Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10880
Title: | การใช้หลักสูตรวิชาอาชีพเพิ่มเติมในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในพื้นที่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาชนบทภาคเหนือ |
Other Titles: | The implementation of local career education curriculum in secondary schools in the target areas of rural development in the North |
Authors: | กิติยา ดาระสวัสดิ์ |
Advisors: | สวัสดิ์ จงกล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การศึกษาขั้นมัธยม -- หลักสูตร การศึกษาทางอาชีพ การพัฒนาชนบท |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรวิชาอาชีพเพิ่มเติมในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในพื้นที่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาชนบทภาคเหนือ 2. เพื่อศึกษาปัญหาการใช้หลักสูตรวิชาอาชีพเพิ่มเติมในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในพื้นที่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาชนบทภาคเหนือ วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนมัธยมศึกษา ในพื้นที่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาชนบทภาคเหนือ ที่เปิดสอนวิชาอาชีพเพิ่มเติม ในปีการศึกษา 2528 กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลในครั้งนี้คือ ผู้บริหาร ครู และครูแนะแนว โดยแบ่งเป็น ผู้บริหาร 80 คน ครู 111 คน และครูแนะแนว 40 คน รวมทั้งสิ้น 231 คน ซึ่งได้มาจากประชากรและการสุ่มแบบง่าย (Simple random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (Check-list) และแบบปลายเปิด (Open-Ended) และแบบสำรวจ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบปลายเปิด (Open-Ended) สรุปผลการวิจัย สภาพการปฏิบัติในการใช้หลักสูตรวิชาอาชีพเพิ่มเติมในด้านต่าง ๆ นั้น สรุปได้ว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ต่างได้มีการปฏิบัติในด้านต่าง ๆ 6 ด้านคือ 1. การจัดแผนการเรียน โรงเรียนจัดแผนการเรียนโดยพิจารณาตามทรัพยากรที่โรงเรียนมีอยู่ วิชาอาชีพเพิ่มเติมที่เปิดสอนสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของท้องถิ่น 2. เอกสารประกอบหลักสูตร แผนการสอนเป็นเอกสารที่ครูใช้ประกอบการสอนมากที่สุด มีการจัดทำแผนการสอนโดยอาจารย์แต่ละคนจัดทำของตัวเอง และกลุ่มโรงเรียนเป็นผู้จัดทำ 3. สื่อการเรียนการสอน ครูใช้ของจริงเป็นวัสดุอุปกรณ์การสอนมากที่สุด 4. กิจกรรมการเรียนการสอน โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ใช้สถานฝึกงานอาชีพ ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน โดยใช้วิธีการสอนแบบสาธิต และส่วนใหญ่ไม่ได้นำนักเรียนไปดูงานเกี่ยวกับวิชาชีพท้องถิ่น 5. การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน มีการประเมินผลงานเมื่อนักเรียนฝึกปฏิบัติในแต่ละครั้ง และครูให้ความสำคัญในด้านเจตคติและนิสัยในการทำงานมากที่สุด 6. การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร มีโรงเรียนผู้นำหลักสูตรจำนวนน้อยที่ช่วยเหลือโรงเรียนใกล้เคียง โรงเรียนมีการวางแผนการสอนให้เหมาะกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นภายในหมวดวิชา ที่มีการปฏิบัติน้อยคือ กลุ่มโรงเรียนออกนิเทศติดตามผลงานภายในกลุ่ม และภายในหมวดวิชาการงานและอาชีพในโรงเรียน ปัญหาที่พบ ครูผู้สอนวิชาชีพท้องถิ่นมีไม่เพียงพอ ต้องรับผิดชอบงานอื่น ครูสอนหลายวิชาครูแนะแนวมีไม่เพียงพอ ชาวบ้านยังต้องการให้นักเรียนเพื่อเข้ารับราชการและเป็นลูกจ้างมากกว่าเป็นเกษตรกรหรือประกอบอาชีพอิสระ ขาดข้อทดสอบมาตรฐานที่จะนำมาใช้บริการทดสอบมาตรฐานเพื่อวัดความถนัดและความสนใจของนักเรียน โรงเรียนไม่มีงบประมาณในการเดินทางไปนิเทศนักเรียนเพื่อฝึกงานอาชีพเพิ่มเติมนอกสถานศึกษา สถานฝึกงานอาชีพที่มีอยู่นั้นยังไม่เหมาะที่จะใช้ฝึกงานอาชีพ เจ้าของสถานประกอบอาชีพอิสระไม่เต็มใจที่จะให้นักเรียนมาฝึกงานอาชีพ วัสดุอุปกรณ์ในการฝึกงานมีไม่เพียงพอ นักเรียนมีงานมากไม่มีเงิน หรือไม่สามารถจัดหาวัสดุฝึกงานมาเรียนภาคปฏิบัติ ข้อเสนอแนะที่ได้จากกรม/เขตในการปฏิบัติ ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้ ขาดบุลากรที่มีความสามารถในการนิเทศภายในหมวดวิชาอาชีพท้องถิ่น |
Other Abstract: | Studies the practising conditions and problems of the implementation of local career education curriculum in secondary schools in the target areas of rural development in the North. Subjects compose of 80 administrators, 111 teachers and 40 guidance staff of schools in the target. Each group had to answer the different questionnaires revealing their viewpoints on this curriculum and their problems. Returned answers were analyzed by percentage and frequency. Findings concerning practising conditions showed in five aspects : most schools arranged their own school learning curriculum according to their resources; curriculum documents were the most used and teachers prepared by themselves; most of the instructional media used real objects; very few schools used the training locality career; there would be an education evaluation after each practising work; and that there was less practice of supervision and evaluation among school groups. Researchers also demonstrated problems in the lack of teachers, learning curriculum documents, school budget and training instruments. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10880 |
ISBN: | 9745669393 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kitiya.pdf | 26.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.