Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12278
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธนวดี บุญลือ | - |
dc.contributor.author | สุกันยา ชลิดาพงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2010-03-17T06:09:45Z | - |
dc.date.available | 2010-03-17T06:09:45Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746390139 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12278 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาลักษณะการเปิดเผยตนเองของผู้หญิงและผู้ชายในองค์กรไทย ปฏิสัมพันธ์การเปิดเผยตนเองระหว่างเพศเดียวกันและต่างเพศกัน ในสถานภาพการทำงานระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา และในฐานะผู้ร่วมงาน ตลอดจนเพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ ทิศทางของผลในเชิงการสื่อสาร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปิดเผยตนเองของสมาชิกองค์กรไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่เก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม ของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งปฏิบัติงานในองค์กรชั้นนำของประเทศสิบแห่งที่มีผู้สนใจเข้าร่วมงาน และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากกลุ่มตัวอย่างอีก 20 คน ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการเปิดเผยตนเองของผู้หญิงและผู้ชายในองค์กรไทย มีความแตกต่างกันคือ ผู้หญิงมักจะใช้อารมณ์ ความรู้สึกเปิดเผยตนเองโดยไม่ทันยั้งคิด ขณะที่ผู้ชายมักจะคิดเรื่องราวไว้ก่อนที่จะเปิดเผยตนเองออกไป อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสองเพศไม่ชอบพูดคุย และแสดงความคิดเห็นใดๆ แต่เมื่อเปิดเผยตนเองจะพูดแบบตรงไปตรงมา และถ้าจำเป็นก็ต้องปรับแต่งคำพูดบ้างเพื่อไม่ให้ผู้ฟังรู้สึกเสียใจ โดยที่ผลการวิจัยยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองเพศเปิดเผยตนเองเรื่องใดบ้าง เพียงแต่ทราบประเด็นว่า หากเป็นกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงก็มักจะปรับทุกข์ในเวลาที่มีปัญหา เกี่ยวกับเรื่องงาน ขณะที่กลุ่มตัวอย่างเพศชายชอบพูดคุยเกี่ยวกับความสำเร็จในการทำงาน ส่วนปฏิสัมพันธ์ในการเปิดเผยตนเองนั้น ทั้งกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงและผู้ชายมีปริมาณการเปิดเผยตนเอง ระหว่างเพศเดียวกันและต่างเพศกันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ทั้งสองเพศไม่ชอบแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดๆ กับคู่ปฏิสัมพันธ์เพศเดียวกันหรือต่างเพศกันและยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่า กลุ่มตัวอย่างมีวัตถุประสงค์ของการเปิดเผยตนเองอย่างไร หากพิจารณาในเรื่องของผลของการเปิดเผยตนเองพบว่า ทั้งสองเพศมักจะคำนึงถึงทิศทางของผลจากการเปิดเผยตนเอง ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าผลในทางที่ดี สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปิดเผยตนเองนั้น พบว่าสถานภาพการทำงานเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปิดเผยตนเอง ของสมาชิกองค์กรไทย โดยที่เพศและการเบี่ยงเบนทางเพศเป็นตัวแปรที่สามารถ อธิบายความแปรปรวนของปริมาณการเปิดเผยตนเองได้ไม่ชัดเจนนัก | en |
dc.description.abstractalternative | To study the characteristics of females' and males' self-disclosure in Thai organizations. In additions, the study investigated interactions among organizational members in superior-subordinate and co-worker communication relationships. The researcher also examined the objectives and the outcome directions of self-disclosure and factors affecting the amount of self-disclosure. Data were gathered in top ten Thai organizations in which 400 subjects were asked to respond self-reported questionnaires and 20 more subjects were interviewed via telephone in order to acquire additional information which was not obtained from the questionnaires. Results indicated that females and males were different in some dimensions of self-disclosure characteristics; that is, females emotionally disclosed their feelings while males usually controlled their thoughts before disclosing. The findings also showed that the difference in the amount of females' and males' self-disclosure was not statistically significant at .05 level. In fact, both reported that if possible, they did not like to disclose themselves or show opinions. However, if they had to do, they preferred to talk in a straightforward manner. The study results did not clearly show the contents of self-disclosure among females and males. However, findings only indicated that females disclosed themselves to reduce some tension from work while males liked to express their self achievement. A multiple regression analysis showed that work status was the best predictor accounting for the variability in Thai organizational members' self-disclosure. The thesis included a discussion of the implication of findings and suggestions for future research. | en |
dc.format.extent | 467384 bytes | - |
dc.format.extent | 464655 bytes | - |
dc.format.extent | 1067484 bytes | - |
dc.format.extent | 775014 bytes | - |
dc.format.extent | 2266679 bytes | - |
dc.format.extent | 775318 bytes | - |
dc.format.extent | 1020337 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การเปิดเผยตนเอง | en |
dc.subject | บุรุษ | en |
dc.subject | สตรี | en |
dc.title | การเปิดเผยตนเองของผู้หญิงและผู้ชายในองค์กรไทย | en |
dc.title.alternative | Females' and males' self-disclosure in Thai organizations | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Tanawadee.B@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukanya_Ch_front.pdf | 456.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_Ch_ch1.pdf | 453.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_Ch_ch2.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_Ch_ch3.pdf | 756.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_Ch_ch4.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_Ch_ch5.pdf | 757.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_Ch_back.pdf | 996.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.