Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12004
Title: | ผลกระทบต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจ ของการคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย |
Other Titles: | Economic welfare cost of protection for automobile industry in Thailand |
Authors: | ไพชยนต์ เมทนีดลภูมิ |
Advisors: | อิศรา ศานติศาสน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Isra.S@chula.ac.th |
Subjects: | อุตสาหกรรมรถยนต์ -- ไทย รถยนต์ -- อุปทานและอุปสงค์ ภาษีรถยนต์ ภาษีศุลกากร |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาถึงผลกระทบของการคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์ ต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจ ทั้งในด้านส่วนเกินผู้บริโภคและผู้ผลิตรถยนต์ รายได้ที่รัฐบาลได้รับจากการเก็บภาษีรถยนต์นำเข้า รวมทั้งต้นทุนที่เกิดจากการคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์ ช่วงเวลาที่ศึกษา คือ ปี พ.ศ. 2538-2541 โดยได้แบ่งตลาดรถยนต์ออกเป็น 2 ตลาด คือ ตลาดรถยนต์นำเข้าและตลาดรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศ และแบ่งรถยนต์ออกเป็น 2 ขนาดตามความจุของกระบอกสูบ คือ รถยนต์ขนาดเล็ก (ไม่เกิน 2400 ซีซี) และรถยนต์ขนาดใหญ่ (มากกว่า 2400 ซีซี) และเนื่องจากข้อมูลที่จะต้องใช้ในการศึกษาอุปทานของรถยนต์นั้น ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับต้นทุนการผลิต ซึ่งไม่ได้รับการเปิดเผยจากผู้ผลิต ดังนั้น จึงไม่ได้ทำการศึกษาทางด้านอุปทานของรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศ แต่ได้สมมติให้อุปทานรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศมี 2 ลักษณะ คือ อุปทานรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศมีความยืดหยุ่นต่อราคา เท่ากับศูนย์และอุปทานรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศ มีความยืดหยุ่นต่อราคาเท่ากับอนันต์ วิธีการศึกษา ได้สร้างสมการอุปสงค์ของรถยนต์นำเข้าและรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศ โดยกำหนดให้ตัวแปรอธิบายในทั้ง 2 สมการ คือ ราคารถยนต์นำเข้า ราคารถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศ รายได้ประชาชาติดัชนีราคาผู้บริโภค และสถานการณ์การเกิดวิกฤตการณ์ของสถาบันการเงินซึ่งเป็นตัวแปรหุ่น ส่วนการประมาณค่าได้ใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุด และนำผลที่ได้ไปคำนวณผลกระทบของการลดอัตราภาษีนำเข้ารถยนต์ ต่ออุปสงค์ของรถยนต์นำเข้า อุปสงค์รถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศ ราคาของรถยนต์นำเข้าและราคารถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศ โดยแบ่งระดับของการลดอัตราภาษีนำเข้าเป็น 3 ระดับ คือ 10 เปอร์เซ็นต์ 50 เปอร์เซ็นต์ และ 100 เปอร์เซ็นต์ สุดท้ายนำผลกระทบต่างๆ ของการลดอัตราภาษีนำเข้าที่ได้ไปคำนวณผลกระทบ ที่เกิดขึ้นต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจ ผลการศึกษา พบว่า หากลดอัตราภาษีลง 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการยกเลิกการคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์ลงทั้งหมดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2541 สำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก ในตลาดรถยนต์นำเข้า จะมีส่วนเกินของผู้บริโภครถยนต์นำเข้าเพิ่มขึ้นโดยโอนมาจากภาษีของรัฐบาล ประมาณ 31,236 ล้านบาท และส่วนเกินของผู้บริโภครถยนต์นำเข้า ที่ได้รับจากประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1,496 ล้านบาท ส่วนในตลาดรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศ จะมีการโอนส่วนเกินของผู้ผลิตไปเป็นส่วนเกินของผู้บริโภครถยนต์ ที่ผลิตภายในประเทศไม่เกิน 20,654 ล้านบาท สำหรับรถยนต์ขนาดใหญ่ ในตลาดรถยนต์นำเข้า ส่วนเกินของผู้บริโภครถยนต์นำเข้าจะเพิ่มขึ้นโดยโอนมาจากภาษีของรัฐบาล ประมาณ 10,022 ล้านบาท และส่วนเกินของผู้บริโภครถยนต์นำเข้าที่ได้รับจากประสิทธิภาพการผลิตจะเพิ่มขึ้นประมาณ 188 ล้านบาท ส่วนตลาดรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศ จะมีการโอนส่วนเกินของผู้ผลิตไปเป็น ส่วนเกินของผู้บริโภครถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศไม่เกิน 1,033 ล้านบาท ผลการศึกษาที่ได้ เป็นผลกระทบของการคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์ต่อสวัสดิการเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งปัจจุบัน ยังคงมีการคุ้มครองอุตสาหกรรมรถยนต์โดยใช้มาตรการภาษีนำเข้าอยู่ ดังนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะนำผลการศึกษานี้ ไปใข้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงผลกระทบทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการกำหนดนโยบายของอุตสาหกรรมรถยนต์ต่อไป |
Other Abstract: | Aimed at assessing the impact of automobile industry protection in Thailand on the economic welfare cost with respect to consumer and producer surplus, government revenue from imported car tariffs and cost of protecton. The study focuses on the period from 1995 to 1998. The car market is divided into two kinds: imported and domestic. In addition, cars are classified into two types based on their capacity : small cars (with less than 2400 cc. capacity) and large cars (with more than 2400 cc. capacity). Since data on domestic car costs is not revealed by manufacturers, the elasticity of domestic car supply with respect to the price is assumed to be perfectly inelastic and perfectly elastic. Demand equations of imported and domestic cars are employed in this study. In both equations, the independent variables consist of imported car prices, domestic car prices, gross domestic product (GDP) and consumer price index (CPI), while the dummy variable is the financial institution crisis. The least square method is used in estimations. Its result is considered in terms of the effect of imported tariff reduction (10%, 50% and 100%) on imported car demand, on domestic car demand as well as on prices of both types of cars. The influence of tariff reduction on economic welfare is also analyzed. According to the findings, if there had been a 100% tariff reduction from 1995 to 1998, for small imported cars, the consumer surplus would have increased about 31,236 million baht owing to the money transferred from the government revenue. In addition, consumer surplus would have risen around 1,496 million baht, caused by the recovery of the dead weight loss. As for small domestic cars, there would be the money transferred from the producer surplus to the consumer surplus not more than 20,654 million baht. For large imported cars the consumer surplus would have been up about 10,022 million baht by means of money transferring from the government revenue. Additionally, the consumer surplus would have added up around 188 million baht as result of the recovery of the dead weight loss. Regarding large domestic cars, there would be the money transferred from the producer surplus to the consumer surplus not more than 1,033 million baht. The findings show the impact of automobile industry protection on the economic welfare occurred in the past. At present, there is still protection for the automobile industry using the measure of imported car tariff. Thus, the findings of this study can be used as a benchmark for the analysis of the impact both at present and the future in order that it could be used most effectively as a guideline for automobile industry policy planning. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12004 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.390 |
ISBN: | 9743337792 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1999.390 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paichayon_Me_front.pdf | 772.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paichayon_Me_ch1.pdf | 757.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paichayon_Me_ch2.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paichayon_Me_ch3.pdf | 830.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paichayon_Me_ch4.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paichayon_Me_ch5.pdf | 762.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paichayon_Me_back.pdf | 764.76 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.