Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11608
Title: กระบวนการสื่อสารระหว่างครูข้างถนนมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กกับเด็กเร่ร่อน
Other Titles: Communication process between sidewalk-teachers of the Foundation for the Better Life of Children and street children
Authors: วราภา จิระรัตนวรรณ
Advisors: เมตตา วิวัฒนานุกูล
ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Metta.V@Chula.ac.th
Thiranan.A@Chula.ac.th
Subjects: เด็กจรจัด -- การศึกษา
เด็กจรจัด -- การสงเคราะห์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการสื่อสาร วิธีการและกลยุทธ์ที่ครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กใช้ในการเข้าถึงและสร้างความสัมพันธ์กับเด็กเร่ร่อน ที่มีผลให้เด็กเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการเร่ร่อน ให้เข้าพักอาศัยในบ้านสร้างสรรค์เด็กและบ้านอุปถัมภ์เด็ก และร่วมกิจกรรมของโครงการครูข้างถนนด้วยความสมัครใจ ตลอดจนปัจจัยอื่นๆที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสื่อสารระหว่างครูข้างถนนมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กกับเด็กเร่ร่อน โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการสื่อสารระหว่างบุคคล แนวคิดทฤษฎีการโน้มน้าวใจ และแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการและการสื่อสารกับเด็ก ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบใช้หลายวิธีการ (Multiple Methodology ) ประกอบด้วย การสำรวจด้วยการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม(Participant Observation) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก(In-Depth Interview) ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการสื่อสารมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมตัวของครูข้างถนนซึ่งเป็นสื่อบุคคลในฐานะผู้ส่งสาร โดยการทำความเข้าใจปรัชญาแนวคิดและวัตถุประสงค์ในการทำงาน และการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ในการเข้าถึงและสร้างความสัมพันธ์กับเด็กเร่ร่อน เช่น อาหาร เกมส์ต่างๆ เป็นต้น (2) ขั้นปฏิบัติการ ในการรุกเข้าพื้นที่ การเข้าถึงและสร้างความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์และประเมินเพื่อแบ่งกลุ่มเด็กเร่ร่อนซึ่งเป็นผู้รับสาร การเลือกใช้กลยุทธ์และวิธีการ โดยเริ่มจากการทักทาย การแนะนำตัว การสนทนาในเรื่องทั่วไป เรื่องเกี่ยวกับตัวเด็ก ปัญหา ความต้องการและให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาด และการป้องกันโรค ร่วมกับกิจกรรมการเล่นเกมส์หรือกิจกรรมการเรียนการสอน และการโน้มน้าวใจ (3) ขั้นติดตามและประเมินผลกลยุทธ์และวิธีการที่ใช้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม 2. กลยุทธ์และวิธีการที่ครูข้างถนนใช้ในการเข้าถึงและการสร้างความสัมพันธ์กับเด็กเร่ร่อนที่มีผลให้เด็กเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการเร่ร่อน เข้าพักอาศัยในบ้านสร้างสรรค์เด็กและบ้านอุปถัมภ์เด็ก และร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ กลยุทธ์รวม และกลยุทธ์ตัวแปร โดยแบ่งเป็น 6 กลยุทธ์ ได้แก่ (1)กลยุทธ์ด้านปรัชญาและแนวคิดในการทำงาน (2) กลยุทธ์ด้านบุคคล (3) กลยุทธ์ด้านภาษาและการสื่อสาร (4) กลยุทธ์ด้านการโน้มน้าวใจ (5) กลยุทธ์ด้านสถานการณ์ และ (6) กลยุทธ์ด้านการประสานงานกับบ้านสร้างสรรค์เด็ก ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้กลยุทธ์และวิธีการมี 5 ข้อ ได้แก่ (1) ตัวแปรด้านนโยบายและแผนงาน (2)ตัวแปรด้านครู (3) ตัวแปรด้านเด็ก (4) ตัวแปรด้านพื้นที่ สภาพและบุคคลแวดล้อม (5) ตัวแปรด้านสถานการณ์ 3.