Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11932
Title: ฤทธิ์ในการต้านเชื้อกลากของน้ำมันหอมระเหยบางชนิด
Other Titles: Antidermatophytic activity of some essential oils
Authors: เพ็ญ นิติกรไชยรัตน์
Advisors: โสภณ เริงสำราญ
ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sophon.R@Chula.ac.th
Sirirat.R@Chula.ac.th
Subjects: กลาก
สารต้านเชื้อรา
น้ำมันหอมระเหย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคกลาก โดยนำน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร มาทดสอบกับเชื้อราสาเหตุโรคกลาก 3 สายพันธุ์ คือ Trichophyton mentagrophytes, T. rubrum และ Epidermophyton floccosum ด้วยวิธี Disk diffusion พบว่าน้ำมันพริกไทย (Pepper oil) และน้ำมันโหระพา (Basil oil) สามารถต้านการเจริญของเชื้อราทั้ง 3 สายพันธุ์ ได้ดี ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา (ค่า MIC) สำหรับเชื้อรา T. mentagrophytes, T. rubrum และ E. floccosum ของน้ำมันพริกไทยมีค่าเท่ากับ 54.53, 109.05 และ 69.80 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ค่า MIC ของน้ำมันโหระพาเท่ากับ 34.50, 72.36 และ 96.66 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ การวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยโดยใช้เทคนิค แกสโครมาโตกราฟี/แมสสเปกโตรเมตรี พบว่า น้ำมันพริกไทยมีส่วนประกอบหลักคือ Limonene (73.95%) และน้ำมันโหระพามีส่วนประกอบหลักคือ Anethole (94.92%) การทดสอบฤทธิ์ต้านการเจริญของส่วนประกอบหลัก พบว่า ค่าเฉลี่ยขอบเขตยับยั้งของเชื้อรา T. mentagrophytes, T. rubrum และ E. floccosum ของส่วนประกอบหลัก Limonene ในน้ำมันพริกไทย มีค่าเท่ากับ 32.8, 21.0 และ 41.2 มิลลิเมตร ตามลำดับ และส่วนประกอบหลัก Anethole ในน้ำมันโหระพา มีค่าเฉลี่ยขอบเขตยับยั้งเท่ากับ 22.7, 20.0 และ 14.3 มิลลิเมตร ตามลำดับ
Other Abstract: Biological activity of natural products on dermatophytes has been studies by testing some essential oil from medicinal plants against the growth of three dermatophytic strains, Trichophyton mentagrophytes, T. rubrum and Epidermophyton floccosum. From the results of disk diffusion technique indicated that pepper oil and basil oil could inhibit their growth quite well with minimum inhibitory concentration (MIC) of pepper oil 54.53, 109.05 and 69.80 mug/ml and of basil oil 34.50, 72.36 and 96.66 mug/ml on T. mentagrophytes, T. rubrum and E. floccosum, respectively. The GC/MS analysis of essential oils indicated that the main component of pepper oil was Limonene (73.95%) and Anethole (94.92%) was found to be the main component in basil oil. Interestingly, the main component obtained from pepper oil, Limonene, and of basil oil, Anethole, could perform the average size of inhibitory zone of 32.8, 21.0 and 41.2 mm., and 22.7, 20.0 and 14.3 mm. on the growth of T. mentagrophytes, T. mentagrophytes, T. rubrum and E. floccosum, consecutively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11932
ISBN: 9746357832
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phen_Ni_front.pdf786.69 kBAdobe PDFView/Open
Phen_Ni_ch1.pdf998.97 kBAdobe PDFView/Open
Phen_Ni_ch2.pdf743.84 kBAdobe PDFView/Open
Phen_Ni_ch3.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Phen_Ni_ch4.pdf727.11 kBAdobe PDFView/Open
Phen_Ni_ch5.pdf688.74 kBAdobe PDFView/Open
Phen_Ni_back.pdf880.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.