Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11176
Title: กระบวนการสร้างภาพทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง : ศึกษาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2543
Other Titles: The process of image building among political candidates : a case study of the Bangkok governor's election in 2000
Authors: บรรลือศักดิ์ แสงสว่าง
Advisors: ตระกูล มีชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Trakoon.M@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร -- การเลือกตั้ง
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มุ่งศึกษากระบวนการสร้างภาพของบุคคลทางการเมือง ของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 โดยทำการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการสร้างภาพจาก วิธีการหาเสียงของผู้สมัครคนสำคัญๆ ที่ผ่านมาทางสื่อต่างๆ เช่น สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ทำการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งครั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาส่วนหนึ่งด้วย ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มีสมมติฐานคือ การรณรงค์หาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 มีแนวโน้มไปสู่ลักษณะของการรณรงค์สร้างภาพเชิงพาณิชย์ เพื่อให้ผู้เลือกตั้งเกิดความรู้สึกที่ดีต่อผู้สมัคร อีกทั้งยังมีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นกระบวนการ ผลการศึกษาพบว่าในการรณรงค์หาเสียงรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 คนสำคัญๆ ที่ได้รับการศึกษานั้น นอกจากมีการนำเสนอเนื้อหาทางด้านนโยบายในการบริหารกรุงเทพมหานครแล้ว ยังนำเอาวิธีการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์มาใช้ในการรณรงค์หาเสียงรับเลือกตั้ง เพื่อปรุงแต่งภาพของตนแล้วฉายไปสู่ผู้เลือกตั้ง เพื่อให้ผู้เลือกตั้งเกิดความรู้สึกที่ดีต่อผู้สมัคร อันมีลักษณะของการสร้างภาพของสินค้าในเชิงพาณิชย์สอดคล้องกับสมมติฐานในการศึกษา
Other Abstract: The study examines the image building among politicians, using the case of candidates' campaign for the post of Bangkok Governer in the Bangkok's election year 2000. Tactic of image building through the media among more promissing candidate were closely analyzed. Personal interview were also used as a method of data collection for the study. It is hypothesis that various means of image building were mainly deployes in the political campaign mostly to attact voter. Such method are not very different from commercial and also very schematic. The result partially confirm the hypothesis, in that mean of commercialization and public relation were intansely used in the political compaigning, but also, the candidates policy was a substantial. Part of the campaign.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11176
ISBN: 9740306063
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
banluesak.pdf10.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.