Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1248
Title: การนำกลับแพลเลเดียมจากกรดกัดทองใช้แล้ว โดยเยื่อแผ่นเหลวที่พยุงด้วยเส้นใยกลวง
Other Titles: Recovery of palladium from used aqua regia by hollow fiber supported liquid membrane
Authors: ณรรฐพล วิจิตรเฉลิมพงษ์, 2522-
Advisors: อุรา ปานเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ura.p@chula.ac.th
Subjects: การสกัด (เคมี)
เยื่อแผ่นเหลว
แพลเลเดียม
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการนำกลับไอออนแพลเลเดียมจากกรดกัดทองใช้แล้ว ผ่านเยื่อแผ่นเหลวที่พยุงด้วยเส้นใยกลวง เยื่อแผ่นเหลวประกอบด้วยสารสกัดสองชนิดได้แก่ สารสกัดไธโอไรดาซีน (Thioridazine.HCl) และสารสกัดกรดโอเลอิก (Oleic acid) ละลายในตัวทำละลายคลอโรฟอร์มเคลือบฝังภายในรูพรุนจุลภาคของเส้นใยกลวง โซเดียมไนไตรต์ที่ใช้เป็นสารละลายสตริปจะถูกป้อนภายนอกเส้นใยกลวง (Shell side) สวนทางกับสารละลายป้อนที่ถูกป้อนภายในเส้นใยกลวง (Tube side) ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ ความเข้มข้นของสารสกัดทั้งสองชนิด ความเป็นกรด-ด่างในกรดกัดทองใช้แล้ว ความเข้มข้นของสารละลายสตริปโซเดียมไนไตรต์ อัตราการไหลของสารละลายป้อน และสารละลายสตริป และจำนวนรอบในการผ่านโมดูลเส้นใยกลวง จากผลการทดลองพบว่า ไอออนแพลเลเดียมถูกนำกลับได้ 29.10% ที่ความเข้มข้นของสารสกัดไธโอไรดาซีน และกรดโอเลอิกเท่ากับ 0.0005 และ 0.05 โมลาร์ตามลำดับ ภายหลังเวลา 30 นาที ในการผ่านโมดูลเส้นใยกลวง 1รอบ ซึ่งที่ความเข้มข้นของสารสกัดทั้งสองชนิดนี้ จะก่อให้เกิดการสกัดแบบเสริมฤทธิ์ (Synergistic extraction) เกิดขึ้น ลำดับการนำกลับของไอออนโลหะภายในกรดกัดทองเรียงจากมากไปน้อยดังนี้ Pd(II)>Pt(IV)>Cu(II)>Au(III) นอกจากนี้พบว่าเมื่อดำเนินการผ่านโมดูล 3 รอบ สามารถนำกลับแพลเลเดียมได้สูงถึง 65.63% ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม
Other Abstract: To study the recovery of palladium ion from used aqua regia by hollow fiber supported liquid membrane. The liquid membrane, composed of two extractants; thioridazine.HCl and oleic acid that were solubilized in chloroform, was coated on the microporous hollow fiber. Sodium nitrite, a stripping agent which was fed through the shell side, flowed countercurrently with the feed solution which was fed through the tube side. The following factors were investigated; the concentrations of both extractants, the pH of used aqua regia, the concentration of sodium nitrite, the flow rates of the feed and stripping solution, and the number of runs in the hollow fiber module. It was found that after 30 min and one through mode operation, 29.10% of palladium ion could be recovered at 0.0005-M thioridazine and 0.05-M oleic acid. Synergistic extraction could be asheived with the stated concentrations of both ectractants. Concerning the percentage recovery, the following order of recovered noble metals could be observed; Pd(II)>Pt(IV)>Cu(II)>Au(III). In addition, when operating with 3 modules, palladium ion could be recovered up to 65.63% under optimum operating conditions.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1248
ISBN: 9741720262
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattaphol.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.