Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11643
Title: การเปรียบเทียบสมรรถนะของถังปฏิกรณ์ไร้อากาศน้ำเสียไหลขึ้นกับถังปฏิกรณ์ไร้อากาศน้ำเสียไหลขึ้นแบบแบ่งส่วนในการบำบัดน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีปริมาณสารอินทรีย์เปลี่ยนแปลงฉับพลัน
Other Titles: Comparison between performance of an upflow anaerobic sludge blanket and a staging upflow anaerobic sludge blanket in treating synthetic wastewater with an organic shockload
Authors: สิทธิโชค ศิริจินดาเลิศ
Advisors: ประเสริฐ ภวสันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prasert.P@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- ระบบยูเอเอสบี
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของถังปฏิกรณ์ไร้อากาศน้ำเสียไหลขึ้น (Upflow Anaerobic Sludge Blanket : UASB) เปรียบเทียบกับถังปฏิกรณ์ไร้อากาศน้ำเสียไหลขึ้นแบบแบ่งส่วน (Staging Upflow Anaerobic Sludge Blanket : SUASB) เมื่อทำการป้อนด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ที่มีค่าอัตราการป้อน (OLR) เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ช่วง OLR ที่ทำการศึกษามีค่า 2-25 กรัมต่อลิตรต่อวัน การเปลี่ยนแปลงค่า OLR ของสายป้อนทำได้สองวิธี คือ การลดเวลาที่น้ำเสียอยู่ในถังปฏิกรณ์ (HRT) และ การเพิ่มค่า COD ในสายป้อนให้สูงขึ้น การทดลองนี้จะดำเนินการระบบ UASB และ SUASB มีปริมาตรของแต่ละระบบรวม 8 ลิตร ไปพร้อม ๆ กัน โดยระบบ SUASB จะมีถังปฏิกรณ์ย่อยทั้งหมด 4 ถัง โดยมีขนาดเท่ากันที่ 2 ลิตร ผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะพบว่า ในช่วงแรกของการดำเนินการ (วันที่ 1-12) ประสิทธิภาพในการกำจัด COD ของ SUASB มีค่าอยู่ในช่วง 92-99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีค่าสูงและคงที่กว่า UASB ที่มีค่าอยู่ในช่วง 82-99 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากในระบบ UASB จะเกิดสภาวะการเจือจางขึ้น แต่หลังจากเกิดการปรับตัวของตะกอนที่มีความหนาแน่นสูงขึ้นทำให้การทดลองช่วงหลัง (วันที่ 13-25) ถังปฏิกรณ์ทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน แต่เมื่อพิจารณาค่าสัดส่วนมีเทนและปริมาตรของก๊าซที่ผลิตขึ้นจากถังปฏิกรณ์ พบว่าก๊าซที่ได้จาก SUASB จะมีปริมาตรและสัดส่วนมีเทนสูงกว่า UASB ซึ่งระบุได้ว่าสภาวะในถังปฏิกรณ์แบบ SUASB มีความเหมาะสมกับการดำรงชีวิตของแบคทีเรียประเภทสร้างมีเทนมากกว่า UASB นอกจากนี้การเพิ่ม OLR ด้วยวิธีต่างกันจะมีผลต่อประสิทธิภาพในการกำจัด COD ต่างกันด้วย เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการกำจัด COD คือขีดจำกัดในการถ่ายเทมวลของสารอินทรีย์ผ่านเข้าสู่เซลล์แบคทีเรีย การเพิ่มอัตรการไหล (ลด HRT) เป็นการเพิ่มอัตราการถ่ายเทมวลสาร ดังนั้นในการทดลองเพิ่ม OLR ให้มีค่า 10 กรัมต่อลิตรต่อวันโดยการเพิ่มอัตราการไหล (หรือลด HRT) ในวันที่ 6 และ 15-16 ของการทดลอง ประสิทธิภาพในการกำจัด COD ของถังปฏิกรณ์ทั้งสองแบบยังคงรักษาระดับให้มีค่าสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ได้ ในขณะที่การเพิ่ม OLR โดยการเพิ่ม COD ไม่ทำให้อัตราการถ่ายเทมวลเพิ่มขึ้น ดังนั้นประสิทธิภาพของถังปฏิกรณ์ทั้งสองแบบมีค่าลดลง โดยในวันที่ 21 ที่มีการเพิ่ม OLR เป็น 20 กรัมต่อลิตรต่อวันด้วยวิธีการเพิ่ม COD ประสิทธิภาพของถังปฏิกรณ์ทั้งสองแบบลดเหลือเพียงประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกจากนี้การเพิ่ม COD ยังมีผลกระทบที่รุนแรงต่อสัดส่วนมีเทนด้วย เนื่องจากเกิดการสะสมของกรดในระบบ และเมื่อเพิ่ม OLR จนถึง 25 กรัมต่อลิตรต่อวันโดยการลด HRT และเพิ่ม COD พร้อมๆ กัน ถังปฏิกรณ์ทั้งสองแบบไม่สามารถทำงานต่อได้
Other Abstract: The performances of upflow anaerobic sludge blanket (UASB) and staging upflow anaerobic sludge blanket (SUASB) in treating synthetic wastewater under organic shock load condition were investigated. The organic load was altered by reducing hydraulic retention time (HRT) of wastewater, and/or increasing the COD in inlet wastewater, such that the organic loading rate (OLR) varied between 2 to 25 g/(L d). For this experiment, 8 L UASB and SUASB with four 2 L UASB connected in series were operated in parallel. In the first period (day 1-12), COD removal efficiency of SUASB was in a range of 92-99% which was higher and more stable than that obtained from the UASB (which was approximately 82-99%). Wash-out of sludge was observed in the UASB in this period. In the second period (day 13-25), no more wash-out was observed as sludge was denser with higher density, and the efficiencies of both reactors were by and large in the same range. In addition, it was found that the proportion and volume of methane produced from SUASB were higher than those obtained from UASB. This, to some extent, indicated that the condition in SUASB was more suitable for methanogenic bacteria than UASB. Both reactors reacted differently to the different way of increasing OLR. It was expected that the efficiencies of both reactors were limited by the rate of mass transfer between liquid and bacterial cells. Hence, reducing HRT effectively increased the rate of mass transfer of organic substrate from bulk liquid to cell. It was shown that both reactors could still maintain their ability to treat the COD and the resulting removal efficiencies from both reactors were still high (more than 90%) when OLR was increased to 10 g/(L d) by reducing HRT. However, an increase in inlet wastewater COD had strong negative influence on both the removal efficiency and methane production. For instance, with increasing COD concentration in wastewater in day 21 (OLR 20 g/(L d)), COD removal efficiencies of both reactors decreased to approximately 75%. This was because the reactors were already limited by the rate of mass transfer which was not enhanced by increasing the COD concentration. In addition, when increasing OLR to 25 g/(L d) by reducing HRT together with increasing COD, both reactors failed to work and no recovery of bacteria was possible.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11643
ISBN: 9740304109
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sittichoke.pdf961.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.