Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12640
Title: กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของสายการผลิตกระป๋องสำหรับบรรจุอาหาร
Other Titles: Strategy in increasing overall efficiency for the can making industry
Authors: เพชรชรินทร์ พรนภดล
Advisors: วันชัย ริจิรวนิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Vanchai.R@chula.ac.th
Subjects: การวางแผนเชิงกลยุทธ์
การควบคุมการผลิต
อุตสาหกรรมภาชนะบรรจุอาหาร
ภาชนะบรรจุอาหาร
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวางแผนกลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมให้กับอุตสาหกรรมผลิตกระป๋องสำหรับบรรจุอาหาร ภายใต้วิสัยทัศน์ขององค์กรการเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์อันดับหนึ่งของโลก โดยเริ่มจากการวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค เพื่อทำการกำหนดวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยรวมแล้ววิเคราะห์เลือกสายการผลิตต้นแบบที่เป็นสายการผลิตที่สามารถ ตอบสนองผลการดำเนินธุรกิจขององค์กร ได้แก่ สายการผลิตกระป๋องสำหรับบรรจุกาแฟที่มียอดรวมขายสูงสุด เพื่อมาวางแผนกลยุทธ์ การเพิ่มประสิทธิภาพในระยะยาว จากนั้นได้ทำการศึกษาปัญหาและจุดอ่อนในทุกกระบวนการผลิตของสายการผลิตต้นแบบ ผลิตเพื่อเลือกกลวิธีจากแผนกลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมมาประยุกต์ ได้แก่ กลวิธีการบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมสำหรับกระบวนการเคลือบแลคเกอร์เพื่อลดเวลาสูญเปล่า จากการเกิดเครื่องจักรเสียหรือเกิดเหตุขัดข้องบ่อยๆ และกลวิธีลดเวลาการเปลี่ยนแม่พิมพ์สำหรับกระบวนการพิมพ์สี และกระบวนการขึ้นรูปกระป๋องเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิต หลังจากที่ได้ดำเนินตามกลวิธีทั้ง 2 ที่นำเสนอแก่สายการผลิตต้นแบบสามารถสรุปผลจากการประยุกต์กลวิธีดังนี้ - เปอร์เซ็นต์เวลาสูญเปล่าในกระบวนการเคลือบแลคเกอร์ลดลง 3.65 เปอร์เซ็นต์ - ลดเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนแม่พิมพ์กระบวนการพิมพ์สีลง 38 เปอร์เซ็นต์ หรือผลผลิตเพิ่มขึ้นวันละ 2,664 แผ่น คิดเป็นต้นทุนการผลิตที่ลดลง 5 เปอร์เซ็นต์ - ลดเวลาที่ใช้ในการเปลี่นแม่พิมพ์กระบวนการขึ้นรูปกระป๋องลง 53 เปอร์เซ็นต์ หรือผลผลิตเพิ่มขึ้นวันละ 22,000 กระป๋อง คิดเป็นต้นทุนการผลิตที่ลดลง 7 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: Strategy in increasing overall efficiency for the can making industry under the vision of the organization is "to be the number one packaging in the world". The method of strategic management starts from analysis strength, weakness, opportunity and threat in order to set the objective of increasing overall efficiency and to reasonably select the model line which support the bussiness. The Coffee can line yields the maximum turn over. Therefor a long term strategic planning is increase efficiency for the line will be studied by emphasinging problems and weak points in every manufacturing process of model line, to choose main strategy to apply. One of the strategic is an implementation of total productive maintenance for lacquring process to reduce idle time from machine breakdown and minor stoppaged. Another strategic is an implementation of single minute exchanging of die for printing process and can making process to reduce changeover time in order to increasing process capability. Followings are the results - Reduced 3.65% of idle time in lacquring process. - Reduced changeover time in printing process by 38% or increased production output up to 2,664 sheets per day and reduced production cost by 5%. - Reduced changeover time in can making process to 53% or increased production output up to 22,000 cans per day and reduced production cost by 7%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12640
ISBN: 9743313303
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Petcharin_Po_front.pdf816.78 kBAdobe PDFView/Open
Petcharin_Po_ch1.pdf845.02 kBAdobe PDFView/Open
Petcharin_Po_ch2.pdf863.9 kBAdobe PDFView/Open
Petcharin_Po_ch3.pdf959.58 kBAdobe PDFView/Open
Petcharin_Po_ch4.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Petcharin_Po_ch5.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Petcharin_Po_ch6.pdf752.41 kBAdobe PDFView/Open
Petcharin_Po_ch7.pdf767.62 kBAdobe PDFView/Open
Petcharin_Po_back.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.