Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11470
Title: | วิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย พ.ศ. 2481-2535 |
Other Titles: | The evolution of Thai country songs in Thai society, 1938-1992 |
Authors: | ศิริพร กรอบทอง |
Advisors: | ธิดา สาระยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เพลงลูกทุ่ง เพลงพื้นเมืองไทย |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาเพลงลูกทุ่งในเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจถึงการเกิดและการปรับตัวของบทเพลงที่สัมพันธ์กับบริบทของสังคมไทย (พ.ศ. 2481-2535) ผลการศึกษาพบว่าในกระแสการขยายตัวของเศรษฐกิจทุนนิยมภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้นคนชนบทได้เข้ามาเป็นแรงงานในเมืองจำนวนมาก คนเหล่านี้ได้ใช้ชีวิตสัมพันธ์กับเมืองและรับวัฒนธรรมความทันสมัยจากเมืองมากขึ้นและจากอิทธิพลของเพลงไทยสากลซึ่งกำลังแพร่หลายเป็นสิ่งบันเทิงของคนเมืองหลังสงคราม ทำให้คนชนบทที่เข้าสู่วงการเพลงได้สร้างสรรค์เพลงไทยสากลที่มีลักษณะสัมพันธ์กับท้องถิ่นพื้นบ้านหรือที่เรียกว่าเพลงลูกทุ่งขึ้นมา และตั้งแต่ปีพ.ศ. 2507 จากการที่บทเพลงมีลักษณะสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนชนบทที่เสมือนอยู่ระหว่างโลกเก่ากับโลกใหม่และศิลปินยังสร้างสัมพันธ์กับท้องถิ่นโดยการเดินสายและใช้สื่อเผยแพร่ทำให้เพลงลูกทุ่งแพร่หลายกลายเป็นสิ่งบันเทิงของคนในสังคมชนบทอย่างกว้างขวาง ในช่วงชีวิตของสุรพล สมบัติเจริญตลอดจนภายหลังการเสียชีวิตของสุรพล สมบัติเจริญ ศิลปินผู้มีบทบาทในการสร้างและเผยแพร่เพลงลูกทุ่ง (พ.ศ. 2511) วงการเพลงลูกทุ่งเข้าสู่ระบบการบริหารงานของนายทุนและในกระแสเพลงไทยสากลแนวใหม่นำสมัย เพลงลูกทุ่งได้ปรับตัวโดยมีวิถีชีวิตของคนชนบทเป็นเงื่อนไขสำคัญโดยที่ยังคงรักษาพื้นฐานทั้งรูปแบบฉันทลักษณ์ ท่วงทำนองตลอดจนลักษณะของจารีตการเล่นเพลงอันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิม นอกจากนี้ยังนำเสนอสาระที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนชนบทในระบบเศรษฐกิจทุนนิยมขยายตัวซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่ที่เหลื่อมล้ำกับสังคมเมืองอย่างชัดเจน การที่คนชนบทมีบทบาทในภาคการผลิตที่สำคัญทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรมและการบริการอีกทั้งธำรงลักษณะของวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้อย่างชัดเจน แม้จะโยกย้ายถิ่นที่ใดก็ตาม ส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะภาครัฐและภาคธุรกิจได้เปิดพื้นที่ให้กับวัฒนธรรมท้องถิ่นและหันมาสนใจเพลงลูกทุ่งซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการเติบโตของเพลงลูกทุ่งในสังคมไทยอีกทางหนึ่ง |
Other Abstract: | To study Thai country songs from historical aspect in order to understand their origins and adapation in Thai social context from 1938-1992. The study reveals that a large number of people from the country migrated to work as labourers in the capital as the result of the expansion of capitalism after the Second World War. These country people experienced new urban culture, including modernisation and Thai pop songs which became new entertainment of city people. Pop music could draw great attention from the country people working in the capital and gave some of them initiatives to create their own music whose lyrics reflected the characteristics of country lifestyle. This music gradually developed to become Thai country songs. Form 1964, country songs became more popular among country people due to their style which blended traditional world of the country people into the modern world of the city. Moreover, artists' attempt to build up their relationship with the country people via media even made country songs more popular among the latter. Suraphol Sombatchareon, one of the nation's great country song artists, contributed tremendously to the creation and wide-spread of country music during his rise to stardom and even after his death in 1968. At the same time, country music business was brought under the influence of capitalists' management and their style was also influenced by modern pop song. Against this background, Thai country songs still managed to maintain their main features, in the forms of lyrics, rhyme and local tradition which reflected the lifestyle of the country people. In addition, they clearly expressed social and economic inequality of people living in the cities and those living in the country as a result of unequal expansion of capitalist development. The fact that migrations of the country people did not affect their ability to contribute to economic growth and to maintain their local culture made all parties concerned, especially government and business sectors pay more attention to Thai country songs and local culture. This was another factor contributing to the growth of the country songs in Thai society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประวัติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11470 |
ISBN: | 9743317201 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siriporn_Kr_front.pdf | 776.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_Kr_ch1.pdf | 863.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_Kr_ch2.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_Kr_ch3.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_Kr_ch4.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_Kr_ch5.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_Kr_ch6.pdf | 706.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriporn_Kr_back.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.