Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12237
Title: ผลการใช้วิธีวงจรการเรียนรู้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อสัมฤทธิผลและพฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Effects of using the learning cycle method in science instruction on science learning achievement and behaviors of lower secondary school students
Authors: จันทร์พร พรหมมาศ
Advisors: จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chanpen.C@Chula.ac.th
Taweewat.p@chula.ac.th
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การเรียนรู้
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลการใช้วิธีวงจรการเรียนรู้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ มโนทัศน์เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 โรงเรียนราชวินิตบางเขน ระดับชั้นละ 2 ห้องเรียน รวมจำนวน 245 คน แต่ละระดับชั้นแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ซึ่งใช้เวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์หรือ 30 คาบต่อห้องเรียน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีวงจรการเรียนรู้ มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการเรียนวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ในขั้นการศึกษาสำรวจ ในระดับที่ควรปรับปรุง ในขั้นการสร้างมโนทัศน์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ และในขั้นการนำมโนทัศน์ไปใช้ ส่วนใหญ่มีอยู่ในระดับพอใช้และในระดับที่ควรปรับปรุง จำนวน 5 พฤติกรรมเท่ากัน 2. ในการใช้วิธีวงจรการเรียนรู้ ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์นั้น นักเรียนมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการเรียนวิทยาศาสตร์ ในขั้นการสร้างมโนทัศน์ อยู่ในระดับที่ดีกว่าในขั้นการศึกษาสำรวจ และขั้นการนำมโนทัศน์ไปใช้ ในทุกระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูง มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการเรียนวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับที่ดีกว่า นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ปานกลางและต่ำ ในทุกขั้นตอนการเรียนการสอน 3. นักเรียนกลุ่มทดลอง มีมโนทัศน์เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกชั้นของระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4. ในกลุ่มนักเรียนที่มีระดับความสามารถ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงและปานกลางในทุกระดับชั้น และนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ต่ำ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 นั้น นักเรียนกลุ่มทดลอง มีมโนทัศน์เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ต่ำ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของทั้ง 2 กลุ่ม มีมโนทัศน์เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ในกลุ่มนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สูงและปานกลางในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ปานกลางในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ต่ำในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 นักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ต่ำในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของทั้ง 2 กลุ่ม มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 6.ในกลุ่มนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูง ปานกลางและต่ำในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 และนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์ต่ำในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนกลุ่มทดลอง มีการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูงและปานกลางในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของทั้ง 2 กลุ่ม มีการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To study the effects of using the learning cycle method in science instruction on the science learning behaviors, the science concept, the science process skills and the scientific reasoning of lower secondary school students. The subjects were 245 lower secondary school students of Rajvinit Bangkaen school. These subjects came from two classes of each level. One of each level was assigned to be the experimental group and the other be the control group. The subjects were taught for a total of ten weeks or thirty periods. The findings were as follows: 1. The lower secondary school students who were taught by using the learning cycle method, had most of the science learning behaviors which enhanced the science learning at the need improvement level in the exploration phase, at moderate level in the concept invention phase, and at moderate and the need improvement levels equally by five behaviors in the concept application phase. 2. By using the learning cycle method in science instruction, students with all levels of science learning ability had the science learning behaviors which enhanced the science learning in the concept invention phase at better level than in the exploration phase and the concept application phase, and students with high level of science learning ability had the science learning behaviors which enhanced the science learning at better level than students with moderate and low levels of science learning ability in all phases of the learning cycle method. 3. In experimental groups, students' science concept, science process skills and scientific reasoning were significantly higher than those in the control groups at the .05 level. 4. The students with high and moderate levels of science learning ability in all classes, and the students with low level of science learning ability in mathayom suksa two and three, the experimental groups had science concept higher than the control groups at the .05 level of significance, and there was no significant difference in science concept between groups of the students with low level of science learning ability in mathayom suksa one. 5. The students with high and moderate levels of science learning ability in mathayom suksa one and two, the students with moderate level of science learning ability in mathayom suksa three, and the students with low level of science learining ability in mathayom suksa two and three, the experimental groups had science process skills higher than the control groups at the .05 level of significance, and there was no significant difference in science process skills between groups of the students with low level of science learning ability in mathayom suksa one and the students with high level of science learning ability in mathayom suksa three. 6. The students with all levels of science learning ability in mathayom suksa one and two, and the students with low level of science learning ability in mathayom suksa three, the experimental groups had scientific reasoning higher than the control groups at the .05 level of significance, and there was no significant difference in scientific reasoning between groups of the students with high and moderate levels of science learning ability in mathayom suksa three.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12237
ISBN: 9743320229
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanphorn_Pr_front.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Chanphorn_Pr_ch1.pdf976.65 kBAdobe PDFView/Open
Chanphorn_Pr_ch2.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open
Chanphorn_Pr_ch3.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Chanphorn_Pr_ch4.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Chanphorn_Pr_ch5.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Chanphorn_Pr_back.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.