Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12281
Title: | ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความง่วงของเด็กวัยรุ่นไทยในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Seleted factors related to sleepiness among Thai adolesecents in Bangkok Metropolis |
Authors: | ณัฐยา ศรีทะแก้ว |
Advisors: | ประนอม รอดคำดี ชนกพร จิตปัญญา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล Chanokporn.J@Chula.ac.th |
Subjects: | วัยรุ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ การนอนหลับ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความง่วงและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย ความเจ็บป่วย สุขลักษณะการนอนหลับ การดูแลด้านการนอนหลับของผู้ปกครอง ตาราง การเรียน การใช้เวลาว่างกับความง่วงของวัยรุ่นไทย ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอายุ 12-18 ปี ที่ศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสอบถามสุขลักษณะการนอนหลับ แบบสอบถามการดูแลด้านนอนหลับของผู้ปกครอง แบบสอบถามตารางการเรียน แบบสอบถามการใช้เวลาว่าง เป็นแบบสอบถามที่ได้จากการทบทวน วรรณกรรม และปรับปรุงจากแบบสอบถามการสำรวจนิสัยการนอนหลับของเด็กวัยรุ่น Adolescent Sleep Habits Survey (Owens, 2002) แบบประเมินความง่วงปรับปรุงมาจาก an Epworth Sleepiness Scale (John, 1991) ร่วมกับ Adolescent Sleep Habits Survey (Owens, 2002) ผ่านการตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ .67, .70, .70, .72, และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเพียร์สัน และ ไคสแควร์ สรุปผล การศึกษาได้ดังนี้ 1. นักเรียนวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่มีความง่วงในระดับเล็กน้อย ร้อยละ 35.1 2. การดูแลด้านการนอนหลับของผู้ปกครองและดัชนีมวลกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับความง่วงของเด็กวัยรุ่น ไทยในกรุงเทพมหานคร (r) เท่ากับ .024,-.041 ตามลำดับ 3. อายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความง่วงของ เด็กวัยรุ่นไทยในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r) เท่ากับ .169 4. สุขลักษณะการ นอนหลับ ตารางการเรียนและการใช่เวลาว่างมีความสัมพันธ์ทางลบกับความง่วงของเด็กวัยรุ่นไทยใน กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r) เท่ากับ -.234, -.130, -.326 ตามลำดับ 5. ความง่วง ของเด็กนักเรียนวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กับความเจ็บป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05. |
Other Abstract: | The purpose of this study was to examine the relationships between age, body mass index, illness, sleep hygiene, parent care, school schedule, leisure time, and sleepiness among Thai adolescents in Bangkok Metropolis. Study participants consisted of 399 students, selected by multi-stage sampling. The instrument for the study included a demographic data from, a sleep hygiene questionnaire, parent questionnaire, school schedule questionnaire, leisure time questionnaire, (Owens, 2002) and an Epworth Sleepiness Scale (John, 1991 and Owens, 2002). The questionnaire has been reviewed by a group of experts. Internal consistency reliability determined by Cronbach’s alpha were .67, .70, .70, .72 and .87, respectively. Pearson’s Product Moment Correlation and Chi square Correlation were used for statistical analysis. Results were as follows: 1. The sleepiness mean score of Thai adolescents in Bangkok Metropolis was at the minimal level ([X-bar] = 11.80, SD = 2.27). 2. No significant correlation detected among parent care and body mass index and sleepiness of Thai adolescents in Bangkok Metropolis. 3. Positively significant correlations were detected between age and sleepiness of Thai adolescents in Bangkok Metropolis (p < .01). 4. Negatively significant correlations were detected between sleep hygiene practices, school activity practices, leisure time, and sleepiness of Thai adolescents in Bangkok Metropolis (p < .01). 5. Significant correlation was detected between illness and sleepiness of Thai adolescents in Bangkok Metropolis (p = .05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12281 |
ISBN: | 9741434154 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nuttaya.pdf | 2.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.