Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11113
Title: การถ่ายทอดความเป็นแฟนตาซีสำหรับเด็กในละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์
Other Titles: The presentation of fantasy for children in Thai folktales on television
Authors: อัปสร มีศิลป์
Advisors: สุภาพร โพธิ์แก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Supaporn.Ph@chula.ac.th
Subjects: ละครโทรทัศน์
จินตนาการเพ้อฝัน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะการปรับเปลี่ยนความเป็นแฟนตาซี รวมไปถึงวิธีการถ่ายทอดความเป็นแฟนตาซีสำหรับเด็กในละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ จากตัวอย่าง ผลงานเรื่องนางสิบสอง พระสุธน-มโนห์รา และแก้วหน้าม้า ของบริษัทสามเศียร จำกัด ซึ่งมี ประสบการณ์ในการผลิตละครประเภทดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน อันนำมาซึ่งผลสรุปของการวิจัย ดังต่อไปนี้ 1.ลักษณะการปรับเปลี่ยนการนำเสนอความเป็นแฟนตาซีในละครพื้นบ้านของบริษัท สามเศียร จำกัด จะปรากฏในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต โดยจะมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนที่สำคัญๆ คือ การปรับเปลี่ยนการนำเสนอความเป็นแฟนตาซีโดยการเพิ่มมิติ และการกระทำอันสมเหตุ สมผลแก่ตัวละคร และการปรับเปลี่ยนการนำเสนอความเป็นแฟนตาซีให้เกิดความร่วมสมัยตามปริบทของสังคมในปัจจุบัน 2.แนวการนำเสนอความเป็นแฟนตาซีที่ผู้ผลิตละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์ใช้ เป็นแนวการสร้างความสมจริงเชิงชี้นำ และอาศัยการสร้างความรู้สึกสมจริงโดยใช้รหัสที่อิงประสบการณ์ และความเชื่อดั้งเดิมของผู้ชม หรือการใช้รหัสที่สร้างขึ้นมาใหม่ แต่มีการใช้ซ้ำๆ จนเกิดเป็นข้อตกลงระหว่างผู้ชม และผู้ผลิต 3.วิธีการนำเสนอความเป็นแฟนตาซีในละครพื้นบ้านทางโทรทัศน์เกิดจากการผสมผสานระหว่างวิธีการนำเสนอความเป็นแฟนตาซีในศิลปะไทย ซึ่งเป็นแนวทางที่เปิดโอกาสให้เด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ และซาบซึ้งถึงศิลปะ เอกลักษณ์ รวมไปถึงความเชื่อดั้งเดิมแบบไทยๆ และวิธีการนำเสนอความเป็นแฟนตาซีด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสามารถสร้างแรงจูงใจให้เด็กเกิดความสนใจในละครพื้นบ้านด้วยภาพ และเสียงที่ร่วมสมัยกับพวกเขา
Other Abstract: The purpose of this research is to study the adaptation and the procedure of fantasy presentation for children in Thai folktales on television from 3 chosen works, "Nang Sibsong", "Phra Suthon-Manorah" and "Keaw Na Ma", of Sam Sian Company Production Team, who has had experience over 30 years in this kind of television program. The results of this research indicate the following: 1. The adaptation of fantasy presentation in Thai folktales on television exists on every step of production process. There are 2 major ways of this adaptation. Firstly, the characters in this fantasy presentation are adapted to be rounded with three-dimension characteristic and the reasonable behavior. Secondly, the fantasy presentation is modified to be contemporary with the current of social context. 2. The style of fantasy presentation in Thai folktales on television is the style of "Suggestive Realism". To create the virtual feeling, the codes refering to audienceʼs experiences and beliefs are used. The new codes are also created and used repeatedly until they can make sense to the audience. 3. The fantasy presentation in Thai folktales on television is the combination between the Thai traditional presentation of fantasy and the presentation of fantasy by modern technology. The Thai traditional presentation may convey children, as the target audience, to learn and appreciate arts, identity and belief of Thai culture as well as the presentation of fantasy created by modern technology may attract children with the contemporary feeling to watch Thai folktales on television.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11113
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.469
ISBN: 9741725884
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.469
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
absorn.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.