Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10720
Title: Antimicrobial property of polysaccharide gel from durian fruit-hulls
Other Titles: คุณสมบัติการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของสารโพลีแซคคาไรด์เจลจากเปลือกของผลทุเรียน
Authors: Nantawan Nantawanit
Advisors: Sunanta Pongsamart
Vimolmas Lipipun
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: Sunanta.Po@Chula.ac.th
Vimolmas.L@Chula.ac.th  
Subjects: Microorganisms
Polysaccharides
Durian
Durian fruit-hulls
Anti-infective agents
Issue Date: 2001
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Antimicrobial property of polysaccharide gel (PG) from fruit-hulls of durian (Durio zibethinus L.) was investigated to find a novel antimicrobial polysaccharide. Since PG was polysaccharide composed of sugars including arabinose, rhamnose, fructose, glucose and galacturonic acid. In vitro activity was performed to evaluate the susceptibility of microorganisms to PG. All standard strains of test microorganisms were susceptible to test antibiotic. PG showed inhibitory activity against 7 strains of bacteria. The susceptibility test was determined by agar diffusion method, inhibition zone of sharp and clear margin was observed on agar media with PG at concentration down to 0.32% against Bacillus subtilis ATCC 6633, Micrococcus luteus ATCC 9341, Staphylococcus epidermidis ATCC 12228, Lactobacillus pentosus ATCC 8041 and Escherichia coli ATCC 25922, to 0.625% and 1.25% against Staphylococcus aureus ATCC 6538P and Proteus vulgaris ATCC 13315, respectively. Broth macrodilution method was used to determine a quantitative antimicrobial activity of PG. Minimal Inhibitory Concentration (MIC) of PG against B. subtilis, M. luteus, S. epidermidis, E. coli and P. vulgaris was 6.4 mg/ml and against S. aureus and L. pentosus were 12.8 and 25.6 mg/ml, respectively. Time-kill study demonstrated killing effect of PG against susceptible bacteria, the results showed that colony counts of bacteria were declined to zero with 25.6 mg/ml of PG at 12 hours against B. subtilis; at 16 hours against M. luteus, E. coli and P. vulgaris; at 20 hours against S. aureus and S. epidermidis. Whereas the colony count of L. pentosus was declined to zero with 51.2 mg/ml of PG at 8 hours. Preparation of PG as polysaccharide film was also qualitative assay for antimicrobial activity. Inhibitory effect of PG film against susceptible bacteria was demonstrated a transparency area on agar medium covered with PG film. Examination of bacterial cells exposed to PG in normal saline solution under scanning electron microscope appeared an alteration on cell surface of bacteria. The development of PG resistance in S. aureus and E. coli were studied by repeated exposure method in medium containing sub-inhibitory concentration of PG. The results demonstrated that S. aureus and E. coli were not inducible to obtain the PG resistance during 30 days. Inhibitory activity of PG was not found against 4 test bacteria, Lactobacillus plantarum ATCC 14917, Salmonella typhimurium ATCC 14028, Klebsiella pneumoniae ATCC 10031 and Pseudomonas aeruginosa ATCC 9721, and 2 test yeast, Saccharomyces cerevisiae ATCC 9763 and Candida albicans ATCC 10230 in this study.
