Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10846
Title: | การศึกษาปริมาณความร้อนผ่านเปลือกอาคาร เมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์บังแดดแนวนอน |
Other Titles: | A study of thermal gain through building envelope with horizontal shading devices |
Authors: | บุญลาภ ดานะสถิตย์ถาวร |
Advisors: | มานิจ ทองประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Manit.T@Chula.ac.th |
Subjects: | พลังงานแสงอาทิตย์ ความร้อน -- การถ่ายเท การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โดยทั่วไปการคำนวณปริมาณความร้อนรวมต่อหน่วยเวลา ที่ผ่านเปลือกอาคารที่ติดตั้งอุปกรณ์บังแดดแนวนอน จะพิจารณาเฉพาะผลของรังสีตรง และรังสีกระจายจากดวงอาทิตย์ที่ตกบนเปลือกอาคาร บางครั้งอาจมีผลจากการแลกเปลี่ยนรังสีความร้อนระหว่างเปลือกอาคารกับท้องฟ้า และการสะท้อนรังสีความร้อนจากพื้นดินสู่เปลือกอาคาร แต่เมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์บังแดด จะเห็นว่าผลจากการสะท้อนรังสีตรง การสะท้อนรังสีกระจายบนอุปกรณ์บังแดด และการแลกเปลี่ยนรังสีความร้อนระหว่างเปลือกอาคารกับอุปกรณ์บังแดด จะถูกนำมาพิจารณาเพิ่มเติมด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของผลจากค่าความร้อน ที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบบนเปลือกอาคาร โดยการจัดทำโปรแกรม และใช้ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข โดยเปลือกอาคารจะถูกแบ่งออกเป็น 10,000 ส่วนเท่าๆกัน เพื่อแยกหาค่าความร้อนรวมที่เกิดขึ้นในแต่ละช่องตารางอย่างอิสระ และใช้วิธีการนำความร้อนแบบ 1 มิติ ในสภาวะไม่คงที่ ผลการคำนวณหาปริมาณความร้อนรวม ผ่านเปลือกอาคารด้านทิศใต้ วันที่ 21 ธันวาคม ได้นำมาทดสอบความถูกต้องกับผลที่ได้จากโปรแกรม DOE ผลการศึกษาเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์บังแดดแนวนอน 3 ชั้น ที่มีความสามารถในการบังแสงแดดจากรังสีตรงในช่วงเวลาสูงสุดได้ 47% หรือ เฉลี่ยเท่ากับ 25.57% ถ้าไม่คิดผลจากความร้อนทั้งสามตัวจะมีความผิดพลาดสูง 4.04% และสำหรับอุปกรณ์บังแดด 1 ชั้น จะมีความผิดพลาดเพียง 0.75% สำหรับค่าส่วนใหญ่ที่ผิดพลาดของอุปกรณ์บังแดด 3 ชั้น เกิดจากการสะท้อนรังสีตรงถึง 2.99% ส่วนอุปกรณ์บังแดดแนวนอน 1 ชั้น เกิดมาจากการสะท้อนรังสีตรง การสะท้อนรังสีกระจาย เพียง 0.08 และ 0.02% ตามลำดับ |
Other Abstract: | Generally, The calculation of thermal gain through building envelope with horizontal shading devices will be only considered by the effect of direct and diffuse solar radiation. Sometimes the radiation exchange between envelope and sky and the reflected solar radiation from ground are included. When the shading devices is installed, the direct-reflected radiation, the diffuse-reflected radiation and the radiation exchange between envelope and shading devices (three items) must be determined as well. This thesis shows the importance of the actual total radiation onto envelope by creating the program and numerical method. The envelope will be equally divided into 10,000. In order to find the total radiation that occurs in each grid independently, the one-dimensional transient heat conduction equation has been used. The thermal gain through south facade building envelope on December 21 was compared with DOE software. The study shows that when there is the 3-plane horizontal installation, it can be shaded up to 47% of envelope or in average 25.57% of all day. If excluded the three items, it will have error 4.04% of total radiation and only 0.75% error will happen on the 1-plane. The most error of the 3-plane occurs from the direct-reflected radiation 2.99% while the 1-plane occurs from the direct-reflected and the diffuse-reflected are equal 0.08 and 0.02% in order. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเครื่องกล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10846 |
ISBN: | 9740301932 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonlarp.pdf | 3.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.