Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12578
Title: ระยะเวลาการเติมอากาศที่เหมาะสมที่จัดการสลัดจ์ส่วนเกินได้ดีที่สุด ในกระบวนการแอนแอโรบิก/แอโรบิก
Other Titles: The optimum aeration time to best manage the excess sludge in the anaerobic/aerobic process
Authors: นภาพร ทองคำมาก
Advisors: ธงชัย พรรณสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Thongchai.P@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการแบบตะกอนเร่ง
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดฟอสฟอรัส
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาถึงการยืดระยะเวลาการเติมอากาศในช่วงแอโรบิกของกระบวนการกำจัดฟอสฟอรัสทางชีวภาพแบบแอนแอโรบิก/แอโรบิก เพื่อให้สลัดจ์ถูกย่อยสลายและมีปริมาณลดลง รวมทั้งมีสมบัติในการรีดน้ำที่ดี แต่ในขณะเดียวกันยังคงมีประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสสูง สัดส่วนที่สูงขึ้นของฟอสฟอรัสในสลัดจ์ส่วนเกินทำให้สลัดจ์มีสมบัติเหมาะที่จะนำไปทำเป็นปุ๋ยหรือสารปรับสภาพดิน ในการทดลองใช้ถังปฏิกิริยาแบบกวนสมบูรณ์ขนาดโต๊ะทดลองซึ่งประกอบด้วยถังแอนแอโรบิก ถังแอโรบิก และถังตกตะกอน น้ำเสียที่ป้อนเข้าสู่ระบบทดลองมีอัตราน้ำไหลเข้า 36 ลิตร/วัน มีระยะเวลากักพักน้ำภายใต้สภาวะแอนแอโรบิกและแอโรบิก 2 และ 4 ชั่วโมงตามลำดับ น้ำเสียที่ใช้เป็นน้ำเสียสังเคราะห์มีอัตราส่วนบีโอดีต่อฟอสฟอรัสเท่ากับ 45:1 (CE), 20:1 (OK) และ 5:1 (CL) พบว่าการทำงานของระบบไม่สามารถทำให้เกิดการกำจัดฟอสฟอรัสได้ดีที่อุณหภูมิห้องและเอสอาร์ที่ 5 วัน แต่ที่เอสอาร์ที่ 10 วัน พบว่าระบบสามารถกำจัดฟอสฟอรัสได้โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับร้อยละ 70, 61 และ 35 แต่เมื่อพิจารณาถึงปริมาณฟอสฟอรัสในสลัดจ์แล้ว พบว่าการทดลอง ด้วยน้ำเสีย CL มีค่าสูงสุดคือเท่ากับร้อยละ 17.5 ในขณะที่การทดลองด้วยน้ำเสีย OK และ CE มีค่าร้อยละ 9.48 และ 4.61 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการยืดระยะเวลาการเติมอากาศทำให้ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสและปริมาณฟอสฟอรัสในสลัดจ์สูงขึ้น โดยมีค่าที่เหมาะสมที่สุดในการยืดระยะเวลาการเติมอากาศอีก 5, 1 และ 2.5 ชั่วโมง รวมระยะเวลาการเติมอากาศเป็น 9, 5 และ 6.5 ชั่วโมง สำหรับระบบ CE, OK และ CL ตามลำดับ อย่างไรก็ดีพบว่าถ้ายืดระยะเวลาออกไปอีกจะทำให้มีการปลดปล่อยฟอสฟอรัสแบบขั้นสองกลับคืนออกมา ทำให้น้ำที่ผ่านการบำบัดมีความเข้มข้นของฟอสฟอรัสสูงขึ้น นอกจากนี้การยืดระยะเวลาการเติมอากาศสามารถลดปริมาณสลัดจ์ลงตามระยะเวลาที่ยืดออกไปและทำให้สลัดจ์ที่ได้มีความสามารถในการรีดน้ำที่อาศัยแรงโน้มถ่วงโลก (เช่นการใช้ลานตากตะกอน) ดีขึ้น เพราะมีค่าซีเอสที (Capillary suction time) ลดลง โดยระยะเวลาเติมอากาศที่ยืดออกไปที่เหมาะสมที่สุดของการทดลองด้วยน้ำเสีย CE, OK และ CL คือ 1, 3.5 และ 4 ชั่วโมงตามลำดับ ทำให้ได้ค่าซีเอสทีเท่ากับ 23.66, 19.61 และ 23.05 วินาที และหากทำการยืดเวลาการเติมอากาศต่อไปอีกจะทำให้ความสามารถในการรีดน้ำของทุกระบบลดลง ส่วนความสามารถในการรีดน้ำด้วยแรงทางกลศาสตร์ (เช่นการใช้เครื่องรีดน้ำแบบอักกรองใต้ความดัน) การยืดเวลาการเติมอากาศไม่ทำให้เกิดผลดีต่อสลัดจ์ เพราะทำให้รีดน้ำได้ยากขึ้น ซึ่งดูได้จากค่าความต้านทานจำเพาะ (specific resistance) ที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเติมอากาศที่เพิ่มขึ้น
Other Abstract: The effects of extending the aeration period on biological phosphorus removal and sludge characteristics in anaerobic/aerobic process were studied by both continuous flow and batch experiments. In the continuous flow experiments, six systems with different sludge retention time (SRT) and C:P ratio of wastewater were operated. It was observed that a good phosphorus removal at 5 days SRT was not possible at room temperature but at 10 days SRT, the efficiencies of phosphorus removal at SRT 10 days were 76, 61 and 35% for the case of C:P ratio of 45:1 (CE), 20:1(OK) and 5:1 (CL), respectively. Total phosphorus content in sludge was 4,61, 9.48 and 17.50%, respectively. In the batch experiments, the effect of extending the aeration time on phosphorus removal was investigated. The optimum aeration time of the CE, OK and CL system at 10 days SRT was 9, 5 and 6.5 hours, respectively. Moreover, if the aeration time is more prolonged, it made the system decrease in the efficiency of phosphorus removal, and there was even secondary phosphorus release, resulting in worse-quality effluent. The results of prolonging the aeration time indicated that both MLSS and MLVSS were decreased. The property of sludge on natural dewatering was be better if the system has aeration time. The optimum aeration time for natural dewatering of each experiments was 5, 7.5 and 8 hours of system CE, OK and CL, respectively. They showed 23.66, 19.61 and 23.05 sec. of CST (capillary suction time) parameter. In contrast, the aeration time that was over 4 hours of every experiments made the property of sludge on dewatering by pressure worse. They showed increasing tread of specific resistance parameter with the aeration time.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12578
ISBN: 9743343148
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Napaporn_To_front.pdf672.3 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_To_ch1.pdf271.09 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_To_ch2.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Napaporn_To_ch3.pdf784.12 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_To_ch4.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Napaporn_To_ch5.pdf343.75 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_To_back.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.