Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10928
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา | - |
dc.contributor.advisor | เรย์โนลด์ส, เคร็ก เจ | - |
dc.contributor.author | โสภา ชานะมูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2009-09-01T10:31:25Z | - |
dc.date.available | 2009-09-01T10:31:25Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741749767 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10928 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาความคิดของกลุ่มปัญญาชนหัวก้าวหน้าเกี่ยวกับการผลิตวาทกรรมเรื่อง "ชาติไทย" ว่าด้วยเรื่อง ประวัติศาสตร์ "ชาติไทย" "เอกราชของชาติ" และ "ศัตรูของชาติ" ในระหว่าง พ.ศ. 2490-2505 ซึ่งปัญญาชนหัวก้าวหน้าเหล่านี้ได้เสนอแนวทางอธิบายใหม่ ที่มีความหมายแตกต่างจากวาทกรรมกระแสหลัก จากการศึกษาพบว่า การรวมกลุ่มของกลุ่มปัญญาชนในทศวรรษ 2490 เกิดจากการหลอมรวมปัญญาชนสองรุ่นเข้าด้วยกัน คือบางส่วนเป็นปัญญาชนรุ่นที่เติบโตมาในทศวรรษ 2470 หากแต่ยังคงมีบทบาทต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงทศวรรษ 2490 และกลุ่มที่สองเป็นปัญญาชนที่เพิ่งเติบโตและก้าวเข้ามามีบทบาทในทศวรรษ 2490 ปัญญาชนทั้งสองรุ่นมีการรวมกลุ่มกันโดยมีสื่อกลางคือแหล่งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฉะนั้นแหล่งที่เป็นโรงพิมพ์และสำนักพิมพ์เหล่านี้ ซึ่งเป็นเสมือนศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสาร ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความคิด อุดมการณ์แก่กันและกัน เปิดโอกาสให้กลุ่มปัญญาชนมีอิสระทางความคิดและสามารถเปิดรับแนวคิดใหม่ๆ เช่นแนวคิดแบบสังคมนิยมและมาร์กซิสม์ อันทำให้เป็นช่องทางที่ปัญญาชนบางคน นำมาเป็นอาวุธในการเปิดประเด็นวิพากษ์โครงสร้างสังคม และที่สำคัญคือนำไปสู่การวิพากษ์ "ชาติไทย" ที่เป็นอุดมการณ์กระแสหลักที่ครอบงำความรู้ในสังคมขณะนั้น ประกอบกับทศวรรษ 2490 เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ อันเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้กลุ่มปัญญาชนหัวก้าวหน้าได้สร้างวาทกรรมใหม่ ได้แก่ การสร้างแนวการอธิบายประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ "ชาติไทย" ก่อนรัฐสมัยใหม่ว่ามีที่มาจากกลุ่มชนที่หลากหลายชาติพันธุ์ ทำให้เกิดการอธิบายเรื่อง "อัตลักษณ์ไทย" ใหม่ว่ามีความหลากหลายทั้งทางด้าน ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีของท้องถิ่น ที่แตกต่างไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยตามภูมิภาคต่างๆ นอกจากนี้กลุ่มปัญญาชนหัวก้าวหน้าได้สร้างการอธิบายเรื่อง "เอกราชของชาติ" ว่าหมายถึงการมีอิสระในการดำเนินนโยบายกับต่างประเทศ โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับอิทธิพลของชาติมหาอำนาจและการนิยามเรื่อง "ศัตรูของชาติ" ซึ่งหมายถึง "จักรพรรดินิยมแผนใหม่" คือ สหรัฐอเมริกา รวมทั้งกลุ่มข้าราชการและนักการเมือง ที่แสวงหาผลประโยชน์จากความร่วมมือกับต่างชาติ แม้ว่าทศวรรษ 2490 จนถึงต้นทศวรรษ 2500 จะเป็นช่วงโอกาสและจังหวะเวลาที่ปัญญาชนหัวก้าวหน้า ได้มีโอกาสผลิตวาทกรรมโต้ตอบกระแสหลัก หากแต่ในที่สุดแล้ว ด้วยอำนาจรัฐที่มีกลไกการจัดการที่เหนือกว่า จึงมีการกวาดล้างและจับกุมขังคุกกลุ่มปัญญาชนหัวก้าวหน้า ในข้อหาการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ อันเป็นการลบกลุ่มคนเหล่านี้ออกไปจากความทรงจำของสังคม และผลงานของพวกเขากลายเป็นสิ่งพิมพ์ต้องห้าม เพื่อไม่ให้เกิดการผลิตซ้ำอุดมการณ์ของพวกเขาอีกต่อไป ต้องรอตราบจนกระทั่งอีกทศวรรษต่อมา วาทกรรมของพวกเขาจึงถูกนำมารื้อฟื้นอีกครั้ง | en |
dc.description.abstractalternative | To study the concept that progressive intellectuals conducted a discourse of the 'Thai Nation' during 1950-1962 in which they identified alternative meanings for the 'history of the Thai nation', 'sovereignty of the nation' and 'enemy of the nation'. Two generations of progressive intellectuals have been identified by this research. The first group played a role from the 1930's until the 1950's, and the second group was active from the 1950's. The two generations of intellectuals came together by publishing in newspapers and journals during the 1950's. The print media became the means by which they communicated their ideas to each other and put forward new opinions gained from their understandings of Marxism. These were new theories which criticised and challenged the mainstream view of 'Thai nation'. Moreover, in the 1950's there was a turning point of opinion, both from within Thailand and outside the country, which affected the ideas of the progressive intellectuals. It led to their creation of a discourse of 'Thai nation' which claimed that the nation was formed from ethnic heterogeneity and that 'national Thai identity' was formed from cultural diversity. Progressive intellectuals further explained that the 'sovereignty of the nation' was implied in an independent foreign policy, that is not dependent on policies of powerful countries. Furthermore, the concept of 'enemies of the nation' was directed at 'the new empire' (United States of America) and at the Thai group of politicians and those in bureaucracy who considered that Thailand should have closer alliances with the American capitalists. The discourse of progressive intellectuals ended in 1958 when the state power arrested and jailed them under the 'Communist Act'. This action resulted in the loss of them and their works from the memory of Thai society. Their ideas could not be openly publicised from that time until the 1970's, when their works were reprinted by students and intellectuals before and after the uprising of 14 October 1973. | en |
dc.format.extent | 6153791 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.705 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ปัญญาชน -- ไทย | en |
dc.subject | อนุรักษ์นิยม -- ไทย | en |
dc.subject | ชาตินิยม -- ไทย | en |
dc.subject | ความรักชาติ -- ไทย | en |
dc.subject | ไทย -- ประวัติศาสตร์ | en |
dc.title | วาทกรรมเรื่อง "ชาติไทย" ของปัญญาชนหัวก้าวหน้า ระหว่าง พ.ศ. 2490-2505 | en |
dc.title.alternative | Discourse of progressive intellectuals on the "Thai Nation" from 1947 to 1962 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | ประวัติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | No information provided | - |
dc.email.advisor | No information provided | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2003.705 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.