Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10906
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมพงษ์ จิตระดับ-
dc.contributor.advisorสมบัติ จันทรวงศ์-
dc.contributor.authorวัฒนา อัคคพานิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-09-01T09:08:27Z-
dc.date.available2009-09-01T09:08:27Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741757034-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10906-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ด้านการเมือง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างหลังเรียนกับก่อนเรียน ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ศึกษาด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ที่ใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิสม์แบบเปียเจต์ที่พัฒนาขึ้นใหม่ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างหลังเรียนกับก่อนเรียน ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ศึกษาด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ที่ใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิสม์แบบเปียเจต์ กับความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างหลังเรียนกับก่อนเรียน ของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ศึกษาด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ที่ไม่ใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิสม์แบบเปียเจต์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ประกอบด้วย นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จ.นครปฐม ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 74 คนโดยแบ่งออกเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 37 คนและกลุ่มควบคุม จำนวน 37 คน ก่อนการทดลองนักเรียนทั้งสองกลุ่มได้รับทดสอบความรู้ความเข้าใจทางการเมือง วัดเจตคติทางการเมือง และวัดพฤติกรรมทางการเมือง นักเรียนกลุ่มทดลองเรียนรายวิชาสาระเพิ่ม ส 043 การปกครองของไทย ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิสม์แบบเปียเจต์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ที่ไม่ใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิสม์แบบเปียเจต์ โดยใช้แผนการเรียนการสอน 7 แผน แผนละ 4 คาบเรียน แล้วทดสอบหลังเรียนอีกครั้ง ในการวิจัยครั้งนี้ รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิสม์แบบเปียเจต์ที่พัฒนาขึ้นมานี้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้คือ 1) การทดสอบก่อนเรียนและการสรุปผลเป็นมโนทัศน์ด้านการเมือง และมโนทัศน์ด้านการเมืองที่คลาดเคลื่อน 2) การแจ้งผลสรุปให้นักเรียนทราบ 3) การเรียนรู้มโนทัศน์ด้านการเมืองใหม่ 4) การจัดกระทำให้นักเรียนเกิดภาวะอสมดุลทางปัญญา อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทางปัญญาในสองลักษณะคือ การดูดกลืนเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา และการปรับโครงสร้างทางปัญญา 5) การสรุปผังมโนทัศน์ใหม่ และ 6) การทดสอบหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยระหว่างหลังเรียนกับก่อนเรียนของนักเรียนในกลุ่มทดลอง ในด้านความรู้ความเข้าใจรวม ด้านความรู้ความเข้าใจเฉพาะที่ต้องปรับโครงสร้างทางปัญญา ด้านความรู้ความเข้าใจเฉพาะที่ต้องดูดกลืนเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา ด้านเจตคติรวม ด้านเจตคติเฉพาะที่ต้องดูดกลืนเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา และด้านพฤติกรรมทางการเมือง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่คะแนนเฉลี่ยระหว่างหลังเรียนกับก่อนเรียนของนักเรียนในกลุ่มทดลอง ในด้านเจตคติเฉพาะที่ต้องปรับโครงสร้างทางปัญญา ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นของนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในด้านความรู้ความเข้าใจเฉพาะที่ต้องปรับโครงสร้างทางปัญญา ด้านเจตคติรวม และด้านเจตคติที่ต้องดูดกลืนเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่คะแนนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นของนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในด้านความรู้ความเข้าใจรวม ด้านความรู้ความเข้าใจเฉพาะที่ต้องดูดกลืนเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา ด้านเจตคติเฉพาะที่ต้องปรับโครงสร้างทางปัญญา และด้านพฤติกรรมทางการเมืองไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeTo develop the instructional model to reconstruct political concepts of secondary school students, to compare the post-test mean scores of the experimental group with the pre-test mean scores of the experimental group, and to compare the differences between the post-test mean scores of the experimental group and the pre-test mean scores of the experimental group with the difference between the post-test mean scores of the controlled group and the pre-test mean scores of the controlled group. The research subject comprised 74 students at Mathayomsuksa 4 of Princess Sirindhorn's College, which were purposively randomed, and divided into 37 students for the experimental group and 37 students for the controlled group. Pre-tests on political knowledge, political attitude,and political behavior were administered to both groups before the experiment began. The experimental group studied political concepts in an additional subject, Social Studies 043 Thai Government according to the newly-developed Piagetian constructivist instructional model; the controlled group did according to the non-Piagetian constructivist one, then post-tests were administered to both groups after the experiment finished in 7 lesson plans, 28 periods. In this research, the newly-developed Piagetian constructivist instructional model consisted of 6 phases, i.e. 1) post-testing and concluding outcome as common political concepts and common political misconcepts 2) reporting the outcome to students 3) learning new political concepts 4) managing students to face intellectual disequilibrium, leading to intellectual adaptation in two types, i.e. assimilation and accommodation 5) drawing a new concept map, and 6) post-testing. Research findings were as follows 1) There were significant differences at the .05 level between the post-test and the pre-test mean scores of the experimental group in total political knowledge, political knowledge-to-be assimilated, political knowledge-to-be accommodated, total political attitude, political attitude-to-be assimilated, and political behavior; however, there were no significant difference at the .05 level between the post-test and the pre-test mean scores of the experimental group in political attitude-to-be accommodated. 2) There were significant differences at the .05 level between gained mean scores of the experimental group and the controlled group in political knowledge-to-be accommodated, total political attitude, and political attitude-to-be assimilated; however, there were no significant difference at the .05 level between gained mean scores of the experimental group and the controlled group in total political knowledge, political knowledge-to-be assimilated, political attitude-to-be accommodated, and political behavior.en
dc.format.extent1000713 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1335-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectทฤษฎีสรรคนิยมen
dc.subjectการเมือง -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ด้านการเมือง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาen
dc.title.alternativeA development of the instructional model to reconstruct political concepts of secondary school studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.1335-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wattana.pdf977.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.