Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12142
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างวัลยชาติและสภาพแวดล้อม บริเวณป่าผลัดใบสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Relationship of climbers and their environment in deciduous forest at Queen Sirikit Botanic Garden, Chiang Mai province
Authors: วัชนะ บุญชัย
Advisors: พิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์
วีระชัย ณ นคร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pipat.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: นิเวศวิทยาป่าผลัดใบ -- ไทย -- เชียงใหม่
ป่าผลัดใบ -- ไทย -- เชียงใหม่
ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัลยชาติและสภาพแวดล้อมบริเวณป่าผลัดใบ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยการวางแปลงตัวอย่างขนาด 50x50 ตารางเมตร (0.25 เฮกเตอร์) ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลต่างกัน 3 ระดับ คือ ระดับ 700 เมตร ระดับ 800 เมตร และระดับ 900 เมตร เพื่อศึกษาถึงชนิดของวัลยชาติ สภาพแวดล้อมบางประการ และความสัมพันธ์ระหว่างวัลยชาติและสภาพแวดล้อมบริเวณป่าผลัดใบแห่งนี้ ผลการศึกษาพบว่า วัลยชาติบริเวณป่าผลัดใบมีทั้งหมด 48 ชนิด ใน 31 สกุล 20 วงศ์ วงศ์ Dioscoreaceae เป็นวงศ์ที่พบจำนวนชนิดมากที่สุดคือมีอยู่ 10 ชนิด ในพื้นที่ศึกษาระดับ 700 เมตร, ระดับ 800 เมตร และระดับ 900 เมตร มีค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดวัลยชาติเท่ากับ 4.3, 3.4 และ 3.3 ตามลำดับ และมีวัลยชาติที่เป็นพรรณไม้เด่น ได้แก่ หนอนตายหยาก (Stemona collinsae), ข้าวเย็นวอก (Smilax corbularia) และ เถาดอกครั่ง (Dunbaria longeracemosa) ตามลำดับ และพบว่าวัลยชาติที่เป็นพรรณไม้เด่นขึ้นกระจายเป็นแบบจับกลุ่มทั้งหมด ความหลากหลายของชนิดวัลยชาติมีแนวโน้มของความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกันกับระดับความสูงของพื้นที่ศึกษา และเมื่อพิจารณาตามระดับความสูงของพื้นที่ศึกษาพบว่า ความหลากหลายของชนิดวัลยชาติ มีแนวโน้มความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกันกับความหนาแน่นรวมของดิน แต่จะมีแนวโน้มความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับอนุภาคทรายแป้ง (silt) ประมาณอินทรีย์วัตถุในดิน และค่า pH ของดิน ส่วนจำนวนชนิดของวัลยชาติที่ปรากฏให้เห็นมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน และปริมาณน้ำในดินอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: Relationship of climbers and their environment in deciduous forest at Queen Sirikit Botanic Garden, Chiang Mai Province has been conducted. Sampling plots the size of 50x50 m2 (0.25 ha) were established at each elevation from mean sea level (MSL); 700, 800 and 900 m. For climbers, there are 48 species distributed comprising of 31 genera and 20 families. Dioscoreaceae is considerated as the most species richness in the study areas represented by 10 species. Species diversity index of climber are 4.3, 3.4 and 3.3 for the plot at 700, 800 and 900 m. MSL, respectively. All of the dominant climbers distributed in contagious pattern, those are Non taai yaak (Stemona collinsae) Khaao yen wok (Smilax corbularia) and Thao dok khrang (Dunbaria longeracemosa). Species diversity index of climber related inversely with altitude gradient and soil bulk density but parallel with soil organic matter, silt and soil pH. Number of apparent climbers are related significantly (p<0.05) with humidity, rainfall and soil water content.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12142
ISBN: 9743331247
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wachana_Bo_front.pdf831.67 kBAdobe PDFView/Open
Wachana_Bo_ch1.pdf715.44 kBAdobe PDFView/Open
Wachana_Bo_ch2.pdf898.15 kBAdobe PDFView/Open
Wachana_Bo_ch3.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Wachana_Bo_ch4.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open
Wachana_Bo_ch5.pdf974.35 kBAdobe PDFView/Open
Wachana_Bo_ch6.pdf711.3 kBAdobe PDFView/Open
Wachana_Bo_back.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.