Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10729
Title: ผลของการใช้กลวิธีการเรียนแบบไตร่ตรอง ที่มีต่อความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: The effects of using reflective learning strategies on writing ability for Thai compositions of mathayom suksa five students
Authors: วัฒนา ปั้นงา
Advisors: สายใจ อินทรัมพรรย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การเขียน -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การไตร่ตรอง
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการใช้กลวิธีการเรียนแบบไตร่ตรองที่มีต่อความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มทดลองใช้กลวิธีการเรียนแบบไตร่ตรอง กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมใช้การเรียนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบการเขียนความเรียงภาษาไทย ผู้วิจัยสอนตามแผนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม ใช้เวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ รวมเป็น 12 คาบ หลังการทดลองสอนผู้วิจัยทดสอบความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่า t(t-test) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกลวิธีการเรียนแบบไตร่ตรองมีความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: Studies the effects of using reflective learning strategies on writing ability for Thai compositions of mathayom suksa five students. The sample of this study were eighty mathayom suksa five students studying at Singburi school in Singburi province. The subject were divided into two groups. Each group consisted of forty students. The first group was the experimental group learned by the reflective learning strategies and the second group was the controlled group learned by the conventional method. The research instrument consisted of a writing Thai compositions test. Both groups were taught according to lesson plans constructed by the researcher for six weeks, two periods each. They were twelve periods for each group. The writing compositions test was administered to the sample after the experiment. The obtained data were analized by means of arithmetic mean (X), standard deviation (S.D.) and t-test. The result of this study were as follows : The students who learned by reflective learning strategies have higher ability in the writing Thai compositions than the students who learned by conventional method at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10729
ISBN: 9746381059
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wattana_Pa_front.pdf851.92 kBAdobe PDFView/Open
Wattana_Pa_ch1.pdf849.93 kBAdobe PDFView/Open
Wattana_Pa_ch2.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Wattana_Pa_ch3.pdf870.76 kBAdobe PDFView/Open
Wattana_Pa_ch4.pdf716.56 kBAdobe PDFView/Open
Wattana_Pa_ch5.pdf806.77 kBAdobe PDFView/Open
Wattana_Pa_back.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.