Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10938
Title: ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับอำเภอ จังหวัดนนทบุรี ต่อกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
Other Titles: Opinions of health personnel at district level in Nonthaburi Province toward community psychiatric rehabilitation activities
Authors: ปัญญวดี สาทิพจันทร์
Advisors: ทัสสนี นุชประยูร
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Somrat.L@Chula.ac.th
Subjects: เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ผู้ป่วยจิตเวช -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
จิตเวชศาสตร์ -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
จิตเวชศาสตร์ชุมชน
สุขภาพจิตชุมชน, การบริการ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปี พ.ศ. 2539-2543 ทั่วประเทศไทยมีผู้เข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวช กว่า 1,000,000 รายทุกปี การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับอำเภอ จังหวัดนนทบุรี ต่อกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2546 กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับอำเภอที่ปฏิบัติงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี มีผู้ตอบกลับแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง 437 คนจากทั้งหมด 557 คน (ร้อยละ 78.5) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบกลับส่วนใหญ่เป็นหญิง ร้อยละ 81.5 อายุระหว่าง 21-40 ปี (ร้อยละ 75.3) สถานภาพสมรส ร้อยละ 53.5 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 65.4 ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพและนักวิชาการสาธารณสุข (ร้อยละ 34.1 และ 27.5) อายุราชการโดยเฉลี่ย 13.25 ปี ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยและโรงพยาบาลชุมชน (ร้อยละ 44.9 และ 33.9) เคยได้รับการอบรมด้านสุขภาพจิต ร้อยละ 53.4 และไม่มีประสบการณ์ในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยเรื้อรัง / ผู้ป่วยจิตเวช ร้อยละ 55.2 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับอำเภอมากกว่า ร้อยละ 50 ให้คะแนนความสำคัญสูงมากถึงมากที่สุด (4 และ 5 คะแนน) จำนวน 14 จาก 51 กิจกรรมใน 7 ด้าน โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ ครอบครัวยอมรับผู้ป่วย มีระบบส่งต่อ-ส่งกลับ และช่วยผู้ป่วยในการปรับตัว สำหรับการให้คะแนนต่อปริมาณการดำเนินกิจกรรมจะพบว่าคะแนนต่ำกว่าความสำคัญ อย่างชัดเจน ทั้ง 51 กิจกรรม โดย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าการให้ความสำคัญต่อกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชทางสังคม มากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 3.51) และการให้ความสำคัญต่อกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชทางอาชีพน้อยที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 3.06) ส่วนปริมาณการดำเนินกิจกรรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชทางการแพทย์ มากที่สุด (2.36) และมีการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชทางอาชีพ น้อยที่สุด (0.92) นอกจากนั้นยังพบว่าผู้เคยดูแลผู้ป่วยให้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าผู้ไม่เคยดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสูง (p<0.05) ในเกือบทุกด้าน ส่วนผู้เคยอบรมมีค่าเฉลี่ยแตกต่างจากผู้ไม่เคยอบรมอย่างมีนัยสำคัญ เพียง ด้านการแพทย์และด้านสังคม นอกจากนี้ยังพบว่า เพศ ตำแหน่ง การเคยอบรมทางด้านสุขภาพจิตและดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง / จิตเวชที่แตกต่างกันมีผลต่อการให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช และพบว่า เพศ อายุ การศึกษา อายุราชการ หน่วยงาน การเคยอบรมทางด้านสุขภาพจิตและดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง/จิตเวชที่แตกต่างกันมีผลต่อการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช จากผลการศึกษานี้ กิจกรรมที่ได้รับคะแนนความสำคัญมากจากผู้ตอบส่วนใหญ่ ควรได้รับการพิจารณาเบื้องต้นเป็นกิจกรรมหลักของเกณฑ์มาตรฐานการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช และยังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการฝึกอบรม การวางแผน พัฒนาการดำเนินการ การกำกับและประเมินผลในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน ให้ตรงกับความต้องการของชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
Other Abstract: In the past 5 years, more than one million people seek psychiatric rehabilitation in Thailand. We studied the opinions of health care personnel at the district level toward community psychiatric rehabilitation activities in Nonthaburi province using a self-administered questionnaire. The study subjects were asked to rate, on a 5-point scale, their opinion on 51-item questionnaire that cover 7 dimensions of psychiatric rehabilitation activities. The study was conducted between January and February 2003. Of 557 health care personnel surveyed, 437 (78.5 %) responsed. Most respondents were female (81.5 %), between 21-40 years (75.3 %), married (53.5 %), working as a professional nurses (34.1 %), public health educators (27.5 %) for average 13.25 years of work. Around half of the respondents had some training in the psychiatry (53.5 %) but had no direct experience with psychiatric rehabilitation (55.2 %) Our results showed that although more than half of district level health care personnel rated the 14 out of 51 specified activities to be most important (rated 4 and 5) for psychiatric rehabilitation and the top-3 were family acceptance, back-referral system, and self-help activities for patients, they were not implemented as often in practice. Most respondents rated social rehabilitation dimension the most important (average score of 3.51), and occupational rehabilitation dimension the least important (3.06). In practice, medical rehabilitation dimension were most commonly implemented (2.35), while occupational rehabilitation dimension were uncommon (0.92). Personnel who had some direct experiences in psychiatry rated significantly higher scores in all dimensions than those who had not, while personnel who had prior psychiatric training rated a significantly higher score only for medical and social rehabilitation dimensions. Our results suggest that the activities may be considered most suitable as major activities in standard guideline for psychiatric rehabilitation practice particularly the highly important 14 activities mentioned and also were used for setting up training courses, planning, guiding for implementation, monitoring and evaluation. Thus, the future psychiatric rehabilitation programs which more efficient and more relevant to the real needs of the community would be obtained.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10938
ISBN: 9741730799
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panyawadee.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.