Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11977
Title: | การศึกษาความสามารถและกลวิธีในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 |
Other Titles: | A study of abilities and strategies in mathematics problem solving of lower secondary school students in schools under the Department of General Education, educational region seven |
Authors: | เจษฎ์สุดา จันทร์เอี่ยม |
Advisors: | พร้อมพรรณ อุดมสิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Prompan.U@chula.ac.th |
Subjects: | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) การแก้โจทย์สมการ ความสามารถทางคณิตศาสตร์ |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษา 1. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 2. กลวิธีในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7 3. กลวิธีในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำ ในแต่ละระดับชั้น ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือนักเรียนที่ทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ จำนวน 472 คน และนักเรียนที่ได้รับการสัมภาษณ์ ประกอบการสังเกต การใช้กลวิธีในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ จำนวน 36 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแจกแจงความถี่ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2 และ 3 มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ต่ำกว่าเกณฑ์ ขั้นต่ำร้อยละ 50 ทั้งสามระดับชั้น 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้กลวิธีทำปัญหาให้เป็นปัญหาย่อยมากที่สุด รองลงมาคือกลวิธีเขียนภาพ แผนภูมิ และสร้างแบบจำลอง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้กลวิธีเขียนภาพ แผนภูมิ และสร้างแบบจำลองมากที่สุด รองลงมาคือกลวิธีทำปัญหาให้เป็นปัญหาย่อย 3. นักเรียนที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใช้กลวิธีทำปัญหาให้เป็นปัญหาย่อยมากที่สุด นักเรียนที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์สูง ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ใช้กลวิธีทำปัญหาให้เป็นปัญหาย่อยมากที่สุด ส่วนนักเรียนที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ปานกลางและต่ำ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ใช้กลวิธีเขียนภาพ แผนภูมิ และสร้างแบบจำลองมากที่สุด |
Other Abstract: | Studies 1. the abilities in mathematics problem solving of lower secondary school students in schools under the Department of General Education educational region seven. 2. to study the strategies in mathematics problem solving of lower secondary school students in schools under the Department of General Education, educational region seven 3. the strategies in mathematics problem solving of lower secondary school students classified according to mathematics learning abilities: high, medium and low in each levels. The sample were lower secondary school students divided into two groups: one group was 472 students tested by mathematics problem solving tests. The other group was 36 students interviewed with the interview form complemented with observation. The data were analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation and frequency distribution. 1. The abilities in mathematics problem solving of mathayom suksa one, two and three students were lower than minimum set criteria of 50 percent. 2. The mathayom suksa one and two students used making problem into parts strategy the most, the next was drawing diagram and model strategy, respectively. The mathayom suksa three students used drawing diagram and model strategy the most, and the next was making problem into parts strategy, respectively. 3. The high, medium and low mathematics learning abilities in mathayom suksa one students used making problem into parts strategy the most. The high mathematics learning abilities in mathayom suksa two and three students used making problem into parts strategy the most. But the medium and low mathematics learning abilities in mathayom suksa two and three students used drawing diagram and model strategy the most. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาคณิตศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11977 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.487 |
ISBN: | 9743341575 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1999.487 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jedsuda_Ja_front.pdf | 806.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jedsuda_Ja_ch1.pdf | 832.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jedsuda_Ja_ch2.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jedsuda_Ja_ch3.pdf | 932.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jedsuda_Ja_ch4.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jedsuda_Ja_ch5.pdf | 833.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jedsuda_Ja_back.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.