or biorthogonal multicode scheme on high-rate users. With this receiver, reliable estimated multicode low-rate and medium-rate's data will be fed back to cancel the interferences for biorthogonal or biorthogonal multicode high-rate users The results of multicode tri-rate CDMA systems using biorthogonal or biorthogonal multicode scheme on high-rate users with the groupwise parallel interference cancellation, comparing with tri-rate CDMA systems that use multicode scheme at all users with parallel interference cancellation, show that the proposed systems give higher performances on low-rate and medium-rate users and on high-rate users with rather high SNR.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10700
ISBN: 9740315194
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Seree.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.