Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10878
Title: วาทกรรมเกี่ยวกับ "เกย์" ในสังคมไทย พ.ศ. 2508-2542
Other Titles: Discourses on "gays" in Thai society, 1965-1999
Authors: เทอดศักดิ์ ร่มจำปา
Advisors: ธีรวัต ณ ป้อมเพชร
สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เกย์
รักร่วมเพศ -- ไทย
รักร่วมเพศชาย -- ไทย
วจนะวิเคราะห์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบของวาทกรรมที่เกี่ยวกับเกย์ในสังคมไทยในช่วง พ.ศ. 2508-2542 จากการศึกษาพบว่าในสมัยจารีตถึงสมัยสร้างชาติ แม้วาทกรรมกระแสหลักของสังคม จะมีอคติต่อพฤติกรรมรักร่วมเพศในลักษณะที่ "เป็นความแปลกแยก" มิใช่ "หญิง" หรือ "ชาย" แต่ก็ไม่ปรากฏความคิดว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศ เป็นอันตรายต่อสังคมและไม่มีบทลงโทษอย่างรุนแรงดังเช่นในสังคมตะวันตก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง บริบททางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้เปลี่ยนไป กล่าวคือการรับวัฒนธรรมอเมริกันทำให้มีการรับความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตก ที่มองว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นโรคจิต ที่สามารถบำบัดรักษาให้หายได้ ในช่วงปลายทศวรรษ 2500 มีการหยิบยืมเอาคำว่า "เกย์" มาใช้เรียกคนกลุ่มนี้ ปลายทศวรรษ 2510 คนกลุ่มนี้ได้พยายามอาศัย "พื้นที่" ในหนังสือพิมพ์เพื่อสร้างวาทกรรมให้สังคมยอมรับ อย่างไรก็ตามวาทกรรมกระแสหลักก็หยิบประเด็นเรื่องอาชญากรรมกับเกย์ ว่าเป็นปัญหาสังคม ปลายทศวรรษ 2520 คนกลุ่มนี้ได้พยายามสร้างวาทกรรมของตนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีนิตยสารที่ให้ "พื้นที่" มากขึ้นโดยเฉพาะนิตยสารที่ทำเพื่อเกย์โดยเฉพาะ โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นสิ่งปกติและ "เกย์" สามารถทำประโยชน์ให้สังคมได้เช่นเดียวกับหญิงและชาย แต่วาทกรรมกระแสหลักก็หยิบยกเรื่องโรคเอดส์ซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในขณะนั้น ว่ามีสาเหตุสำคัญจากเกย์ ทศวรรษ 2530 วาทกรรมกระแสหลักผ่อนคลายประเด็นเรื่องเกย์เป็นโรคจิตลง จิตแพทย์บางคนเริ่มยอมรับว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศไม่ใช่โรคจิต และไม่ต้องบำบัดรักษา และมิใช่พาหะสำคัญของโรคเอดส์ แต่อย่างไรก็ตามยังชูประเด็นเรื่องเกย์เป็นภัยต่อสังคม ในขณะที่เกย์เริ่มมีที่สาธารณะชั่วครั้งชั่วคราว เห็นได้จากงานบางกอกเกย์เฟสติวัล กระนั้นก็ตามวาทกรรมกระแสหลักก็ยังไม่ยอมรับเกย์โดยสมบูรณ์
Other Abstract: To analyse forms of discourse about gays in Thai society between 1965 and 2001. Research reveals that from the traditional period until the period of nationalism, even though the dominant discourse was prejudiced towards homosexuality in the sense that it was "abnormal", neither "female" nor "male", there does not seem to have been any idea that homosexuality was dangerous to society. Certainly there appear to have been no violent punishments prescribed for homosexuals as in the West during the same period. After World War II, the economic and social contexts changed, namely the acceptance of American culture led to the recognition of western medical knowledge, which saw homosexual behaviour as a treatable and curable psychological abnormality. In the 1960s the word "gay" was borrowed from the West to describe homosexuals. Then in the 1970s these people tried to occupy "space" in the newspaper columns to create a discourse which would gain them society's acceptance. At any rate the dominant discourse used the issue of crime and gays as a social problem. During the 1980s gays tried to build a discourse of their own once more, when magazines, especially gay magazines, gave them more "space". They tried to point out that homosexuality was normal, and that, like men and women, "gays" were also able to be useful members of society. But the prevailing discourse in society used the then current issue of AIDS against the gays. In the 1990s the dominant discourse became weaker in its portrayal of gays as diseased people. Some psychiatrists and other doctors were beginning to accept that homosexuality was not an illness, and did not have to be treated or "cured", and that gays were not the main transmitters of AIDS. Nevertheless, gays were still seen as a menace to society. Gays were able to have public space from time to time, for instance during the Bangkok Gay Festival of 2001, but the dominant discourse still does not accept gays completely.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10878
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.263
ISBN: 9741717393
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.263
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
terdsak.pdf7.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.