Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12310
Title: การพัฒนาระบบรับส่งข้อมูลด้วยแสงอินฟราเรดสำหรับอุปกรณ์นิวคลีออนิกส์
Other Titles: Development of an infrared-transceiving data system for nucleonic instruments
Authors: ธเนส ศิริไตรวัฒนาพร
Advisors: อรรถพร ภัทรสุมันต์
สุวิทย์ ปุณณชัยยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Attaporn.P@chula.ac.th
Suvit.P@Chula.ac.th
Subjects: นิวคลีออนิคส์
ระบบสื่อสารข้อมูล
ไมโครคอนโทรลเลอร์
พลังงานนิวเคลียร์
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาระบบรับส่งข้อมูลด้วยแสงอินฟราเรดสำหรับอุปกรณ์นิวคลีออนิกส์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ช่วยลดปัญหาที่เกิดจากความยาวของสายส่งสัญญาณวัดนิวเคลียร์อันได้แก่ ความชื้นของสายส่งสัญญาณและสัญญาณรบกวนเหนี่ยวนำในสายส่งสัญญาณ รวมทั้งช่วยให้การส่งสัญญาณสะดวกขึ้นและเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับรังสีโดยไม่จำเป็นต้องใช้สายส่งสัญญาณระหว่างหัววัดรังสีกับระบบวัดรังสีที่มีความยาวมาก ระบบรับส่งข้อมูลด้วยแสงอินฟราเรดสำหรับอุปกรณ์นิวคลีออนิกส์ที่พัฒนาขึ้นแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อุปกรณ์รับส่งข้อมูลต้นทางและอุปกรณ์รับส่งข้อมูลปลายทาง ส่วนของอุปกรณ์รับส่งข้อมูลต้นทางประกอบด้วย อินฟราเรดโมเด็ม อะนาลอกอินพุต/เอาต์พุต ดิจิตอลอินพุต/เอาต์พุต ไมโครคอนโทรลเลอร์ และโปรแกรมควบคุมการทำงานที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษาแอสเซมบลี และในส่วนของอุปกรณ์รับส่งข้อมูลปลายทางประกอบด้วย อินฟราเรดโมเด็ม ไมโครคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมควบคุมการทำงานที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษาปาสคาล การใช้งานระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ทำได้โดยต่ออุปกรณ์รับส่งข้อมูลต้นทางเข้ากับอุปกรณ์นิวคลีออนิกส์แล้วควบคุมการทำงานรวมทั้งการแสดงผลของระบบที่อุปกรณ์รับส่งข้อมูลปลายทาง จากการทดสอบการทำงานของระบบรับส่งข้อมูลด้วยแสงอินฟราเรดสำหรับอุปกรณ์นิวคลีออนิกส์ โดยประยุกต์ใช้งานในรูปของเรตมิเตอร์และอุปกรณ์วิเคราะห์แบบช่องเดียว พบว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องโดยมีขีดจำกัดของระยะในการรับส่งข้อมูลที่ 4 เมตร นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้งานระบบข้อมูลด้วยแสงอินฟราเรดสำหรับอุปกรณ์นิวคลีออนิกส์กับอุปกรณ์นิวคลีออนิกส์ชนิดอื่นๆ ได้อีกโดยปรับปรุงโปรแกรมควบคุมการทำงาน ทั้งที่อุปกรณ์รับส่งข้อมูลต้นทางและอุปกรณ์รับส่งข้อมูลปลายทางอีกเพียงเล็กน้อย
Other Abstract: An infrared-transceiving data system for nucleonic instruments was developed for minimizing the problem of signal transmission normally encountered in coaxial cable; such as, humidity and electromagnetic interference (EMI). Not only that it becomes much more convenient but the safety of the workers is also increased by eliminating long transmission cable between radiation detector and monitoring instruments. The developed system could be separated into two parts: the iront-end and the destination transceiver. The front-end transceiver consists of an infrared modem, an analong input/output, a digital input/output, a microcontroller and controlling software developed in assembly language. The destination transceiver consists of an infrared modem, a microcomputer controlling software developed in PASCAL language. The system can be used by simply connecting the nucleonic instrument to the front-end transceiver while the system can be controlled and the results are displayed on the destination transceiver. The developed system was tested by transmitting and exchanging signals with the ratemeter and single channel analyzer. The system was found to perform satisfactority within the limiting distance of 4 meters. This system may also be applied to other nucleonic instruments by adjusting some parts of the controlling software.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12310
ISBN: 9743324909
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanate_Si_front.pdf860.84 kBAdobe PDFView/Open
Tanate_Si_ch1.pdf720.5 kBAdobe PDFView/Open
Tanate_Si_ch2.pdf918.33 kBAdobe PDFView/Open
Tanate_Si_ch3.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Tanate_Si_ch4.pdf950.17 kBAdobe PDFView/Open
Tanate_Si_ch5.pdf709.21 kBAdobe PDFView/Open
Tanate_Si_back.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.