Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11597
Title: การเปรียบเทียบผลการสร้างฉันทามติและระดับการให้ความร่วมมือ ของผู้เชี่ยวชาญ ระหว่างการใช้เทคนิคเดลฟายแบบเดิม และเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุงที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็น
Other Titles: A comparison of consensus building results and the degree of experts' cooperation between the tradtional and modified delphi techniques used in needs assessment
Authors: สุวลี ทวีบุตร
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suwimon.W@chula.ac.th
Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: เทคนิคเดลฟาย
การตัดสินใจ
ฉันทานุมัติ
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบผลการสร้างฉันทามติและระดับการให้ความร่วมมือ ของผู้เชี่ยวชาญระหว่างการใช้เทคนิคเดลฟายแบบเดิม และเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง ที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็น กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย นิสิตมหาบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 76 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาฉันทามติโดยใช้ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ ร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบที และการทดสอบความเป็นอิสระ ด้วยสถิติทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ด้านผลการสร้างฉันทามติ พบว่า 1.1 เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง มีความกว้างขวางและลึกซึ้งของข้อมูลเริ่มต้น มากกว่าเทคนิคเดลฟายแบบเดิม 1.2 เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง มีสัดส่วนจำนวนข้อที่ได้รับคะแนนฉันทามติสูง เท่ากันกับเทคนิคเดลฟายแบบเดิม ในรอบที่ 2 ส่วนในรอบที่ 3 เทคนิคเดลฟายแบบเดิม มีสัดส่วนจำนวนข้อที่ได้รับคะแนนฉันทามติสูง สูงกว่าเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 1.3 เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง มีสัดส่วนจำนวนข้อที่ได้รับฉันทามติ สัมพันธ์กับเทคนิคเดลฟายแบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ในรอบที่ 2 ส่วนในรอบที่ 3 ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปได้ว่า เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง มีสัดส่วนจำนวนข้อที่ได้รับฉันทามติ สัมพันธ์กับเทคนิคเดลฟายแบบเดิม 1.4 เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง มีสัดส่วนจำนวนข้อที่มีความคงที่ของระดับคะแนนฉันทามติ สูงกว่าเทคนิคเดลฟายแบบเดิม 1.5 เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุงและเทคนิคเดลฟายแบบเดิม ใช้จำนวนรอบไม่แตกต่างกัน 1.6 ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปได้ว่า เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง ใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลน้อยกว่าเทคนิคเดลฟายแบบเดิม 2. ด้านระดับการให้ความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า เทคนิคเดลฟายแบบเดิม มีสัดส่วนจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความร่วมมือในการตอบกลับแบบสอบถาม ในระยะเวลา 1-7 วัน สูงกว่าเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง ในรอบที่ 2 ส่วนในรอบที่ 3 พบว่า เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุงมีสัดส่วนจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความร่วมมือในการ ตอบกลับแบบสอบถามในระยะเวลา 1-7 วัน สูงกว่าเทคนิคเดลฟายแบบเดิม และเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุงมีสัดส่วนจำนวนผู้เชี่ยวชาญ ที่ไม่ให้ความร่วมมือในการตอบกลับแบบสอบถาม ต่ำกว่าเทคนิคเดลฟายแบบเดิม
Other Abstract: To compare the consensus building results and the degree of experts' cooperation between traditional and modified delphi techniques used in needs assessment. Seventy-six students in master's degree programs at Chulalongkorn University were randomly assigned into two groups according to types of delphi techniques. The questionnaires were sent to the subjects by mail. The obtained data were analyzed using arithmetic mean, mode, median, and interquartile range. data were analyzed through the use of t-test independent and chi-square test of independence. Results of the study could be summarized as followed : 1. The consensus building results : 1.1 The initial information received from modified delphi techniques was more extensive and more elaborate than traditional delphi techniques. 1.2 At round two, the proportions of items having higher degrees of consensus obtained by modified delphi techniques were equivalent as traditional delphi techniques, but those of traditional delphi techniques were higher than modefied delphi techniques at round three. 1.3 At round two, The proportions of items reaching consensus between traditional and modified delphi techniques were significant at 0.01 but not significant at round three. 1.4 The proportions of items having stability of degrees of consensus obtained by modified delphi techniques were higher than traditional delphi techniques. 1.5 The number of rounds for data collection between traditional and modified delphi techniques were not different. 1.6 The length of time for data collection between traditional and modified delphi techniques were not significant. 2. The degree of experts' cooperation : At round three, the proportions of experts who returned response in 1-7 days in modified delphi techniques were higher than traditional Delphi techniques, but those of traditional delphi techniques were higher than modified Delphi techniques at round three. The proportions of sample loss from modified delphi techniques were less than traditional delphi techniques.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11597
ISBN: 9746361902
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suvalee_Ta_front.pdf979.87 kBAdobe PDFView/Open
Suvalee_Ta_ch1.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Suvalee_Ta_ch2.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Suvalee_Ta_ch3.pdf963.17 kBAdobe PDFView/Open
Suvalee_Ta_ch4.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Suvalee_Ta_ch5.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Suvalee_Ta_back.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.