Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11102
Title: การใช้พื้นที่ภายในหน่วยพักอาศัยอาคารสวัสดิการกองบัญชาการทหารสูงสุดในพื้นที่กรมการสื่อสารทหาร (ทุ่งสีกัน) ดอนเมือง
Other Titles: Space utilization of Supreme Command Headquarters flats in the directorate of Joint Communication Compound, Donmuang, Bangkok
Authors: ลาวัณย์ จุลพัลลภ
Advisors: สุปรีชา หิรัญโร
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th
Subjects: ที่อยู่อาศัย
สวัสดิการทหาร
อาคารสวัสดิการกองบัญชาการทหารสูงสุด
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการใช้พื้นที่ภายในหน่วยพักอาศัยอาคารสวัสดิการกองบัญชาการทหารสูงสุด ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการใช้พื้นที่ภายในหน่วยพักอาศัยในอาคารที่ใช้รูปแบบอาคารต้นแบบในปัจจุบัน ทั้ง 3 แบบ คือ แบบอาคารชั้นนายพัน แบบอาคารชั้นนายร้อย และแบบอาคารชั้นประทวน เพื่อศึกษาความสอดคล้องของการใช้งานจริงกับพื้นที่ใช้สอยภายในหน่วยพักอาศัยที่ได้ออกแบบไว้ และเพื่อหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงต้นแบบหน่วยพักอาศัยอาคารสวัสดิการกองบัญชาการทหารสูงสุดในอนาคต การศึกษาใช้วิธีการสำรวจทางกายภาพ ด้วยการสังเกต บันทึก สัมภาษณ์ ตลอดจนแบบสอบถาม จากตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 92 หน่วย แบ่งเป็น ในหน่วยพักอาศัยอาคารชั้นนายพัน 16 หน่วย ในหน่วยพักอาศัยอาคารชั้นนายร้อย 24 หน่วย และในหน่วยพักอาศัยอาคารชั้นประทวน 52 หน่วย ลักษณะทางกายภาพของหน่วยพักอาศัยอาคารทั้ง 3 แบบ แบ่งตามชั้นยศ ดังนี้ (1) หน่วยพักอาศัยชั้นนายพัน มีพื้นที่ 121 ตารางเมตร แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบนมี 2 ห้องนอน 2 ระเบียงห้องนอน และ 1 ห้องน้ำ ส่วนชั้นล่างมี 1 ห้องนอน 1 ห้องครัว 1 ห้องน้ำ และ 1 ห้องโถง (2) หน่วยพักอาศัยชั้นนายร้อย มีพื้นที่ 91 ตารางเมตร แบ่งเป็น 2 ห้องนอน 2 ระเบียงห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องโถง 1 ห้องเก็บของ และ 1 ห้องครัว (3) หน่วยพักอาศัยชั้นประทวน มีพื้นที่ 51 ตารางเมตร แบ่งเป็น 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ 1 ห้องโถงและ 1 ห้องครัว นอกจากนี้แปลนหน่วยพักอาศัยชั้นนายร้อย มีลักษณะการแบ่งซอยเป็นห้องเล็ก ๆ มากกว่าหน่วยพักอาศัยชั้นนายพันและชั้นนายร้อย จากการศึกษาหน่วยพักอาศัยอาคารทั้ง 3 แบบ พบดังนี้ (1) การออกแบบกำหนดเขตพื้นที่ส่วนตัว (Private Zone) และเขตพื้นที่สาธารณะ (Semi-Private Zone) ภายในหน่วยพักอาศัยเหมาะสมกับการอยู่อาศัยและกิจกรรมในชีวิตประจำวันตามตำแหน่งของกิจกรรมที่เกิดขึ้น (2) การกำหนดขนาดพื้นที่หน่วยพักอาศัยส่วนใหญ่เหมาะสมกับการใช้พื้นที่ แต่ยังพบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องขนาดพื้นที่ของห้องครัว ห้องน้ำ เป็นส่วนใหญ่ (3) ผู้อยู่อาศัยมักปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยให้ตรงตามความต้องการ เช่น ในหน่วยพักอาศัยของชั้นประทวน มักใช้พื้นที่ห้องโถงเป็นพื้นที่ครัวเพิ่มขึ้น และบางหน่วยพักอาศัยใช้บริเวณทางเดินร่วมเป็นที่ปรุงอาหาร นั่งรับประทานอาหารและพักผ่อนด้วย หน่วยพักอาศัยของชั้นนายร้อย พบบางหน่วยพักอาศัยมีการใช้ระเบียงห้องนอนเป็นที่ปรุงอาหาร และหน่วยพักอาศัยของชั้นนายพันมักใช้พื้นที่ ห้องโถงเป็นพื้นที่ครัวเพิ่มขึ้น และบางหน่วยพักอาศัยเปลี่ยนห้องนอนชั้นล่างเป็นห้องครัว ห้องเก็บของ ห้องอาหาร หรือ ห้องพักผ่อน บางหน่อยพักอาศัยทำการต่อเพิ่มที่ชั้นล่างด้านหลังอาคารเพื่อปรุงอาหาร ซักล้าง บางหน่วยพักอาศัยทำการต่อเติมบริเวณระเบียงห้องนอนชั้นบนขยายพื้นที่ห้องนอน (4)การจัดผังพื้นหน่วยพักอาศัยแบบห้องโล่งเช่นหน่วยพักอาศัยของชั้นนายพันและของประทวน ทำให้พื้นที่ใช้สอยสามารถใช้ประโยชน์มากกว่าการจัดผังพื้นแบบแบ่งซอยพื้นที่เป็น ห้องย่อยๆ เช่นหน่วยพักอาศัยของชั้นนายร้อย เพราะไม่ต้องเสียพื้นที่เป็นทางเดินสัญจรมาก ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ คือ (1) ควรมีการเพิ่มพื้นที่ในส่วนที่ผู้อยู่อาศัยต้องการ โดยไม่เพิ่มเนื้อที่ของหน่วยพักอาศัย แต่เป็นการปรับเปลี่ยนพื้นที่ในส่วนที่ไม่ถูกใช้งานให้เป็นประโยชน์ (2)การออกแบบหน่วยพักอาศัยควรเป็นแบบ ห้องโล่งมากกว่าแบบแบ่งซอยเป็นห้องย่อย (3)แบบหน่วยพักอาศัยทั้ง 3 แบบควรมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ ดังนี้ ในหน่วยพักอาศัยของชั้นนายพัน ควรมีการเปลี่ยนตำแหน่งพื้นที่ทางเข้าออกหน่วยพักอาศัยให้อยู่ทางห้องโถง ควรจัดขนาดพื้นที่ห้องครัว ห้องน้ำชั้นล่างและห้องนอนชั้นล่าง(เอนกประสงค์)ใฟ้มีขนาดที่เหมาะสม ในหน่วยพักอาศัยของชั้นนายร้อยควรมีการออกแบบขนาดและตำแหน่งพื้นที่ห้องครัว ห้องน้ำ และห้องเก็บของใหม่เพื่อลดการสูญเสียพื้นที่ในการใช้สอย ควรเพิ่มช่องเปิดหน้าต่างของหน่วยพักอาศัยให้มีมากขึ้นและลดจำนวนประตูลง ส่วนในหน่วยพักอาศัยของชั้นประทวนควรมีการเพิ่มขนาดพื้นที่ห้องครัวและห้องน้ำใหม่ เพื่อให้สะดวกในการใช้งานมากขึ้น ห้องน้ำควรมีการแยกส่วนอาบน้ำและห้องน้ำและส้วมออกจากกัน
