Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/122
Title: การจำแนกขนาดสันเหงือกไร้ฟันในประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง
Other Titles: Size classification of residual ridges in a group of Thais
Authors: เยาวภา สายใหม่, 2515-
Advisors: สรรพัชญ์ มานะโม
ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Piyawat.P@chula.ac.th
Sunphat.N@chula.ac.th
Subjects: สันเหงือกหลังถอนฟัน
ฟันปลอม
ส่วนยื่นเบ้าฟัน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อจำแนกขนาดสันเหงือกไร้ฟันของผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เข้ามารับบริการใส่ฟันปลอมทั้งปาก ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2545 ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ขนาดใหญ่มาก ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก และหาค่าเฉลี่ยของตำแหน่งต่างๆบนสันเหงือกไร้ฟันบนและล่างที่จำแนกขนาดได้ วิธีการวิจัย: วัดความกว้าง ความยาว และความสูงของสันเหงือกไร้ฟันของแบบจำลองบนและล่างอย่างละ 100 อัน ด้วยเครื่องมือเวอร์เนียร์ คาลิปเปอร์ และแผ่นตรวจระนาบสบ เพื่อหาค่าตัวแปร 39 ตัวจากแบบจำลองบนและตัวแปร 22 ตัวจากแบบจำลองล่าง จำแนกแบบจำลองบนและล่างออกเป็น 4 ขนาด ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวชนิดการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์จัดกลุ่ม ซึ่งผลการจำแนกขนาดแบบจำลองที่ได้จากการวิเคราะห์จัดกลุ่มที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับผลการจำแนกขนาดโดยผู้ชำนาญการจะถูกนำมาเป็นผลการจำแนกสันเหงือกไร้ฟันบนและล่างทั้ง 4 ขนาดในที่สุด จากนั้นหาค่าเฉลี่ยของตำแหน่งต่างๆบนสันเหงือกไร้ฟันบนและล่างทั้ง 4 ขนาดที่จำแนกได้ ผลการวิจัย สามารถจำแนกขนาดแบบจำลองบนและล่าง ออกเป็นสันเหงือกไร้ฟันบนและล่างจำนวน 4 ขนาด ดังนี้ ขนาดใหญ่มาก ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก และสามารถหาค่าเฉลี่ยของตำแหน่งต่างๆบนสันเหงือกไร้ฟันบนและล่างทั้ง 4 ขนาดที่จำแนกได้
Other Abstract: Objective: To classify the residual ridges in a group of patient who seeked for complete denture fabrication at faculty of Dentistry, Chulalongkorn University in the 2001 academic year, into 4 groups: extra-large, large, medium and small. Materials and Methods: Venier caliper and occlusal plane were used to measure width, length and height of 100 replicas of upper and lower master model in order to find 39 variables in the replica of upper master model and 22 variables in the replica of lower master model. To classify the size of the replicas of upper and lower master model into 4 groups, all variables were firstly analyzed by using multivariate analysis which were discriminant analysis, factor analysis and cluster analysis respectively. Then, the classification of replicas of master model analyzed by cluster analysis which most closely correlated to the classification analyzed by specialists in Prosthodontics was chosen to be the classification of residual ridges into 4 groups. After that each position of upper and lower residual ridge was present in term of mean. Results The replicas of upper and lower master model can be classified by size into 4 groups of upper and lower residual ridge which were extra-large, large, medium and small. Each position of upper and lower residual ridge can be calculated in term of mean.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/122
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.732
ISBN: 9741742134
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.732
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yaowapha.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.