Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11346
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดาพร ลักษณียนาวิน-
dc.contributor.authorอรวดี รุกขรังสฤษฏ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-09-28T03:12:42Z-
dc.date.available2009-09-28T03:12:42Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743324763-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11346-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะร่วมทางสัทศาสตร์ของคำลงท้ายในมาตุภาษาไทย ในการวิเคราะห์ลักษณะร่วมทางสัทศาสตร์นี้ใช้วิธีทางกลสัทศาสตร์ โดยวิเคราะห์ค่าความถี่มูลฐาน ค่าระยะเวลา และค่าความเข้มของเสียงของแม่ จำนวน 2 คน ได้แก่ แม่ที่มีทารกเพศหญิง 1 คน และแม่ที่มีทารกเพศชาย 1 คน โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพัฒนาต่อเนื่องตามช่วงอายุต่างๆ ได้แก่ วัยแรกเกิด 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน จากการศึกษาพบข้อมูลคำลงท้ายทั้งสิ้น 584 หน่วยความ โดยพบหน่วยความที่มีคำลงท้ายเพียงร้อยละ 11.5 ปริมาณการใช้คำลงท้ายในมาตุภาษาของแม่ที่มีทารกเพศชาย มีแนวโน้มมากกว่าในแม่ที่มีทารกเพศหญิง (ร้อยละ 56.7 และ 43.3) การใช้คำลงท้ายมีปริมาณน้อยที่สุดในวัย 3 เดือน (ร้อยละ 15.1) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่ออายุของทารกเพิ่มขึ้น การศึกษาลักษณะร่วมทางกลสัทศาสตร์ของคำลงท้ายในมาตุภาษาไทย พบว่า ค่าความถี่มูลฐานเฉลี่ยในแม่ที่มีทารกเพศหญิง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าในแม่ที่มีทารกเพศชาย (270.7 เฮิรตซ์ และ 258.4 เฮิรตซ์) เช่นเดียวกับค่าระยะเวลาเฉลี่ยในแม่ที่มีทารกเพศหญิง ซึ่งสูงกว่าในแม่ที่มีทารกเพศชาย (386 มิลลิวินาที และ 378 มิลลิวินาที) เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงค่าเชิงกลสัทศาสตร์ทั้งสองดังกล่าวในเชิงพัฒนาการต่อเนื่อง พบว่า ค่าความถี่มูลฐานเฉลี่ยของมาตุภาษาของทารกในวัยแรกเกิดมีค่าค่อนข้างต่ำ และค่าระยะเวลาเฉลี่ยค่อนข้างยาว ค่าความถี่มูลฐานสูงขึ้นอย่างเป็นได้ชัดในวัย 3 เดือน และหลังจากนั้นมีค่าลดลงเป็นลำดับเมื่อทารกมีวัยเพิ่มขึ้น (252, 286, 263 และ 259 เฮิรตซ์) ส่วนค่าระยะเวลามีค่าลดลงเป็นลำดับจากวัยแรกเกิดถึงวัย 12 เดือน (457, 452, 369, 317 และ 295 มิลลิวินาที) ผลการศึกษารูปแบบของเสียงสูงต่ำของคำลงท้าย พบความแตกต่างใน 3 รูปแบบ คือ ปริมาณการใช้เสียงขึ้นใกล้เคียงกับเสียงตก (ร้อยละ 51.0 และ 49.0) ปริมาณการใช้เสียงสูงต่ำแบบผสมมากกว่าเสียงสูงต่ำแบบไม่ผสมอย่างเห็นได้ชัด (ร้อยละ 86.1 และ 13.9) และปริมาณการใช้เสียงสูงต่ำแบบมีการคงระดับ พบเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการใช้เสียงสูงต่ำไม่มีการคงระดับ (ร้อยละ 13.9 และ 86.1)en
dc.description.abstractalternativeThis research attempts to study the phonetic correlates of final particles in infant directed speech (IDS). These acoustic correlates were investigated, i.e. fundamental frequency, duration, and intensity. The speech of 2 mothers, one with female infant and the other of male infant was investigated. The study was a longitudinal one, the data of IDS were collected when the 2 infants were newborns (NB); 3 months (3 MO); 6 months (6 MO); 9 months (9 MO); and 12 months-old (12 MO). The data consists of 584 utterances, only 11.5% of the data are with final particles. IDS to the male infant seems to consist of final particles more than that to the female infant (56.7 VS 43.3%). Quantitatively speaking, IDS with final particles has the lowest numbers of utterance in the 3 months-old (15.1%). The number increases as the age increases. Concerning the phonetic correlates of the final particles, IDS to the female infant has higher average fundamental frequency (Fphi) 270 Hz VS 258 Hz) and longer average duration (386 ms VS 378 ms). The average Fphi exhibits a rise in IDS is the 3 MO and then starts to decrease as the infants get older (NB = 252 Hz, 3 MO = 286 Hz, 6 MO = 263 Hz, 9 MO = 259, and 12 MO = 259 Hz). In term of duration, IDS to the NB has the longest duration and then the duration of the final particles decreases as the age of the infants increases (457 ms, 452 ms, 369 ms, 317 ms, and 295 ms). Considering the pitch pattern of the final particles, 3 patterns were found. Quantitatively speaking, the number of the rise is quite closed to the fall (51.0 VS 49.0%, convolution has outnumbered Non-convolution (86.1 VS 13.9%), and the number of stylised is very little as compared to Non-stylised (13.9 VS 86.1%)en
dc.format.extent823935 bytes-
dc.format.extent755918 bytes-
dc.format.extent988594 bytes-
dc.format.extent1064656 bytes-
dc.format.extent887063 bytes-
dc.format.extent814746 bytes-
dc.format.extent762154 bytes-
dc.format.extent1895387 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาไทย -- สัทศาสตร์en
dc.subjectภาษาไทย -- คำลงท้ายen
dc.titleลักษณะร่วมทางสัทศาสตร์ของคำลงท้ายในมาตุภาษาไทยen
dc.title.alternativeThe phonetic correlates of final particles in Thai mothereseen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSudaporn.L@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Onwadee_Ru_front.pdf804.62 kBAdobe PDFView/Open
Onwadee_Ru_ch1.pdf738.2 kBAdobe PDFView/Open
Onwadee_Ru_ch2.pdf965.42 kBAdobe PDFView/Open
Onwadee_Ru_ch3.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Onwadee_Ru_ch4.pdf866.27 kBAdobe PDFView/Open
Onwadee_Ru_ch5.pdf795.65 kBAdobe PDFView/Open
Onwadee_Ru_ch6.pdf744.29 kBAdobe PDFView/Open
Onwadee_Ru_back.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.