Other Abstract: This study aimed to analyze space utilization of millitary accommodation flats, Supreme Command Headquarters. By studying the millitary accommodation flats were constructed with the standard flat types that used in the present. There are three unit types of the flats, divided from the rank's officer. "Colonel" type. "Commission" type and "Noncommissioned" type. To find between the suitable area utilization and the designed unit area and finally reach suggestions for the flat improvement. The study collected data by using observations, documentary search, interviews and questionnaires. 92 units of the example including 16 units from the 'Colonel' type, 24 units from the 'Commission' type and 52 units from the 'Noncommissioned' type. The physicals of three unit types: (1) 'Colonel' type area is 121 m2., the unit has 2 levels; in the upper floor has 2 bedrooms, 2 balconies and 1 bathroom. In the lower floor has 1 bedroom, 1 kitchen, 1 bathroom and 1 hall. (2) 'Commission' type area is 91 m2., the unit has 2 bedrooms, 2 balconies, 2 bathroom, 1 hall, 1 storage room and 1 kitchen. (3) 'Noncommissioned' type area is 51 m2., the unit has 2 bedrooms, 1 bathroom, 1 hall and 1 kitchen. Furthermore, 'Commission' type unit plan is divided into small rooms more than 'Colonel' type and 'Nonommissioned' type. It found that (1) the designed zoning is well suited to the actual activities of the user. (2) The sized of flats were well designed with space utilization, but it found the problems about the sized of the kitchen and bathroom. (3) Some residents have adjusted the functions of the space in correctly such as in the 'Noncommissioned' type unit: most residents use the hall for extra kitchen area, some unit use the corridors for cooking, dining and resting areas. In the 'Commission' type unit, it found that some unit used the balcony's bedroom for cooking. In the 'Colonel' type unit, most residents used the hall for extra kitchen area, and some unit are rearranged the lower bedroom into kitchen, storage, dining room or resting room. Some units use outside the back door as cooking and washing area. (4) The opened space units like 'Colonel' type and 'Noncommissioned' type unit can use space more useful than divided space unit like 'Commission' type. The study suggested that (1) the alternation of unused areas can increase the area. (2) Every type should be designed with opened area rather than being divided into small room. (3) The units should be rearranged the funtions, 'Colonel' type unit should relocate the entrace to the hall, and the readjusted area of the kitchen, lower bathroom and lower bedroom. In the 'Commission' type unit, it should redesign and modify area of the kitchen, front bathroom and storage room to reduce wasted space, add more windows and reduce numbers of unnecessary doors. In the 'Noncommissioned' type unit, it should expand area of the kithen and bathroom for more convenient. In addition, it should separate the shower area from the toilet.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11102
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.360
ISBN: 9741718152
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.360
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lawan.pdf24.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.