Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11110
Title: คุณค่าในผ้าไหมมัดหมี่ ตามการรับรู้ของอาจารย์ และนักศึกษาโปรแกรมวิชาศิลปกรรมระดับปริญญาบัณฑิต สถาบันราชภัฏ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Value of Mudmee Silk as perceived by instructors and undergraduate students in fine and Applied Art Program of Rajabhat Institutes in the Northeastern Region
Authors: สุทธิรักษ์ สาคร
Advisors: ปิยะชาติ แสงอรุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผ้ามัดหมี่
การทอผ้า -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
หัตถกรรม -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สำรวจความคิดเห็นตามการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษาโปรแกรมวิชาศิลปกรรม ระดับปริญญาบัณฑิต สถาบันราชภัฏ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกี่ยวกับคุณค่าในผ้าไหมมัดหมี่ 5 ด้าน คือ คุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ คุณค่าเชิงคตินิยม คุณค่าต่อวิถีชีวิต คุณค่าทางภูมิปัญญาแห่งมรดกชุมชน คุณค่าทางการศึกษา กลุ่มประชากร และตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยอาจารย์โปรแกรมวิชาศิลปกรรม ที่รับผิดชอบในการสอนวิชาศิลปะพื้นบ้าน วิชาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน วิชาประวัติศาสตร์ จำนวน 18 คน และนักศึกษาโปรแกรมวิชาศิลปกรรม ระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ที่ผ่านการเรียนวิชาพื้นฐานทางศิลปะตามหลักสูตรของโปรแกรมวิชาศิลปกรรม ของสถาบันราชภัฏ จำนวน 196 คน จากสถาบันราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 7 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามสำหรับอาจารย์ และนักศึกษา ซึ่งเป็นแบบตรวจสอบรายการ แบบประมาณค่าและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์ และนักศึกษามีความคิดเห็นตามการรับรู้ในระดับมาก เกี่ยวกับคุณค่าในผ้าไหมมัดหมี่ทั้ง 5 ด้าน คือ คุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ คุณค่าเชิงคตินิยม คุณค่าต่อวิถีชีวิต คุณค่าทางภูมิปัญญาแห่งมรดกชุมชน คุณค่าทางการศึกษา นอกจากนั้นอาจารย์ และนักศึกษาโปรแกรมศิลปกรรมได้เสนอแนะเกี่ยวกับบทบาท และความสำคัญของผ้าไหมมัดหมี่ ที่มีต่อวิถีชีวิตชุมชน และสังคมในปัจจุบัน ซึ่งมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงไปตามสังคม เศรษฐกิจ และความเจริญก้าวหน้า จึงควรเห็นคุณค่าของงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของ ท้องถิ่น ในเชิงการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ และการให้ความรู้ในระบบสถาบันการศึกษาของท้องถิ่น
Other Abstract: The purpose of this research was to survey the opinions of instructors and students towards values of Thai Mudmee Silk in five aspects which were historical value, traditional value, way of life value, wisdom of community heritage value and educational value. This research was based on the perceptions of the instructors and students of Bachelor Degree in Fine and Applied Art Program of Rajabhat Institutes in the Northeastern Region. The population and sample in this research were 18 Art Instructors who taught Folk Arts, Folk Product, Art Historical Course and 196 third-year students of seven Rajabhat institutes of Fine and Applied Art Program in the Northeastern Region. Research instrument was questionnaire for the instructors and students, consisting of check list, rating scales and open-ended questions. The collected data were analyzed by percentages, means, standard deviations and frequencies. The research result were found that instructors' and students' perceptions toward 5 values of Thai Mudmee Silk - historical value, traditional value, way of life value, wisdom of community heritage value and educational value were at high level. In addition, instructors and students had given some suggestion about roles and importance of Thai Mudmee Silk towards the way of life and current society which have changed the trend according to socio-economy and country development of our country, so the value of Thai Folk Art and Craft which is identity of the local should be recognized in conserving, promoting, disseminating and educating in local educational institute system.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11110
ISBN: 9741723636
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttirak.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.