Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11081
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาระเชิงปรนัยในการดูแลความเข้มแข็งของครอบครัว ความหวังกับความผาสุกทางใจของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
Other Titles: Relationships between personal factors, objective burden, family hardiness, hope, and psychological well-being of schizophrenic patient's family caregivers in Jitavej Khonkhaen Rajangarindra Hospital
Authors: พัสตราภรณ์ พงษ์สิทธิศักดิ์
Advisors: เพ็ญพักตร์ อุทิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Penpaktr.U@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
ผู้ป่วยจิตเภท
ผู้ดูแล
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความผาสุกทางใจของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลภาระเชิงปรนัยในการดูแล ความเข้มแข็งของครอบครัว ความหวัง และความผาสุกทางใจของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ จำนวน 110 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายตามเกณฑ์คุณสมบัติจากผู้มารรับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชราชนครินทร์ขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามภาระเชิงปรนัยในการดูแล แบบสอบถามความเข้มแข็งของครอบครัว แบบสอบถามความหวัง และแบบสอบถามความผาสุกทางใจ ซึ่งผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาความเที่ยงโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .88, .69, .88 และ .81 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน ฐานนิยม ค่าสถิติไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า 1. ผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 64.5) มีอายุเฉลี่ย 45.5 ปี (S.D. = 11.20) มีภาระเชิงปรนัยในการดูแล ความเข้มแข็งของครอบครัว และความผาสุกทางใจในระดับปานกลาง ([ค่าเฉลี่ย] = 4.10, S.D. = 1.31; [ค่าเฉลี่ย] = 4.32, S.D. = 0.58 และ [ค่าเฉลี่ย] = 4.34, S.D. = 1.59 ตามลำดับ) และมีความหวังในระดับค่อนข้างมาก ([ค่าเฉลี่ย] = 4.85, S.D. = 0.79) 2. เพศและอายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกทางใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความเข้มแข็งของครอบครัว และความหวัง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความผาสุกทางใจของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .498 และ .553 ตามลำดับ) 4. ภาระเชิงปรนัยในการดูแล มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับความผาสุกทางใจของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.526)
Other Abstract: The purpose of this descriptive research were to study : 1) psychological well being of schizophrenic patient's family caregivers in Jitavej Khonkhaen Rajanagarindra Hospital 2) the relationships between personal factors, objective burden, family hardiness, hope and psychological well-being. The sample were 110 schizophrenic patient's family caregivers selected by purposive sampling method. The research instrument were questionnaires namely: objective burden, family hardiness, hope, and psychological well-being. All questionnaires were tested for content validity, and reliability. The Cronbach's Alpha coefficient reliability were .88, .69, .89 and .81, respectively. Statistical techniques utilized in data analysis were Percentage, Mean, Standard deviation, Chi-square and Pearson product moment correlation. Major results of this study were as follows: 1. Schizophrenic patient's family caregivers were mostly female (64.5%). They had mean age of 45.5 years. They had scores on objective burden, family hardiness, and psychological well-being in the moderate level ([Mean] = 4.10, S.D. = 1.31; [Mean] = 4.32, S.D. =0.58 and [Mean] = 4.34, S.D. = 1.59, respectively). The scores on hope was in the rather good level ([Mean] = 4.85, S.D. = 0.79). 2. Sex and age were not significantly related to psychological well-being (p .05). 3. There were moderate positive significantly relationships between family hardiness, hope and psychological well-being of schizophrenic patient's family caregivers (r = .498 and .553, p .05, respectively). 4. There was a moderate negative significantly relationship between objective burden and psychological well-being of schizophrenic patient's family caregivers (r = -.526, p .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11081
ISBN: 9741758014
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patsatraporn.pdf945.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.