Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1072
Title: ประดิษฐกรรมในการเล่าเรื่องและสุนทรียรสในภาพยนตร์ชุดดิเอ็กซ์ไฟล์ส
Other Titles: The narrative invention and aesthetics of the X-Files television series
Authors: จิธิวดี วิไลลอย, 2524-
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: การเล่าเรื่อง
รายการโทรทัศน์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมอง ความคิดสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจของผู้สร้างภาพยนตร์ชุดดิเอ็กซ์ไฟล์ส ที่ออกอากาศรวมทังหมด 202 ตอน และได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์อีก 1 ครั้ง ซึ่งรวมระยะเวลาในการออกอากาศทั่งหมดเป็นเวลา 9 ปี ทั้งนี้เพื่อศึกษาการใช้แนวคิดนิยายวิทยาศาสตร์ และวิธีการเล่าเรื่องที่ก่อให้เกิดประดิษฐกรรมในการเล่าเรื่อง และศึกษาสุนทรียรสที่ผู้ชมได้รับจากภาพยนตร์ชุดนี้ ซึ่งแบ่งผู้ชมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาชีพ ได้แก่ นักวิจารณ์, นักเขียนรับเชิญในนิตยสารเกี่ยวกับภาพยนตร์, นักแปลบทภาพยนตร์ และผู้ที่ทำงานเบื้องหลังรายการโทรทัศน์ / ภาพยนตร์ จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้ชมทั่วไป ที่อายุ 20-60 ปี ทุกเพศ จำนวน 40 คน โดยการส่งแบบสอบถามและเก็บข้อมูลผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. ผู้สร้างภาพยนตร์ชุดดิเอ็กซ์ไฟล์ส คือ คริสคาร์เตอร์ ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์ชุดมาจากผลงานสารคดี ภาพยนตร์ และภาพยนตร์ชุดแนวสืบสวนสอบสวนที่เคยได้ชมและชื่นชอบ รวมถึงความสนใจในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติและมนุษย์ต่างดาว ที่ล้วนแล้วแต่ได้รับความสนใจ และถูกเสนอข่าวทางสื่อต่างๆเป็นประจำ 2. ประดิษฐกรรมในการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ชุดอิเอ็กซ์ไฟล์ส มีแก่นเรื่องคือความไม่ไว้วางใจต่อรัฐบาลซึ่งเล่าเรื่องผ่านตัวละครสองตัวที่มีความคิดแตกต่างกัน โดยใช้วิธีการผสมแนวเรื่อง เพื่อทำให้แนวเรื่องหลักที่มุ่งเน้นผลทางวิทยาศาสตร์ มีความหลากหลายและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมถึงมีการใช้แนวคิดนิยายวิทยาศาสตร์มาอธิบายโครงเรื่องที่เกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิดและเรื่องเหนือธรรมชาติในภาพยนตร์ชุดดิเอ็กซไฟล์สด้วย 3. เหตุผลในการชมและสุนทรียรสในภาพยนตร์ชุดดิเอ็กซ์ไฟล์สที่ผู้ชม 2 กลุ่มได้รับ เกิดจากรสของความลึกลับในภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดผ่านโครงเรื่องการสมคบคิดเบื้องหลังอำนาจรัฐ โดยผ่านการสืบสวนของสองนักสืบชาย หญิงที่พัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่รสรักที่สอดแทรกอยู่ในความลึกลับ รวมถึงเทคนิคที่ใช้ในการสร้างภาพยนตร์ชุดดิเอ็กซ์ไฟล์สที่โดดเด่น ซึ่งทั้งหมดเป็นสุนทรียรสที่เกิดขึ้นกับผู้ชมภาพยนตร์ชุดนี้
Other Abstract: The purpose of this research is to study the perspectives, creation and inspiration of the producers of the X-Files audience' running for a year-long, had been broadcasted 202 episodes. Including a motion picture. It also includes science fiction theories and story-telling which create the narrative invention and aesthetics to the X-Files audience. In this research, the audience is categorized into two groups; professional audience and general audience. Ten participants of professional group are critics, guest writers for movie magazine, movie translators and movie/television crew. The demographic of 40 participants of general audience is 20 -60 year-old, male and female. Participants were questioned by completing questionairs sent via email. The results as following. 1. Chris Carter, the creator of The X-Files, was inspired by documentary films, movies, and television suspense series that he admirely watched. He was also interested in paranormal phenomena and aliens which have been human interest and frequently broadcasted to public. 2. The narrative invention of The X-Files is mainly about a paranoid feeling people have towards the government. The story is told via two distinguish characters by combining storyarcs, which adds the scientific main plots more depths and easy understanding. Moreover, The X-Files uses science fiction theories as a technique to tell stories about conspiracy theories and paranormal phenomena. 3. Reasons to watch the show and the aesthetics the audience get are the prominence of the production of the show and its intensity of the suspense revealed throughout the series via the conspiracies behind the government power. The storylines have been investigated and explored by two FBI agents whose potential chemistries have grown into relationship when time goes by.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1072
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1474
ISBN: 9745319481
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1474
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jithiwadee.pdf7.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.