Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1083
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ | - |
dc.contributor.advisor | สุกัญญา สมไพบูลย์ | - |
dc.contributor.author | วิวัน สุขเจริญ, 2523- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-07-25T06:20:36Z | - |
dc.date.available | 2006-07-25T06:20:36Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745320048 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1083 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยอาศัยวิธีการแบบชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic) จากการที่ผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ภายในคณะซอ 3 คณะ ได้แก่ คณะเก๋า-ต่วม คณะลูกแม่ปิง และคณะดาวล้านนา ด้วยการเข้าไปเรียนซอ แล้วติดตามคณะซอไปยังงานที่มีการแสดงละครซอ เพื่อบันทึกเทปการแสดง รวมทั้งการสังเกต การสัมภาษณ์หัวหน้าคณะและศิลปินในคณะ ร่วมกับวิธีการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกหัวหน้าคณะต่างๆ และผู้ชมจำนวน 30 คน และการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2547-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 เพื่อรวบรวมรายชื่อคณะละครซอในจังหวัดเชียงใหม่ และศึกษาข้อมูลของละครซอ เพื่อศึกษาสุนทรียรูปและการปรับเปลี่ยนทางด้านสุนทรียรูปในละครซอสมัยใหม่ และเพื่อศึกษาสุนทรียทัศน์ของผู้ชมที่มีต่อละครซอ ผลการวิจัยพบว่า คณะซอในจังหวัดเชียงใหม่ที่รับแสดงละครซอมี 16 คณะ ได้แก่ คณะเก๋า-ต่วม คณะคำหน้อย แม่แจ่ม คณะดาวรุ่ง คณะดาวล้านนา คณะบัวตอง เมืองพร้าว คณะเรวัฒนโชว์ คณะลูกทุ่งฮิมดอย คณะลูกแม่ปิง คณะศรีมา ห้วยทราย คณะศรีวรรณ สะเมิง คณะสมหมาย และปั๋นแก้ว เมืองพร้าว คณะสายธารา คณะสายสัมพันธ์ คณะสิงห์คำ ไชยศรี คณะเสียงซอสันป่าตอง และคณะหงษ์ทองประคองศิลป์ ซึ่งแต่ละคณะไม่ได้แยกตัวออกจากกันอย่างเป็นเอกเทศ ยังคงรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างผลงานการแสดง ส่วนการแสดงละครซออยู่ในช่วงบ่ายและช่วงเย็น แต่ช่วงเย็นหรือกลางคืนมักเป็นดนตรี ช่วงเช้าเป็นซอคู่ สำหรับสุนทรียรูปในละครซอสมัยใหม่ พบว่า ความงามอยู่ที่การขับซอผสมผสานรูปแบบการแสดง ซึ่งเน้นบทซอแบบมุขปาฐะเป็นหลัก โดยมีพื้นที่ (space) และเวลา (time) เป็นเครื่องกำหนดแนวทางการแสดง และขึ้นอยู่กับปฏิภาณในการแสดงของช่างซอแต่ละคน ที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม และรสต่างๆ ในละครซอที่ผสมผสานกัน คือ รสแห่งความโศกเศร้า รสแห่งความขบขัน รสแห่งความรัก และรสอื่นๆ รวมทั้งความทันสมัย ได้แก่ เรื่องสมัย อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสมัยปัจจุบัน การแต่งกาย ภาษาสมัยใหม่ และการนำเข้าของสื่ออื่น ได้แก่ เพลงลูกทุ่ง ดนตรีสากล เพลงบรรเลงประกอบการแสดง ส่วนความพึงพอใจของผู้ชมในด้านความงามของละครซอนั้น มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามองค์ประกอบต่างๆ ของละครซอ และมีความพึงพอใจต่อการเปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ พอใจแบบจารีตแต่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง พอใจทั้งแบบจารีตและสมัยใหม่ และพอใจในแบบสมัยใหม่. | en |
dc.description.abstractalternative | This study is a qualitative research in multiple methodology : 1) Ethnographic ; participation in 3 "Sor-drama" companies, i.e. "Kao-Tuam", "Lukmaeping" and "Daolanna", by learning "Sor", observing "Sor-drama" performance, video recording 2) In-dept interview ; with head of "Sor" companies and 30 audiences 3) Documentary research during September 2004 to February 2005. The objectives for this research are to list the names of "Sor-drama" companies in Chiangmai and particular of "Sor-drama", aesthetic formality and change, aesthetic concept of audience with performance. Results of research found that there are 16 "Sor-drama" companies in Chiangmai : "Kao-Tuam" "Kumnoi Maejam" "Daorung" "Daolanna" "Buatong Mungpraw" "Reawatshow" "Luktunghimdoi" "Lukmaeping" "Srima Houy-sai" "Sriwan Sameang" "Sommai and Pankaw Mungpraw" "Saitara" "Saisampan" "Singkum Chaisri" "Seangsor Sanpartong" and "Hongtong-prakongsin". However, each company is not absolutely separated but joins together to perform. Mostly, "Sor-drama" performs in the afternoon and evening. Aesthetic formality of "Sor-drama" found that beauty is "Sor" (mostly oral literature) harmony between form of performance, space and time, improvisation skill, interactive with audience, taste or "Rasa" such as sorrow, laughter, and romance, including modernization (story, costume, language) and coming of new media (folk music, music sound, music instruments). The audiences are different appreciate to performance and can be categorized into 3 groups of audiences appreciate to change : 1) Traditional appreciation but except change 2) Modern and traditional appreciation 3) Modern appreciation. | en |
dc.format.extent | 4939228 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1207 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ละครซอ | en |
dc.subject | การสื่อสาร | en |
dc.subject | สุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ | en |
dc.title | การสื่อสารเชิงสุนทรียะในละครซอสมัยใหม่ของชาวล้านนา | en |
dc.title.alternative | Aesthetic communication of modern Sor-drama in Lanna | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | วาทวิทยา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.1207 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.