Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10716
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประสาร มาลากุล ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorนิรันดร์ แสงสวัสดิ์-
dc.contributor.authorกมลทิพย์ ต่อติด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-29T04:31:47Z-
dc.date.available2009-08-29T04:31:47Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741700636-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10716-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกกระบวนการสืบสอบที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมสาธิต สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา จำนวน 84 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 42 คน กลุ่มควบคุม 42 คน ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบไม่เจาะจงอย่างง่าย แบบการวิจัยเป็นแบบมีกลุ่มควบคุมและมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ในระยะการทดลองกลุ่มทดลองได้รับการฝึกกระบวนการสืบสอบจำนวน 12 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกกระบวนการสืบสอบ ผู้วิจัยทำการประเมินความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล และแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในระยะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t - test) ทั้งแบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกันและสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลองนักเรียนที่ได้รับการฝึกกระบวนการสืบสอบมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึกกระบวนการสืบสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. หลังการทดลองนักเรียนที่ได้รับการฝึกกระบวนการสืบสอบมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. หลังการทดลองนักเรียนที่ได้รับการฝึกกระบวนการสืบสอบมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการฝึกกระบวนการสืบสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. หลังการทดลองนักเรียนที่ได้รับการฝึกกระบวนการสืบสอบมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study effects of inquiry process training on reasoning ability and problem solving ability of Prathom Suksa six students. The subjects were 84 Prathom Suksa six students from Primary Demonstration School Rajabhat Institute Suansunandha. They were randomly assigned into experimental group and control group with 42 each. This research employed the pretest-posttest control group design. The experimental group was trained twelve sessions by inquiry process while the control group was not trained. All subjects were tested on reasoning ability and problem solving ability by reasoning ability test and problem solving ability test before and after treatment. The data were analyzed by both independent and dependent t - test. The results were as follows : 1. The posttest scores on reasoning ability of the experimental group were higher than its those of the control group at .01 level of significance. 2. After the treatment, the experimental group had higher reasoning ability scores than before the treatment at .01 level of significance. 3. The posttest scores on problem solving ability of the experimental group were higher than its those of the control group at .01 level of significance. 4. After the treatment, the experimental group had higher problem solving ability scores than before the treatment at .01 level of significance.en
dc.format.extent5519364 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.619-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสอบสวนen
dc.subjectความคิดและการคิดen
dc.titleผลของการฝึกกระบวนการสืบสอบที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6en
dc.title.alternativeEffects of inquiry process training on reasoning ability and problem solving ability of prathom suksa six studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorprasan@kbu.ac.th-
dc.email.advisorNiran.S@Chula.ac.th  -
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.619-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamolthip.pdf5.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.