Other Abstract: ได้ทำการศึกษาในหลอดทดลองเกี่ยวกับคุณสมบัติการต้านเชื้อจุลินทรีย์ของสารโพลีแซคคาไรด์เจลจากเปลือกของผลทุเรียนเพื่อค้นหาสารโพลีแซคคาไรด์ชนิดใหม่ที่มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ สารโพลีแซคคาไรด์เจลนี้ประกอบด้วยน้ำตาลชนิดต่างๆได้แก่ อราบิโนส แรมโนส ฟรุคโตส กลูโคส และกรดกาแลคทูโรนิค โดยทำการทดสอบกับเชื้อจุลินทรีย์มาตรฐานสายพันธุ์ต่างๆ เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการทดสอบทุกสายพันธุ์มีความไวต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการทดลอง ผลการทดสอบพบว่าสารโพลีแซคคาไรด์เจลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย 7 สายพันธุ์ จากการทดสอบความไวของเชื้อจุลินทรีย์โดยเทคนิค agar diffusion สารโพลีแซคคาไรด์เจลที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.32 เปอร์เซ็นต์ ให้ขนาดของวงใสมีขอบเขตที่คมและชัดเจนบนอาหารวุ้น ต้านการเจริญต่อเชื้อ Bacillus subtilis ATCC 6633, Micrococcus luteus ATCC 9341, Staphylococcus epidermidis ATCC 12228, Lactobacillus pentosus ATCC 8041 และ Escherichia coli ATCC 25922 สำหรับสารโพลีแซคคาไรด์เจลที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.625 เปอร์เซ็นต์ และ 1.25 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไปจะให้ขนาดวงใสต้านการเจริญต่อเชื้อ Staphylococcus aureus ATCC 6538P และ Proteus vulgaris ATCC 13315 ตามลำดับ การทดสอบโดยใช้เทคนิค broth macrodilution เป็นการทดสอบเพื่อหาปริมาณของสารโพลีแซคคาไรด์เจลที่ใช้ในการออกฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ ค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารโพลีแซคคาไรด์เจลที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ B. subtilis, M. luteus, S. epidermidis, E. coli และ P. vulgaris มีค่าเท่ากับ 6.4 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สำหรับ S. aureus และ L. pentosus นั้น ค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารโพลีแซคคาไรด์เจลที่สามารถยับยั้งเชื้อมีค่าเท่ากับ 12.8 และ 25.6 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ การประเมินระยะเวลาของการทำลายเชื้อแบคทีเรียที่มีความไวต่อสารโพลีแซคคาไรด์เจลพบว่า สารโพลีแซคคาไรด์เจลที่ความเข้มข้น 25.6 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สามารถทำลายเชื้อ B. subtilis โดยเห็นผลของจำนวนโคโลนีที่ลดลงเหลือ 0 ในชั่วโมงที่ 12 และที่ความเข้มข้นของสารโพลีแซคคาไรด์เท่ากับ 25.6 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สามารถทำลายเชื้อ M. luteus, E. coli และ P. vulgaris ; S. aureus และ S. epidermidis ในชั่วโมงที่ 16 และ 20 ตามลำดับ สำหรับ L. pentosus นั้น จำนวนโคโลนีจะลดลงเหลือ 0 ในชั่วโมงที่ 8 เมื่อใช้สารโพลีแซคคาไรด์เจลความเข้มข้น 51.2 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร การทดสอบเชิงคุณภาพของสารโพลีแซคคาไรด์เจลในการออกฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์นั้นได้ทำการศึกษาโดยใช้โพลีแซคคาไรด์เจลที่เตรียมในรูปของแผ่นฟิล์ม ซึ่งสามารถอ่านผลการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้จากความโปร่งใสของแผ่นฟิลม์ในบริเวณที่คลุมทับบนอาหารวุ้น การศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราดพบการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวของเชื้อแบคทีเรียซึ่งบ่มในสารละลายน้ำเกลือที่มีสารโพลีแซคคาไรด์เจล สำหรับการทดสอบด้านการพัฒนาฤทธิ์ต้านสารโพลีแซคคาไรด์เจลของเชื้อ S.aureus และ E. coli โดยใช้เทคนิค repeated exposure ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีโพลีแซคคาไรด์เจลในความเข้มข้นที่เป็นครึ่งหนึ่งของค่าที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อ ผลการทดสอบพบว่า S. aureus และ E. coli ไม่ถูกชักนำให้มีฤทธิ์ดื้อต่อการโพลีแซคคาไรด์เจลในระหว่างการทดสอบเป็นระยะเวลา 30 วัน ในการศึกษาครั้งนี้โพลีแซคคาไรด์เจลไม่มีผลยับยั้งการเจริญต่อเชื้อแบคทีเรีย 4 สายพันธุ์ คือ Lactobacillus plantarum ATCC 14917, Salmonella typhimurium ATCC 14028, Klebsiella pneumoniae ATCC 10031 และ Pseudomonas aeruginosa ATCC 9721 และเชื้อยีสต์สองสายพันธุ์ที่ทดสอบคือ Saccharomyces cerevisiae ATCC 9763 and Candida albicans ATCC 10230 in this study
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2001
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Biomedicinal Chemistry
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10720
ISBN: 9740316425
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nantawan.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.