Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11521
Title: การเปรียบเทียบการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟัน ระหว่างการใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้น ร่วมกับการใช้วัสดุปลูกกระดูกกับการใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว
Other Titles: Comparison between the use of rubber dam as a membrane barrier with and without bone graft in the treatment of infrabony defects
Authors: ชนกพรรณ สุคนธ์พันธุ์
Advisors: นวลฉวี หงษ์ประสงค์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Naulchavee.H@Chula.ac.th
Subjects: แผ่นยางกันน้ำลาย
โรคปริทันต์อักเสบ
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการวัด ผลการใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้น และเปรียบเทียบผลการรักษารอยวิการของกระดูกเบ้าฟัน หลายๆ รอยโรคในบริเวณใกล้เคียงกัน ด้วยวิธี การชักนำให้เกิดการงอกใหม่ของเนื้อเยื่อ (จีทีอาร์) โดยใช้แผ่นยางกันน้ำลายเป็นแผ่นกั้นเพียงอย่างเดียว(T1) กับการใส่วัสดุปลูกกระดูกร่วมด้วย (T2) ในเวลา 6 เดือน เลือกรอยวิการของกระดูกเบ้าฟัน รวมถึงรอยวิการในบริเวณง่ามรากฟันไม่เกินระดับ II ที่มีความลึกของร่องลึกปริทันต์เท่ากับ หรือมากกว่า 5 มม. จำนวน 51 รอยโรคจาก 10 บริเวณของผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคปริทนต์อักเสบ 4 คน อายุ 42-45 ปี อายุเฉลี่ย 43.75 ปี ซึ่งได้รับการรักษาในระยะแรกเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยแต่ละรายมีรอยโรคทั้งสองข้างของขากรรไกรเดียวกัน ดังนั้นถ้าข้างใดได้รับการสุ่มเลือกเป็น T1 อีกข้างจึงเป็น T2 ดังนั้น T1 ผ่าตัด 5 ครั้งมี 19 รอยโรคในขณะที่ T2 ผ่าตัด 5 ครั้งมี 32 รอยโรคค่าที่ใช้วัดทางคลินิก คือค่าดัชนีแผ่นคราบจุลินทรีย์ (PI) ดัชนีซัลคัสบลีดดิง (SBI) ความลึกของร่องลึกปริทันต์ (PD) ระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ทางคลินิก (CAL) ระดับการร่นของเหงือก (R) และการถ่ายภาพรังสีได้ทำการบันทึกก่อนการทำ จีทีอาร์ และภายหลังการทำ จีทีอาร์ 3 เดือนและ 6 เดือน เมื่อรักษาแลัว 3 เดือนและ 6 เดือน ผลการรักษาพบว่ามีการงอกใหม่ของอวัยวะปริทันต์เกิดขึ้นทุกรายเมื่อเวลาดึงแผ่นกันน้ำลายออกใน กลุ่มT1 ค่าPD และ CAL ก่อนทำ (5.63+_0.83,7.25+_1.50) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ 3 เดือน (2.55+_0.08,5.03+_1.25) และ 6 เดือน (2.89+_0.89,5.21+_1.15) ในขณะที่ค่าของ PD ในเดือนที่ 6 จะมากขึ้นกว่าใน เดือนที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญด้วย ส่วนระดับการร่นของเหงือกจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งในกลุ่ม T2 ในเดือนที่ 3 และที่ 6 พบว่าให้ผลเช่นเดียวกับในกลุ่ม T1 แต่ค่าของ PD ในเดือนที่ 6 ค่อนข้างคงที่ไม่ต่างไปจากเดือนที่ 3 จนไม่พบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างกลุ่ม T1 และ T2 ไม่พบความแตกต่างกันของทุกค่าที่ใช้วัดทางคลินิกทุกช่วงระยะเวลา เมื่อดูจากภาพถ่ายรังสีหลังการรักษา 6 เดือนพบว่า มีลักษณะของกระดูกเพิ่มขึ้นในรอยโรค เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายรังสีก่อนการผ่าตัดทั้งในกลุ่ม T1 และ T2 และเมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่ม จะไม่มีความแตกต่างกันในค่าทางคลินิกและผลทางภาพถ่ายรังสีในทุกช่วงเวลาเช่นกัน จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแผ่นยางกันน้ำลายสามารถใช้เป็นแผ่นกั้นได้ในขบวนการจีทีอาร์ และการใช้แผ่นยางกันน้ำลายอย่างเดียวหรือร่วมกับการใช้วัสดุปลูกกระดูกจะให้ผลไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: This clinical study was carried out to evaluate the efficacy of rubber dam used as a membrane barrier and to compare the result of the treatment of multilesion infrabony defects by guided tissue regeneration (GTR) technique used rubber dam only(T1) to rubber dam with bone allograft (T2) within a 6 months. Fifty one infrabony lesions including not more than II furcation involvement defects with pocket depth 5 mm. or more in 10 areas were selected from 4 female periodontitis patients aged 42 to 45 year old (average 43.75 years) who had hygienic phase treatment completed before GTR operation performed. Each patient had multilesions in both sides therefore if one side was randomly chosen for T1 the other side was T2. Five operation were performed in both T1(19 letion) and T2(32 letion). The clinical parameters : plaque index(PI), sulcus bleeding index(SBI), pocket depth(PD), clinical attachment level(CAl) gingival recession(R) and radiograph were recorded before surgery(0 month), and at 3 and 6 months after surgery. It was found that the regeneration of periodontium occured in all cases at the time of rubber dam removal. In T1 group, PD and CAL before treatment (5.63+_0.83,7.25+_1.50) were reduced significantly at 3 months (2.55+_0.08,5.03+_1.25) and 6 months (2.89+_0.89,5.21+_1.15). PD at 6 months was higher than the value at 3 months. Gingival resession was higher significantly at 3 and 6 months than before surgery. The same result was found in T2 group for all parameters except that there was no significant difference between PD values of during 3 months and 6 months. Radiographical results showed the formation of bone in the lesion when compared to before treatment records both in T1 and T2 group. There was no significant difference in the treatment of T1 and T2 in all clinical parameters as well as radiographical records by time. These results showed that rubber dam can be used as a membrane barrier in GTR procedure. Even though there seemed to be no significant difference in all the main clinical parameters between the two group, the healing of the T2 group was rather quicker and more stable than that of the T1 group; therefore the use of rubber dam with allograft was recommended, particularly in the treatment of multiletion of close proximity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปริทันตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11521
ISBN: 9746372823
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanokpan_Su_front.pdf882.88 kBAdobe PDFView/Open
Chanokpan_Su_ch1.pdf854.92 kBAdobe PDFView/Open
Chanokpan_Su_ch2.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Chanokpan_Su_ch3.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Chanokpan_Su_ch4.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Chanokpan_Su_ch5.pdf909.88 kBAdobe PDFView/Open
Chanokpan_Su_back.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.