Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11683
Title: เกณฑ์สำหรับการเลือกวิธีการฝึกอบรมสำหรับธนาคารพาณิชย์ของไทย ตามความคิดเห็นของวิทยากรภายใน
Other Titles: Criteria for training methods selection for commercial banks of Thailand as perceived by in-house trainers
Authors: สุจิตรา ยงสมบูรณ์
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: การฝึกอบรม
ธนาคารพาณิชย์ -- ไทย
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของวิทยากรภายใน และผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเลือกวิธีการฝึกอบรมที่เหมาะสม และศึกษาเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกวิธีการฝึกอบรมของธนาคารพาณิชย์ของไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ วิทยากรภายในจำนวน 181 คน และผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 247 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 428 คน วิธีการฝึกอบรมที่ศึกษาได้แก่ การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ การฝึกอบรมโดยลงมือปฏิบัติงาน การสอนงาน การระดมสมอง การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การหมุนเวียนงาน การสัมมนา การแสดงบทบาทสมมติ กลุ่มสัมพันธ์ การฝึกอบรมเพื่อรู้เขารู้เรา การดูงานนอกสถานที่ กรณีศึกษาและเกม หลักสูตรการฝึกอบรมของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ศึกษามี 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปฐมนิเทศพนักงานใหม่ หลักสูตรสมุหบัญชีสาขา หลักสูตรเจ้าหน้าที่สินเชื่อระดับต้นและหลักสูตรการบริการเพื่อความประทับใจ ผลการวิจัยพบว่า 1. วิธีการฝึกอบรมที่วิทยากรภายในและผู้เข้ารับการฝึกอบรม เห็นว่าเหมาะสมสามอันดับแรกสำหรับหลักสูตรปฐมนิเทศพนักงานใหม่ ได้แก่ การบรรยาย กลุ่มสัมพันธ์ กรณีศึกษา สำหรับหลักสูตรสมุหบัญชีสาขาได้แก่ การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ กรณีศึกษา สำหรับหลักสูตรเจ้าหน้าที่สินเชื่อระดับต้นได้แก่ การบรรยาย กรณีศึกษา การฝึกปฏิบัติ และสำหรับหลักสูตรการบริการเพื่อความประทับใจได้แก่ การบรรยาย กรณีศึกษา การอภิปรายกลุ่ม 2. วิทยากรภายใน มีความเห็นว่า การบรรยายเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ 3 หลักสูตร ยกเว้นหลักสูตรการบริการเพื่อความประทับใจที่เห็นว่า การอภิปรายกลุ่มเป็นวิธีการที่เหมาะสมมากที่สุด และผู้เข้ารับการฝึกอบรมเห็นว่า การบรรยายเป็นวิธีการฝึกอบรมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทุกหลักสูตร 3. วิทยากรภายในและผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของวิธีการฝึกอบรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 4 หลักสูตร ในหลักสูตรปฐมนิเทศพนักงานใหม่มีความเห็นแตกต่างกัน 12 วิธีการ หลักสูตรสมุหบัญชีสาขามีความเห็นแตกต่างกัน 13 วิธีการ หลักสูตรเจ้าหน้าที่สินเชื่อระดับต้นมีความเห็นแตกต่างกัน 14 วิธีการ และหลักสูตรการบริการเพื่อความประทับใจมีความเห็นแตกต่างกัน 11 วิธีการ 4. เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาเลือกวิธีการฝึกอบรมของวิทยากรภายใน สำหรับหลักสูตรปฐมนิเทศพนักงานใหม่ เกณฑ์หลักคือ วัตถุประสงค์ของรายวิชา เกณฑ์รองคือ เนื้อหาวิชาด้านความรู้ สำหรับหลักสูตรสมุหบัญชีสาขา เกณฑ์หลักคือ เนื้อหาวิชาด้านความรู้ เกณฑ์รองคือ จำนวนของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 15-50 คน สำหรับหลักสูตรเจ้าหน้าที่สินเชื่อระดับต้น เกณฑ์หลักและเกณฑ์รอง คือ เนื้อหาวิชาด้านความรู้ และหลักสูตรการบริการเพื่อความประทับใจ เกณฑ์หลัก คือ เนื้อหาวิชาด้านทัศนคติ เกณฑ์รอง คือ ห้องฝึกอบรม
Other Abstract: To study and compare the opinions of in-house trainers and trainees concerning appropriate training methods and to study criteria for selecting training methods for commercial banks of Thailand. The 428 samples used in this study comprised of 181 trainers and 247 trainees. The training methods included in the study were : lecture, group discussion, brainstorming, demonstration, field trip, role playing, case study, practice, game, seminar, coaching, job rotation, on the job training, group process and sensitivity training and four training curriculums of commercial banks of Thailand included in the study were : Orientation Course, Branch Accountant Course, First Level Credit Officer Course and Customer Service Satisfaction Course. The results revealed that: 1. The first three highly appropriate training methods for Orientation Course were lecture, group process and case study; for Branch Accountant Course were lecture, practice and case study; for First Level Credit Officer Course were lecture, case study and practice; and for Customer Service Satisfaction Course were lecture, case study and group discussion. 2. The in-house trainers rated lecture as the most appropriate training methods for three curriculums except group discussion was rated as the most appropriate methods for Customer Service Satisfaction Course. The trainees rated lecture as the most appropriate training methods for every curriculum. 3. There were statistically significant differences at the .05 level between opinions of the trainers and trainees concerning the appropriateness of training methods in four training curriculums : 12 methods in Orientation Course, 13 methods in Branch Accountant Course, 14 methods in First Level Credit Officer Course and 11 methods in Customer Service Satisfaction Course. 4. The in-house trainers mostly used the following criteria in selecting training methods : for Orientation Course : first criteria was course objective and second criteria was cognitive content; for Branch Accountant Course : first criteria was cognitive content and second criteria was amount of 15-50 trainees; for First Level Credit Officer Course : first and second criteria was cognitive content; and for Customer Service Satisfaction Course : first criteria was affective content and second criteria was training room.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11683
ISBN: 9746372203
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujitra_Yo_front.pdf743.25 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Yo_ch1.pdf818.87 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Yo_ch2.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Yo_ch3.pdf861.67 kBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Yo_ch4.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Yo_ch5.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Sujitra_Yo_back.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.