พบปัจจัย 3 ลักษณะที่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสื่อสาร ได้แก่ (1) ปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ ปัจจัยตัวครูและวิธีการของครู (2) ปัจจัยอุปสรรค ได้แก่ ปัจจัยด้านครูคือปัญหาการขาดโอกาสในการพัฒนาครู ปัจจัยด้านเด็ก คือ เด็กไม่ตระหนักรู้ถึงปัญหาการใช้ชีวิตเร่ร่อน ไม่คิดว่าการใช้ชีวิตเร่ร่อนของตนเป็นปัญหา ภูมิหลังและประสบการณ์ของเด็กที่ผ่านความรุนแรง ทำให้เด็กขาดความไว้วางใจผู้อื่น ด้านบริบทแวดล้อม ได้แก่ ปัญหายาเสพติด และลักษณะพื้นที่ซึ่งมีผลต่อความยากและง่ายในการเข้าถึงและสร้างสัมพันธ์กับเด็ก และ (3) ปัจจัยที่อาจเป็นไปได้ทั้งส่งเสริมและอุปสรรค ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสถานการณ์ ได้แก่ ปัจจัยด้านตัวเด็กอื่นๆ เช่น เพศ วัย ระยะเวลาการเร่ร่อน กลุ่มเพื่อน การใช้ยาเสพติด ภูมิหลังทางครอบครัวและการศึกษาของเด็ก ปัจจัยกลยุทธ์ เช่น วิธีการและกิจกรรมที่น่าสนใจสุนกสนานหรือไม่ตรงตามความสนใจของเด็ก ปัจจัยสถานการณ์ ได้แก่ สภาพพื้นที่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และบุคคลว่าเอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารและการทำกิจกรรม ปัจจัยด้านองค์กรและการประสานงานขององค์กร
Other Abstract: This research is aimed to study interpersonal communication process used by sidewalk-teachers of the foundation for the better life of children and street children in approaching and building relationship with street children, which affected their attitude and street-life behavior, persuaded them to live in the Open-home, and participated in the Foundation's activities voluntarily. It also studied factors that enhanced or obstructed the effectiveness and efficiency of the communication between teachers and children. Qualitative multiple methodology namely documentary research, participant observation, and in-depth interview ,was used by applying interpersonal communication, persuasion, children development, and communication with children theories. The results showed that 1. There were 3 steps in communication process between teachers and children <1> preparation stage, or preparation of teachers as "personal media" in the role of " sender", i.e. Understand working philosophy and purposes, prepare appropriate and useful materials such as food, games, etc to approach and build relationship with street children <2> operation stage, i.e. active access, audience analysis, choices of strategies and methods ,etc, starting from "greeting" step to " persuasion " step. <3> follow-up and evaluation stage, i.e. evaluate the strategies and methods used, both directly and indirectly. 2. There were 2 types of strategies and methods <1> general strategies <2> situational strategies which could be divided into 6 categories works 1. Philosophy and concept 2. Persons 3. Language and Communication 4. Persuasion 5.Situation 6.Coordination. 5 factors were found to influence the Strategy and method : policy and planning, teachers, children, environment and situation. 3. There were 3 factors which affected communication effectiveness and efficiency : <1> facilitating factors, i.e. teachers and their methods, etc <2> obstructing factors, i.e. no opportunity for teachers' development, children's unawareness of street-life problems, children's past violent background, drug problems, and difficult accessibility,<3> situational factors, either facility or obstructing, i.e. children variables,<sex, age, length of street-life, friends, drug use, family and educational background>, strategy variables, <kind of strategy>, environment variables< living condition, physical environment, surrounding people>, organizational and coordination variables.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วาทวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11608
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.400
ISBN: 9740306101
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.400
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warapa.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.