Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12422
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิพาดา ยังเจริญ-
dc.contributor.authorดารุณี สมศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.coverage.spatialเชียงใหม่-
dc.date.accessioned2010-03-30T06:50:09Z-
dc.date.available2010-03-30T06:50:09Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12422-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractศึกษาเหตุปัจจัยและกระบวนการที่ก่อให้เกิดการสร้างภาพลักษณ์ความงามของ เชียงใหม่ใน 3 ประเด็นคือ ความงามทางธรรมชาติ ความงามทางวัฒนธรรมและความงามของผู้หญิง ภาพลักษณ์ความงามของเชียงใหม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความสัมพันธ์ ระหว่างสยามกับเชียงใหม่ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา อันเป็นผลมาจากนโยบายของกรุงเทพฯ ที่ต้องการสร้างเอกภาพในประเทศ เมื่อเปิดเดินรถไฟกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ใน พ.ศ. 2464 เชียงใหม่ยิ่งใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น สังคมเชียงใหม่ได้รับอิทธิพลของกรุงเทพฯ อย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลาง หลังเปลี่ยนแปลงปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมเอกภาพและความมั่นคงของชาติอย่างจริงจัง รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้นำนโยบายชาตินิยมซึ่งเน้น "ความเป็นไทย" ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองที่มีแนวคิด "รวมเผ่าไทย" เพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ให้ประเทศ ด้วยเหตุนี้ภาคเหนือและเชียงใหม่จีงได้รับการส่งเสริมให้เป็น "ถิ่นไทยงาม" ซึ่งหมายถึงดินแดนที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรม บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ ผู้คนจิตใจดี นอกจากนั้นจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ เชียงใหม่ยังได้รับการส่งเสริมจากกรมรถไฟให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ปัจจัยเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดกระบวนการสร้างภาพลักษณ์ความงามของ เชียงใหม่โดยกลุ่มคนต่างๆ ทั้งในส่วนกลาง ผ่านการแสดงละคร เพลงและการแสดงรูปแบบอื่นๆ ซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อหาที่ว่าด้วย "ความงาม" ของเชียงใหม่ จนคำว่า "ถิ่นไทยงาม" เป็นที่ยอมรับจากสังคมทั่วไป ส่วนในท้องถิ่น กลุ่มนักธุรกิจและชนชั้นกลางของเชียงใหม่ก็ตอบสนองนโยบายการท่องเที่ยว และการเป็นเมืองวัฒนธรรมของรัฐโดยกระบวนการต่างๆ เช่นกัน ผลจากการดำเนินกระบวนเช่นนี้ทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่น ภาพความงามของเชียงใหม่จึงถูกผลิตซ้ำอย่างสม่ำเสมอ จนมีอิทธิพลให้เชียงใหม่เกิดภาพลักษณ์ความงามทั้ง 3 ประการ ได้แก่ ความงามทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และความงามของผู้หญิงเชียงใหม่en
dc.description.abstractalternativeTo examine the process in making Chiang Mai a beautiful region of modern Thailand. By doing this, the city's beautiful image is identified in 3 different aspects: beauty of nature, uniqueness of culture, and women's beauty. The study shows that the forming of Chiang Mai's beautiful image derives from the change of Siam's policy towards Chiang Mai since the reign of King Chulalongkorn. Siam's attempted to intergrate Chiang Mai into her system of politics, economics and society. When the railway project between Bangkok-Chiang Mai was completed in 2464 B.E., Chiang Mai became greatly influenced by Bangkok, especially in economy and modern culture. The Thai government after 2475 B.E. focuses on the policy to unite Chiang Mai as Northern region of Thailand. Under Field Marshal Piboonsongkram's leadership, a nationalist policy was introduced, in which "Thainess" was promoted in terms economics, society, culture. Apart from that, a political ideal of "Pan Thai" was reinforced, in order to establish powerful Thailand. Hence, the North and Chiang Mai were promoted as "Beautiful Thai region" which means the region of high culture, fertiled land, and friendly people. Furthermore, The Royal Thai State Railway also kept introducing tourism in the Chiang Mai area, in order to encourage its income. All of these factors enabled the construction of Chiang Mai's beautiful image to be processed by various group of people, from both Bangkok and Chiang Mai. In Bangkok, promoted the "beauty" of Chiang mai was promoted in play, novels, and other sorts of writings. Songs, films and other contemporary performances usually mentioned Chiang mai and its beauty. Locally, both businessmen and middle class Chiang Mai people helped promote tourism and presenting an image of Chiang Mai as a cultural city. The management from both Bangkok and Chiang Mai sides went along well. Being repeatedly reproduced, the three Chiang Mai's beautiful images remain in public perception. This is why the statement: "beautiful Thai region" is widespread recognized in Thai society.en
dc.format.extent1836904 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเชียงใหม่ -- ประวัติศาสตร์en
dc.subjectเชียงใหม่ -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยวen
dc.titleการสร้างภาพลักษณ์ความงามของเชียงใหม่ พ.ศ. 2464-2500en
dc.title.alternativeThe construction of Chiang Mai's beautiful image, 1921-1957en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPipada.Y@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
darunee_so.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.