Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11868
Title: | ทิศทางของการดูแลสุภาพในรายการสุขภาพทางโทรทัศน์ |
Other Titles: | Trend of health care in television health programmes |
Authors: | นิภาพรรณ สุขศิริ |
Advisors: | กาญจนา แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Kanjana.Ka@chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อสาร การแพทย์ -- ไทย สื่อมวลชน สาธาณสุข บริการทางการแพทย์ รายการสุขภาพทางโทรทัศน์ |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาว่าโทรทัศน์ได้ทำหน้าที่เป็นกลไกหนึ่ง ในการสร้างสรรค์ความยุติธรรมด้านสุขภาพอนามัย โดยถือหลักต้องให้มากสำหรับผู้มีน้อย หรือทำได้เพียงการซ้ำเติมความอยุติธรรมด้านสุขภาพอนามัยให้เพิ่มมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบรายการสุขภาพทางโทรทัศน์ของรัฐและเอกชนในมิติต่างๆ 2. ศึกษาลักษณะทางชนชั้นของเนื้อหาที่ปรากฏในรายการสุขภาพทางโทรทัศน์ 3. เปรียบเทียบการนำเสนอแนวคิดของการแพทย์แบบแยกส่วนกับการแพทย์องค์รวมที่ปรากฏในรายการสุขภาพทางโทรทัศน์ 4. ศึกษาการประเมินรายการสุขภาพทางโทรทัศน์ จากทัศนะของผู้รับสารกลุ่มต่างๆ (ชนชั้นล่าง, ชนชั้นกลาง และชนชั้นนำ) ผลการวิจัยพบว่า รายการสุขภาพทางโทรทัศน์มีเนื้อหารายการ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบรายการความรู้ และรูปแบบโฆษณา โดยแบ่งรายการเป็น 6 ประเภท คือ อาหาร, แม่และเด็ก, เอดส์, สุขภาพตา, สุขภาพฟัน และภาวะการเจ็บป่วย รายการสุขภาพทางโทรทัศน์ของรัฐเป็นรายการความรู้มากกว่าโฆษณา รายการสุขภาพทางโทรทัศน์ของเอกชนเป็นโฆษณามากกว่ารายการความรู้ รายการสุขภาพทางโทรทัศน์ทั้งของรัฐและเอกชน พบการไม่มีลักษณะชนชั้นมากกว่าการมีลักษณะชนชั้น ในรายการที่มีลักษณะทางชนชั้นพบลักษณะชนชั้นนำมากกว่าชนชั้นล่าง แต่การนำเสนอแนวคิดทางการแพทย์มีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือ รัฐผลิตรายการที่นำเสนอการแพทย์องค์รวมมากกว่าแยกส่วน แต่เอกชนนำเสนอแยกส่วนมากกว่าองค์รวมเล็กน้อย และรายการสุขภาพทางโทรทัศน์โดยส่วนใหญ่ ไม่มีลักษณะทางชนชั้นมากกว่าการมีลักษณะทางชนชั้น ในรายการที่มีลักษณะทางชนชั้นพบลักษณะชนชั้นนำมากกว่าชนชั้นล่าง แนวคิดทางการแพทย์องค์รวมถูกนำเสนอมากกว่าการแพทย์แยกส่วน โดยรายการรูแบบรายการความรู้นำเสนอการแพทย์องค์รวม มากกว่าการแพทย์แยกส่วน รูปแบบโฆษณานำเสนอการแพทย์แยกส่วนมากกว่าการแพย์องค์รวม การประเมินรายการสุขภาพทางโทรทัศน์จากทัศนะของผู้รับสารกลุ่มตต่างๆ พบว่า ผู้รับสารทุกกลุ่มมีการเปิดรับรายการความรู้น้อยมาก แต่เปิดรับโฆษณามากกว่า และพบว่ารายการสุขภาพไม่ใช่รายการที่ผู้รับสารติดตามเป็นประจำ สำหรับการรับรู้รายการสุขภาพทางโทรทัศน์พบว่า ผู้รับสารทุกกลุ่มมีการรับรู้ว่า รายการสุขภาพทางโทรทัศน์ไม่มีลักษณะทางชนชั้น และสามารถนำไปปฏิบัติได้เหมือนกัน ในเรื่องความเชื่อถือในรายการกลุ่มชนชั้นล่าง มีความเชื่อถือในรายการทั้งหมด แต่ชนชั้นกลางและชนชั้นนำมีความไม่แน่ใจบ้างเล็กน้อย สำหรับการนำเสนอแนวคิดทางการแพทย์พบว่า กลุ่มชนชั้นล่างและชนชั้นนำมีทัศนะว่าในรายการสุขภาพมีการนำเสนอแนวคิดการแพทย์แยกส่วนมากกว่าการแพทย์องค์รวม ขณะที่กลุ่มชนชั้นกลางมีทัศนะว่า มีแนวติดการแพทย์องค์รวมปรากฎในรายการสุขภาพทางโทรทัศน์มากกว่าการแพทย์แยกส่วน |
Other Abstract: | Focuses on representation of health programmes on television to determine whether it serves as mechanism to promote fair distribution of health care on the other hand, aggravates discrimination in the service. Objective : 1. To compare health programmes on television supported by the government and the private sectors in various dimension. 2. To study any implication of division of social classes through contents of health programmes on television. 3. To compare the holistic health concept with the non-holistic one in the presentation of health programmes on television. 4. To study views of different group of audience (lower, middle, and upper classes) toward health programmes on television. The study examines health programmes on television in two characteristics-programmes for educating and for commercialism. The contents of health programmes are devided into 6 categories : food, Aid, mother and child, visual health, dental health, and ailments. Health programmes supported by government agencies focus on educating rather than commercialism while the private sector's emphasizes the opposite. Most of the television health programmes of both of government and private organizations do not particularly reprecent social classes. The fewer ones with class representation mostly cater for the upper calss. The holistic health concept is presented in the programmes more than non-holistic health concept. The educating programmes present the holistic health concept more than the commercializing programmes. Health programmes supported by government organizations the holistic health concept mother than private organizations. According to health programme evaluation, audience in different group prefer the commercializing programmes to the educating programmes. Moreover, health programmes are not regularly watched. Although all groups of audience know that television health programmes do not signify social class discrimination and their contents while the middle and upper classes think the information may not be 100 percent accurate. In addition, the evaluation also find that audience in the lower and upper classes see the health programmes as presenting the non-holistic concept more than the holistic. While the middle class finds it the opposite way. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11868 |
ISBN: | 9746373501 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nipapan_So_front.pdf | 775.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipapan_So_ch1.pdf | 794.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipapan_So_ch2.pdf | 919.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipapan_So_ch3.pdf | 803.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipapan_So_ch4.pdf | 925.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipapan_So_ch5.pdf | 924.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipapan_So_ch6.pdf | 872.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipapan_So_back.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.