Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12407
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาพรรณ โคตรจรัส-
dc.contributor.authorวรัปสร โรหิตะบุตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2010-03-30T03:25:30Z-
dc.date.available2010-03-30T03:25:30Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12407-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractศึกษาผลของกลุ่มพัฒนาตนที่มีต่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม (Pretest-posttest control group design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ บ้านบางละมุง ที่มีสุขภาวะทางจิตต่ำ จำนวน 19 คน โดยมีคะแนนสุขภาวะทางจิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 9 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน กลุ่มทดลองเข้ากลุ่มพัฒนาตนเองแนวทรอตเซอร์ เป็นเวลา 3 สัปดาห์ติดต่อกัน สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมง 30 นาที เป็นจำนวนทั้งสิ้น 12 ครั้ง รวมเป็น 18 ชั่วโมง โดยมีผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดสุขภาวะทางจิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way ANOVA repeated measures) และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนสุขภาวะทางจิต ด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลผู้สูงอายุที่เข้ากลุ่มพัฒนาตน มีคะแนนสุขภาวะทางจิตสูงกว่าก่อนเข้ากลุ่มพัฒนาตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 2) ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองคะแนนสุขภาวะทางจิตในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน 3) ในระยะหลังการทดลองผู้สูงอายุที่เข้ากลุ่มพัฒนาตน มีคะแนนสุขภาวะทางจิตสูงกว่าผู้สูงอายุกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนที่ 2 ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองจำนวน 9 คน จากการวิจัยเชิงปริมาณในระยะติดตามผล พบว่า ผู้สูงอายุที่เข้ากลุ่มพัฒนาตนรับรู้ผลดีของการเข้าร่วมกลุ่ม ประสบการณ์ในระหว่างการเข้ากลุ่มที่เอื้อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะทางจิต เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนเข้ากลุ่มและยังคงอยู่ในระยะติดตาผล ได้แก่ 1) กระบวนการกลุ่มและปฏิสัมพันธ์กับผู้นำกลุ่ม และสมาชิกของกลุ่มที่อบอุ่น ปลอดภัย ไว้วางใจ และยอมรับนับถือกัน ที่เอื้อให้สมาชิกมีการสำรวจตนเอง เปิดเผยตนเองและแบ่งปันประสบการณ์ 2) ผู้สูงอายุสัมผัสสัมพันธภาพที่เกื้อกูล อบอุ่น เข้าใจ และมีความหมาย ซึ่งเอื้อให้ผู้สูงอายุมีความเข้าใจและยอมรับตนเองและผู้อื่น และปัญหาที่ตนประสบมากขึ้นและเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกen
dc.description.abstractalternativeTo investigate the effect of personal growth group on psychological well-being of the elderly, through quantitative and qualitative data. The quantitative data was obtained through the quasi-experimental research with the randomized pretest-posttest control group design. Participants were 19 elderly in Baan Banglamung Home for the Elderly, who scored below the mean on the Psychoogical Well-being Scale, with 9 persons in the experimental group and 10 persons in the control group. The experimental group participated in a Trotzer's personal growth group program conducted by the researcher, for a session of one to and a half hours, 3 to 5 sessions a week, over a period of 3 consecutive weeks for the total of 12 session, which made approximately 18 hours. The instruments used was the Psychological Well-being Scale. Data was analyzed using the t-test and one-way ANOVA repeated measures followed by post hoc comparisons with LSD test. The major findings were as follows 1) The posttest and the follow-up scores on psychological well-being of the experimental group were higher than its pretest scores at .001 level of significance. No differences on those scores were found between the posttest and the follow-up data. 2) The posttest scores on psychological well-being of the experimental group were higher than those of the control group at .05 level of significance. The qualitative data was obtained through indepth interview with 9 participants of the experimental group, from the quantitative part, during the follow-up period. The content analysis of the data indicated that the elderly perceived the beneficial effects of the personal growth group. Experiances during the group process which facilitating, promoting and sustaining the psychological well-being of the elderly were 1) the positive interactions and warm and trusting relationships between the leader and the members and among the members in the group which facilitating self-exploration, self-disclosure and personal sharing among the members 2) the supportive and meaningful relationships experienced by the elderly which facilitating their understanding and acceptance of themselves, others, and their issues and promoting their positive changes and growth.en
dc.format.extent1707540 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผู้สูงอายุen
dc.subjectสุขภาพจิตen
dc.subjectสัจจการแห่งตนen
dc.titleผลของกลุ่มพัฒนาตนต่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุen
dc.title.alternativeThe effect of personal growth group on psychological well-being of the elderlyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการปรึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSupapan.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warupsorn.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.