Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12427
Title: | ผลของการใช้แนวทางการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศแบบใช้คำศัพท์เป็นหลัก ต่อความสามารถในการใช้ภาษาทั่วไปและความสามารถในการใช้คำศัพท์ ของผู้เรียน |
Other Titles: | The effect of the lexical-based EFL learning approach on learners' general language proficiencies and lexical abilities |
Authors: | อรุณี อรุณเรือง |
Advisors: | สุดาพร ลักษณียนาวิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sudaporn.L@chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน ภาษาอังกฤษ -- คำศัพท์ ภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางการเรียนแบบใช้คำ ศัพท์เป็นหลักต่อความสามารถในการใช้ภาษาทั่วไปและความสามารถในการใช้คำศัพท์ ของผู้เรียน กลุ่มประชากรคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครโชติเวช ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 ผู้วิจัยคัดเลือกห้องเรียนกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มจากห้องเรียน 5 ห้อง โดยการสุ่มอย่างง่าย และจับสลากเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองมี 22 คน และกลุ่มควบคุมมี 26 คน ผู้วิจัยดำเนินการทดลองโดยใช้ซีดีรอมแบบจำลองการเรียนแบบใช้คำศัพท์เป็นหลัก และการเรียนรู้ด้วยตนเองกับกลุ่มทดลองและใช้แบบเรียนปกติและการบรรยายกับ กลุ่มควบคุม ระยะเวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ โดยวิธีการทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาทั่วไปและความสามารถในการใช้คำศัพท์ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบทดสอบมาตรฐาน (CU-TEP) ของสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแบบทดสอบความสามารถในการใช้คำศัพท์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ตำราเรียนวิชาภาษอังกฤษเทคนิค 1 แบบจำลองการเรียนแบบใช้คำศัพท์เป็นหลักแบบทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาทั่ว ไป และแบบทดสอบความสามารถในการใช้คำศัพท์ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และค่า t-test แบบสองทาง ผลการศึกษาพบว่าความสามารถในการใช้ภาษาทั่วไปและความสามารถในการใช้คำศัพท์ หลังการทดลองโดยรวมของนักศึกษากลุ่มทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนักศึกษากลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น ความสามารถในการใช้คำศัพท์หลังการทดลองโดยรวมของนักศึกษากลุ่มทดลองสูงกว่า นักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ความสามารถในการใช้ภาษาทั่วไปหลังการทดลองโดยรวมของนักศึกษากลุ่มทดลอง สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการใช้ภาษาทั่วไปของนักศึกษากลุ่มทดลองมีแนวโน้มที่จะพัฒนาขึ้น ได้มากกว่านักศึกษากลุ่มควบคุม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสามารถด้านการอ่านของนักศึกษากลุ่มทดลองที่สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบ คุมอย่างมีนัยำสคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | This study investigates the effect of the lexical-based EFL learning approach on learners' general language proficiencies and lexical abilities. The participants are the third-year undergraduate students in Food and Nutrition, Faculty of Home Economics Technology, Rajamangala Uniersity of Technology Pranakhorn Chotiwet. They participated in the study which incorporated a two-group pre-test and post-test design in two tests CU-TEP-Chulalongkorn University Test of English Proficiency as a standardized general language proficiency test, and lexical ability test constructed by the researcher) during the second semester, the academic year 2005. The two sample classes of the five classes were randomly selected to be the experimental group and the control group. The experimental group consisted of 22 students taught by the lexical-based learning approach whereas the control group consisted of 26 students taught by the conventional grammar-based approach. The instruments used in this study consisted of Technical English 1 textbook, the lexical-based approach learning model (CD-ROM), Chulalongkorn University Test of English Proficiency and lexical ability test. The duration of the study was 15 weeks. The data were analyzed by using means and two tailed t-test. The results demonstrated that there was a significant difference between the pre-test and the posttest mean scores of general language proficiencies and lexical abilities of the experimental group (p<0.05) whereas there was no significant difference in the control group. Further, the results revealed that the lexical ability post-test scores of the experimental group were significanly higher than those of the control group (p<0.05). The general language proficiency post-test scores, however, were not significantly different. The general language proficiancies of the experimental group tended to improve more than those of the control group, especially as for reading ability. the reading ability scores of the experimental group were significantly higher than those of the control group (p<0.05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12427 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
arunee_ar.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.