Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12729
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์-
dc.contributor.authorธนัสถ์ จังมงคลกาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialสมุทรปราการ-
dc.date.accessioned2010-06-01T04:05:33Z-
dc.date.available2010-06-01T04:05:33Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12729-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractรถจักรยานสามล้อถีบเป็นประดิษฐกรรมของคนไทย ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศทั่วประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ในช่วง 20-25 ปีก่อน การประกอบอาชีพถีบสามล้อได้ถูกจำกัดลง ห้ามวิ่งบนท้องถนนในเขตกรุงเทพมหานคร จึงทำให้พบเห็นการประกอบอาชีพถีบสามล้อหลงเหลือเพียงไม่กี่แห่ง ส่วนใหญ่อยู่กระจายตัวในเขตปริมณฆล ผู้วิจัยได้พบชุมชนซอยวัดด่านซึ่งอยู่ในพื้นที่ ต. สำโรงเหนือ จ.สมุทรปราการ มีคิวสามล้อที่หน้าปากซอยวัดด่าน และมีการประกอบอาชีพถีบสามล้อมานานถึง 20-30 ปี ซึ่งนอกจากคิวสามล้อแล้ว ยังมีรถรับจ้างสาธารณะประเภทอื่นที่แย่งผู้โดยสารของสามล้อ ทำให้มีรายได้ลดลง และมีความยากลำบากในการประกอบอาชีพมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการอยู่อาศัย และปัญหาการอยู่อาศัยปัจจุบันของผู้ขับขี่รถสามล้อถีบ โดยวิเคราะห์ลักษณะทางด้านสังคม สภาพวิถีชีวิต และเศรษฐกิจ นำมาประมวลผลวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา และพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้ขับขี่รถสามล้อถีบ ผลจากการศึกษาพบว่า ลักษณะตัวบ้านที่สามล้ออยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพไม่ดี มีการอยู่อาศัยที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ถูกสุขลักษณะ และขาดความปลอดภัยในการอยู่อาศัย นอกจากนั้นมีบางส่วนที่มีการพักอาศัยไม่เป็นหลักแหล่ง ซึ่งเมื่อพิจารณาตามลักษณะการครอบครองรถสามล้อถีบ พบว่า กลุ่มที่เช่ารถถีบมีสภาพการอยู่อาศัยที่แย่กว่า กลุ่มที่มีรถเป็นของตัวเอง ในขณะที่สภาพชุมชนที่อยู่อาศัย พบว่า ผู้ขับขี่รถสามล้อที่อยู่กับอู่บริการ หรือกลุ่มผู้เช่ารถถีบนี้จะมีการอยู่อาศัยในชุมชน ที่มีสภาพดีกว่ากลุ่มผู้ขับขี่รถสามล้อถีบที่ไม่ได้อยู่กับอู่บริการ ด้านปัญหาการอยู่อาศัย ส่วนใหญ่กลุ่มผู้ขับขี่รถสามล้อถีบที่มีปัญหามากที่สุดคือ กลุ่มที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีห้องนอน และห้องน้ำห้องส้วม รองลงมาคือ กลุ่มที่อยู่อาศัยในอู่บริการกับเพื่อนสามล้อ มีการอยู่อาศัยที่แออัด ห้องน้ำห้องส้วม และห้องนอนไม่เพียงพอ สภาพภายในไม่สะอาด และสุดท้ายกลุ่มที่มีปัญหาในตัวบ้านน้อยที่สุดคือ กลุ่มที่อยู่อาศัยกับครอบครัว ไม่มีความแออัด จากผลการศึกษาดังกล่าวได้พบว่า ต้นเหตุที่สามล้อมีการอยู่อาศัยตัวบ้านสภาพไม่ดี เกิดจากผู้เช่ารถสามล้อถีบมีรายได้น้อย ยากจน ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเช่า หรือจัดหาที่อยู่อาศัยที่มีสภาพดีได้ ในขณะที่เจ้าของอู่บริการเองก็มีรายได้น้อย ไม่สามารถจัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมให้ผู้ขับขี่รถสามล้อถีบได้ด้วย ดังนั้นข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยของสามล้อจะยั่งยืนได้ด้วย หลักการพึ่งพาตนเองโดยหาโอกาสเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง ด้วยการประกอบอาชีพเสริมเป็นกลุ่ม เช่น สามล้อรับผู้สูงอายุ และจากการออมรายวัน โดยริเริ่มในการรวมกลุ่มของสามล้อในอู่มิตรภาพ เนื่องจากมีแนวโน้มในการรวมกลุ่มสูง และเจ้าของอู่สนับสนุน ทำให้มีความพร้อมในการแก้ปัญหามากกว่ากลุ่มสามล้อในอู่อื่น โดยริเริ่มจากการทำกิจกรรมทำความสะอาดภายในที่อยู่อาศัยปัจจุบัน กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในกลุ่มสามล้อด้วยกัน และเป็นการจุดประกายในการแก้ปัญหาให้กับอู่อื่น โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หน่วยงานต่างๆควรให้การช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น ให้ความรู้ อบรมเรื่องสุขลักษณะเพื่อให้เกิดเป็นกระบวนการแก้ปัญหาด้วยกลุ่มสามล้อเป็นหลักต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe tricycle is a Thai invention that was widely used throughout the country from 1933, during and after the reign of King Rama VII. Twenty to twenty-five years ago, however, they were not allowed to be ridden on the streets in Bangkok. As a consequence, the tricycle service business has since been very much hampered, and presently is seen to remain in very few locations. One of these is Soi Wat Darn community area, Samrong Nua District, Samut prakan Province. The tricycle service business in this area encounters several problems including competition from public transport services and from other kinds of vehicles, reduced incomes, and thus increased occupational difficulties. This research aims to explore the living conditions and problems of tricycle drivers in Soi Wat Darn area, taking into account both social and economic factors so that suggestions can be made on how to improve their living problems. The study found that these drivers in substandard houses. In addition, their living conditions were below standard, unhygienic, and unsafe. Moreover, some of them did not have a permanent house to live in. When the types of tricycle ownership were taken into consideration, those who had their own tricycle had better living conditions than did those who rented their tricycle. As for the latter group, when the types of residence were taken into consideration, those who lived with the tricycle owner had better living conditions than did those who lived by themselves. In terms of housing, the drivers who did not have a permanent house to live in had the poorest living conditions as there was neither a bedroom nor a toilet for them to use. Second came those who lived with their peer as there was not enough space. For example, there was no bedroom and sufficient toilet for the people sharing the dwelling. Furthermore, their living conditions were not hygienic. Those who had a permanent house to live in had the least problems. Regarding the factors contributing to their poor living conditions, the drivers had such low incomes that they could not afford to rent a permanent house nor improve their housing conditions. Furthermore, the tricycle owners also had such low incomes that they could not afford to provide a proper place for their drivers to live in. To improve their living conditions and solve their living problems, the effort should be based on a sustainable approach, supported by the tricycle owners and in the form of group cooperation. To increase their income, the drivers should cooperate to do extra jobs such as giving service to the elderly. In addition, they should be encouraged to save their daily income. Furthermore, they should organize cleaning activities for their current houses. Finally, the parties concerned should provide assistance, training and knowledge about hygiene.en
dc.format.extent9354131 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectที่อยู่อาศัยen
dc.subjectผู้ขับขี่สามล้อถีบen
dc.subjectความจนen
dc.subjectการพึ่งตนเองen
dc.titleสภาพการอยู่อาศัยของผู้ขับขี่รถสามล้อถีบ : กรณีศึกษา ย่านชุมชนซอยวัดด่าน ต. สำโรงเหนือ จ. สมุทรปราการen
dc.title.alternativeLiving condition of tricycle drivers : a case study of Soi Wat Darn community area, Samrong Nua District, Samut Prakan Provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanast.pdf9.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.