Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1076
Title: นาฏยทรรศน์ของนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาจากละครเวทีประจำปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2530-2546
Other Titles: Theatrical perception of communication students at Chulalongkorn and Thammasat Universities towards their annual stage productions 1987-2003
Authors: ฐิตวินน์ คำเจริญ, 2520-
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: ละครเวที
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง "นาฏยทรรศน์ของนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาจากละครเวทีประจำปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2546" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นของนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีต่อกระบวนการสร้างสรรค์ละครเวทีประจำปี และเพื่อศึกษาแนวคิด รูปแบบ รวมถึงพัฒนาการ ของละครเวทีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2530-2546 โดยผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกและสนทนากลุ่มนิสิตนักศึกษาผู้มีส่วนร่วมในละครเวทีประจำปี และการศึกษาวิเคราะห์ลักษณะของเนื้อหาละครเวทีประจำปีทุกเรื่อง ผลการวิจัยพบว่า 1. วัตถุประสงค์ในการทำละครเวทีประจำปีคณะนิเทศศาสตร์คือ เพื่อให้นิสิตได้ทำกิจกรรมขนาดใหญ่ร่วมกันและต้องมีความสุขในการทำ โดยมีกระบวนการของละครคือ คิดรูปแบบการนำเสนอหรือสไตล์ ตามด้วยโครงเรื่อง แล้วหาแนวคิดหลักจากเรื่องนั้น โดยสร้างมุขตลกเพื่อให้เกิดความบันเทิงเป็นหลักและช่วยเสริมให้แนวคิดหลักเด่นชัดขึ้น วัตถุประสงค์ในการทำละครเวทีประจำปีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน คือ เพื่อเป็นผลงานร่วมของนักศึกษาสู่สาธารณชน ละครจึงมีเนื้อหาที่เครียดและหนัก แต่ปัจจุบันมีความบันเทิงมากขึ้น เนื่องจากนักศึกษาอยากเปลี่ยนแปลงรูปแบบบ้าง ละครคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนใช้วิธีการคิดแนวคิดหลักของเรื่องก่อน จึงวางโครงเรื่องและรูปแบบการนำเสนอแล้วเพิ่มเติมรายละเอียดอื่นเป็นลำดับสุดท้าย ละครของทั้งสองสถาบันประสบปัญหา ได้แก่ ปัญหาจากการไม่สนับสนุนกิจกรรมนอกหลักสูตรของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ ไม่เอื้อเฟื้อสถานที่ซ้อม สถานที่แสดง และอาจารย์ไม่เข้าใจเท่าที่ควร นิสิตนักศึกษาได้รับประโยชน์จากละครเวทีประจำปีด้านประสบการณ์ในการทำงานกับคนหมู่มาก การพัฒนาศักยภาพและทักษะวิชาชีพด้านต่างๆ และคุณค่าทางด้านจิตใจ 2. ละครเวทีประจำปีคณะนิเทศศาสตร์ มีแนวคิดหลักเกี่ยวกับความดีความเลว ความฝันและจินตนาการ รูปแบบเมโลดรามาเป็นหลัก ใช้นักแสดงประมาณ 30-50 คน มีความบันเทิงแต่มีประเด็นสังคมน้อย และมีแนวโน้มว่าจะคงรูปแบบนี้ต่อไป ละครเวทีประจำปีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มีแนวคิดหลักเกี่ยวกับสังคมและความคิดของคน รูปแบบสัจจนิยมประยุกต์เป็นหลัก ใช้นักแสดงประมาณ 7-15 คน เน้นศิลปการแสดงโดยให้ความสำคัญกับความบันเทิงรองลงมา
Other Abstract: The thesis aims to critically present views points, and understandings of Communication Arts students at Chulalongkorn and Thammasat Universities about the annual stage production. In so doing, the research illustrates strategic planning and development of theatre productions at the two above mentioned institutions during 1987-2003. The interviews conducted in this research include face-to-face and focus group discussion between students who participate in the annual stage productions. The analysis of contents of the stage productions over the period between 1987-2003 can be summarized in the following: 1.The objective of the annual stage production of Communication Arts students at Chulalongkorn University is to provide an activity for all students in the faculty to participate. The productions encouraged students to have positive thinking towards the projects which has derived initially from the setting of theme then the structure of the productions. In addition, comic relief is used as generate entertainment as well as an emphasis on the points which the production hopes to get across.The recent productions are firstly prepared by the style/plot/theme, then pace of the story and lastly the details are organized. Annual stage production at Thammasat University{7f2019}s Journalism and Mass Communication is also representative of the students work which is shown to the general public. Previously these productions tend to be related to serious subject matters, however, since the students want the production to have wider appeal to the public, the recent productions can be seen as more entertaining.The recent productions are still firstly prepared by theme/plot and the details. This researcher has found that these institutions are faced with the lack of support from the university bodies, lack of availability of practice/ show space and lack of understanding from professors and academics alike.However,the students who part take in this activity are found to have received the experiences of working in teamwork environment,developing creativity, social attributes and spiritual value. 2.The annual stage productions of Communication Arts students at Chulalongkorn University have largely base on the interplay between Good and Evil, Dream and Fantasy in melodrama. Casts usually consists of 30-50 actors and actresses. The productions seem to be high in entertainment value but low in social commentaries, and this trend is likely to continue. The stage production of Journalism and Mass Communication students at Thammasat University is conceptualized from subjective view points about social matters and is portrayed through modified realism approach with 7-15 cast members. In these productions the acting is emphasized while entertainment is a second priority.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1076
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1116
ISBN: 9745322989
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1116
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitawin.pdf27.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.