Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11778
Title: การพัฒนารูปแบบศูนย์ผลิตบทเรียนสื่อประสมของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: A development of the model for multimedia courseware production house of the Faculty of Education, Chulalongkorn University
Authors: พวงแก้ว กล่ำกลาง
Advisors: สุกรี รอดโพธิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sugree.R@chula.ac.th
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์ผลิตบทเรียนสื่อประสม
แบบเรียนสำเร็จรูป
ระบบมัลติมีเดีย
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้บริการศูนย์ผลิตบทเรียนสื่อประสมของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในด้านบริการ และศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเสนอรูปแบบศูนย์ผลิตบทเรียนสื่อประสมของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่อาจารย์ในจุฬาฯ จำนวน 40 ท่าน หัวหน้าภาควิชาในคณะครุศาสตร์ จำนวน 11 ท่าน ผู้จัดการบริษัทผลิตบทเรียนสื่อประสมจำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญทางการจัดการศูนย์ผลิตบทเรียนสื่อประสม และ/หรือผู้บริหารหน่วยงานวิสาหกิจจุฬาฯจำนวน 20 ท่าน ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีการสำรวจและเทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้มีประสบการณ์ในการผลิตบทเรียนสื่อประสมมีความต้องการที่จะใช้บริการศูนย์ผลิตบทเรียนสื่อประสมของคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ในระดับมากที่สุดคือ การผลิตบทเรียนสื่อประสมแล้วบันทึกลงแผ่นซีดีรอม การให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง โดยเรื่องที่ต้องการปรึกษาในระดับมากคือการสร้างกราฟฟิกในคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ที่ใช้ในการผลิตบทเรียนสื่อประสม วิธีการเผยแพร่โปรแกรมลงในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และต้องการชมตัวอย่างผลงานการผลิตบทเรียนสื่อประสมของศูนย์ฯ เพื่อพิจารณาก่อนตกลงใช้บริการ สำหรับวันและเวลาที่ต้องการให้ศูนย์เปิดบริการในระดับมากคือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.00 ถึง 19.00 น. 2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นในระดับมากและสอดคล้องกันในประเด็นต่อไปนี้ ศูนย์ฯ ควรมีนโยบายการดำเนินงานเพื่อการผลิต ฝึกอบรม วิจัย และพัฒนาบทเรียนสื่อประสม บริการให้แก่อาจารย์และนิสิตในจุฬาฯ ตลอดจนบุคคลภายนอกที่มีความสนใจ ศูนย์ฯ ควรเป็นหน่วยงานอิสระในกำกับของคณะครุศาสตร์ โดยในระยะ 1-2 ปี แรกควรได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัย จนเมื่อศูนย์ฯขยายงานได้มั่นคงแล้วงบประมาณจึงมาจากการให้บริการของศูนย์ฯ เอง โครงสร้างการบังคับบัญชาแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายธุรการ ฝ่ายวิชาการ และฝ่ายผลิต บุคลากรภายในศูนย์ควรประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ นักออกแบบบทเรียน นักออกแบบงานกราฟฟิก นักเขียนโปรแกรม ช่างเทคนิค พนักงานธุรการ พนักงานการเงินและวิทยากรประจำศูนย์ฯ สำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นภายในศูนย์ฯ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียประสิทธิภาพสูงเชื่อมต่อในระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) พร้อมเครื่องพิมพ์ ซอฟท์แวร์ที่ถูกกฎหมาย เครื่องกวาดภาพ เครื่องเขียนบันทึกลงแผ่นซีดีรอม โมเด็ม กล้องดิจิตอลวิดีโอ เครื่องสำรองไฟฟ้า และเครื่องใช้สำนักงาน
Other Abstract: The two main purposes of this research were to study needs in services from people who experienced in multimedia courseware production and to study the experts opinions to develop the model for multimedia courseware production house of the Faculty of Education, Chulalongkorn University. The samples were forty teachers in Chulalongkorn University, eleven representatives from the Faculty of Education, three multimedia courseware production house administration. Survey and Delphi technique were used in this research. The results were : 1. People who experienced in multimedia courseware production indicated the highest needs from the production house are to produce multimedia courseware and write on CD-ROM, give advices by experts in each subject especially in graphics production, software, programe distribution into the computer network. Besides, they need to see demonstration of the courseware which produced by the production house before they make decision to have service. 2. The experts have the same opinions that the production house should have policies to take care of production, training, research and develop the multimedia courseware to serve teachers, students and everyone who interested. The production house should be an independent unit receiving budget from university during the first 1-2 years until the production house is stable then be able to use its own income. The chain of command is separate to be executive administration section, academic section and production section. The production house should contain : director, vice-director, instructional designer, graphics designer, programer, technician, executive administration officer, finance officer and resource person. As for the necessary hardware and material are : high quality multimedia computer and printer connected to local area network, legal software, scanner, CD writer, modem, digital video, UPS and office utensils.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11778
ISBN: 9743323678
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Puangkaew_Kl_front.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Puangkaew_Kl_ch1.pdf818.01 kBAdobe PDFView/Open
Puangkaew_Kl_ch2.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Puangkaew_Kl_ch3.pdf794.8 kBAdobe PDFView/Open
Puangkaew_Kl_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Puangkaew_Kl_ch5.pdf866.6 kBAdobe PDFView/Open
Puangkaew_Kl_back.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.