Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12411
Title: | การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางภายหลังการเปิดให้บริการ ของระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ : การศึกษาก่อนและหลังของระบบรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน ในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Changes in commute patterns following an opening of a major mass transit system : a before and after study of Bangkok's Mass Rapid Transit Authority's Blue Line Subway |
Authors: | จรินทร์ กังใจ |
Advisors: | ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Saksith.C@Chula.ac.th |
Subjects: | รูปแบบการเดินทาง -- ไทย -- กรุงเทพฯ การขนส่งมวลชน -- ไทย -- กรุงเทพฯ รถไฟฟ้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันมีการประยุกต์เทคนิคการสำรวจข้อมูลแบบ Stated preference (SP) เพื่อคาดการณ์การใช้ระบบขนส่งที่จะเกิดขึ้นใหม่อย่างแพร่หลาย แต่ผลการคาดการณ์ที่ได้อาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองจากข้อมูล SP และตรวจสอบผลการคาดการณ์โดยใช้แบบจำลองดังกล่าวกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง โดยการศึกษาก่อนและหลังการเปิดให้บริการของระบบรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน ในกรุงเทพมหานคร ในงานวิจัยนี้แบ่งกลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลอง SP เป็น 3 กลุ่มคือ 1. กลุ่มผู้เดินทางที่เลือกใช้รถยนต์ส่วนตัว 2. กลุ่มผู้เดินทางที่เลือกใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส และ 3. กลุ่มผู้เดินทางที่เลือกใช้รถโดยสารประจำทาง โดยจากผลการศึกษาก่อนรถไฟฟ้าเปิดให้บริการพบว่า มูลค่าของเวลาการเดินทางเพื่อเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของแต่ละกลุ่ม มีค่าคิดเป็น 24.15% 24.14% และ 21.81% ของรายได้เฉลี่ยตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการก่อนและหลังเปิดให้บริการพบว่า กลุ่มผู้ที่เลือกใช้รถโดยสารประจำทางมีสัดส่วนของผู้ที่กล่าวว่าจะใช้บริการ แต่กลับไม่ใช้จริงภายหลังจากการเปิดให้บริการมากกว่ากลุ่มผู้ที่เลือกใช้ รถไฟฟ้าบีทีเอส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามสัดส่วนดังกล่าวสำหรับผู้ใช้รถโดยสารประจำทาง ไม่แตกต่างจากสัดส่วนของผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัว อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ สัดส่วนการกล่าวเกินจริงยังไม่ขึ้นกับเพศ อายุ และระดับรายได้ของผู้เดินทาง สำหรับผลการคาดการณ์ส่วนแบ่งตลาดของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนด้วยแบบจำลอง SP พบว่า ผลที่ได้มีค่ามากกว่าที่เกิดขึ้นจริงในทุกๆ กลุ่ม โดยมากที่สุดในกลุ่มผู้ที่เลือกใช้รถยนต์ส่วนตัว ซึ่งผลการคาดการณ์ส่วนแบ่งตลาดสูงกว่าความเป็นจริงถึง 4.99 เท่า และกลุ่มผู้ที่ใช้รถโดยสารประจำทางมีค่า 2.98 เท่า ส่วนกลุ่มผู้ใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสมีค่าต่ำสุดคือ 2.04 เท่า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การที่จะนำแบบจำลองที่ได้จากข้อมูล SP มาคาดการณ์พฤติกรรมการเปลี่ยนไปใช้ระบบขนส่งมวลชนรางที่จะเกิดขึ้นใหม่ ควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคาดการณ์พฤติกรรมของกลุ่มผู้ที่ในปัจจุบันใช้รถยนต์ ส่วนตัวและรถโดยสารประจำทาง |
Other Abstract: | Stated preference (SP) surveying technique has been widely adopted in order to estimate models for predicting travel demand of a new transportation system. Prediction results, however, have been shown to be inaccurate. This research aims to develop SP models and evaluate their performance in travel demand prediction, using a case study of the Mass Rapid Transit Authority (MRTA)'s Blue Line subway in Bangkok, which consists of travel behavior surveys before and after the system's opening. Travelers, whose behaviors are to be analyzed, are divided into three groups, including drivers, BTS sky train, and public bus riders. The results of the before study show that the estimated values of station access time are 24.15, 24.14, and 21.81 percent of traveler's income, respectively. Comparisons of results from before and after studies reveal that the proportion of bus riders who stated that they would use the subway, but failed to do so, is significantly greater than that of BTS riders. Those proportions, however, are not significantly different in the case of drivers and bus riders. In addition, the proportion of overstatement does not depend on sex, age, or income groups. As for market share of the new subway, the predicted shares from the SP model are greater than the actual shares in all groups, the highest being 4.99 times overprediction for the group of drivers, followed by 2.98 times and 2.04 times for bus and BTS riders, respectively. This reflects that transportation planers should be careful when using SP models to predict modal shift for a new rail transit system, especially the behavioral shift of traveler, who currently drive or use public buses. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12411 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1848 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1848 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.