Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11665
Title: แนวทางการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Guidelines for collection of Bangkok wastewater treatment fees
Authors: พลินี นิวัฒน์ภูมินทร์
Email: Sitanon.J@Chula.ac.th
Advisors: สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด
น้ำเสีย -- การบำบัด -- ค่าธรรมเนียม
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสีย ของกรุงเทพมหานคร โดยวิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ด้วยการนำประสบการณ์การเก็บค่าบำบัดน้ำเสียของเมืองพัทยา และเทศบาลตำบลป่าตอง และการเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะของกรุงเทพมหานคร มาประกอบการวิเคราะห์ ผลการศึกษาสรุปว่า กรุงเทพมหานครไม่สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจากประชาชน เนื่องจากกรุงเทพมหานครยังไม่สามารถออกข้อบัญญัติเฉพาะ เกี่ยวกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นผลจากความล่าช้าในการตีความข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับและซ้ำซ้อน และจากประสบการณ์ในการเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย ของเมืองพัทยาและเทศบาลป่าตอง และการเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะของกรุงเทพมหานคร พบว่า การเก็บค่าธรรมเนียมอย่างมีประสิทธิผล จะขึ้นอยู่กับการมีรูปแบบการจัดเก็บที่เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย อัตราค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม นั่นคือ สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในการเดินระบบและบำรุงรักษา และการมีหน่วยงานจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่มีประสิทธิภาพ นั่นคือ สามารถจัดเก็บได้ครอบคลุมครัวเรือนจำนวนมาก มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการต่ำ และสามารถจัดเก็บรายได้เพียงพออย่างน้อยกับค่าใช้จ่าย ในการเดินระบบและบำรุงรักษา กรุงเทพมหานครมีนโยบาลที่จะเก็บค่าธรรมเนียมในอัตรา 2 บาทต่อน้ำเสีย 1 ลบ.ม. จากประชาชนในพื้นที่ที่โรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยา กรุงรัตนโกสินทร์ และช่องนนทรีเดินระบบอยู่ โดยต้นทุนในการเดินระบบและบำรุงรักษาจากโรงบำบัดน้ำเสีย 3 แห่งเฉลี่ยเท่ากับ 1.97 บาทต่อลบ.ม. ซึ่งเป็นอัตราที่เหมาะสมเพราะสอดคล้องกับค่าใช้จ่าย ในการเดินระบบและบำรุงรักษา สำหรับหน่วยงานที่เหมาะสมในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม จากการเปรียบเทียบกรณีที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บเอง โดยแบ่งออกเป็นการจัดส่งพนักงานออกจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามบ้านเรือน และการให้ประชาชนเดินทางมาชำระค่าธรรมเนียมที่เขต และกรณีที่การประปานครหลวงเป็นผู้รับผิดชอบ พบว่าการประปานครหลวงเป็นผู้รับผิดชอบ โดยการจัดทำใบแจ้งหนี้ค่าน้ำเสียร่วมกับค่าน้ำประปา เป็นวิธีที่เหมาะสมมากที่สุด เพราะสามารถจัดเก็บได้ครอบคลุมผู้ใช้น้ำถึง 98.46% มากกว่ากรณีที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบ และสามารถจัดเก็บรายได้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการเดินระบบ และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ โดยมีรายได้สุทธิ 347,876.11 บาทต่อเดือนในขณะที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บรายได้ ต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการเดินระบบ อีกทั้งการประปานครหลวง มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่ำกว่ากรณีที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบ ดังนั้นกรุงเทพมหานครควรขอความร่วมมือจากการประปานครหลวงในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย อย่างไรก็ตามจะมีข้อจำกัดสำหรับครัวเรือนที่อยู่ในพื้นที่บำบัดน้ำเสียแต่ไม่ได้ใช้น้ำประปาซึ่งการประปานครหลวงจะไม่สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้ ดังนั้นกรุงเทพมหานครควรจัดเก็บกลุ่มนี้เอง
Other Abstract: The objective of this study is to find appropriate finance wastewater treatment systems of Bangkok Metropolitan, using qualitative analysis, and exploring the experience of Pattaya, Pathong and Bangkok garbage fee collection. The results of this study suggest that Bangkok Metropolitan Administration (BMA) has insufficient capability to collect fees for wastewater treatment. BMA is still unable to launch wastewater treatment fee municipal law because of the needs to deliberate numerous laws which do not allow BMA to charge such fees without reservation. From experience of Pattaya, Pathong and Bangkok garbage fee collection, reasonable fees and efficient collection systems seem to be key factors that determine a "successful" system. Reasonable fees which recover only operating and maintenance cost (O&M cost) will not put too much burden on payers, thus assuring cooperation in compliance. Efficient collection leads to the capability to collect fees that cover a large number of households, having low overhead costs and generating sufficient income to cover O&M costs. Most likely, BMA policy is to apply fee of 2 baht per cubic meter for any inhabitants settling in boundary of services from Sri Phya, Ratanakosin and Chongnonsri operating wastewater treatment plants. This charge rate is sufficient to cover the average O&M costs of all three systems that are about 1.97 baht per cubic meter. There are ways to collect these fees either by BMA itself or by the Metropolitan Waterworks Anthority (MWA). BMA can either collect fees from household directly or let households pay at district offices. The analysis in this study shows that MWA should collect the fees because of the good coverage of 98.46% of water users. This will generate monthly net income of about 347,876 baht per month after deducting O&M and administrative costs. Moreover, comparing to BMA, MWA has lower administrative costs. Thus, BMA should seek cooperation from MWA to collect wastewater treatment fees. However, there is a limitation. Households, which settle in wastewater treatment area, but not in MWA accounts would be free riders. The solution is, therefore, to have BMA dealing directly with these users.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11665
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.532
ISBN: 9740302742
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.532
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Palinee.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.