Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12764
Title: ผลของการใช้สถานการณ์จำลองในการสอนภาคปฎิบัติการพยาบาลสุขภาพจิต และจิตเวชต่อความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพ เพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาล
Other Titles: Effects of using simulations in clinical teaching of mental health and psychiatric nursing on the ability in establishing therapeutic relationship of nursing students
Authors: สาวิตรี แย้มศรีบัว
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Jintana.Y@Chula.ac.th
Subjects: การพยาบาลจิตเวชศาสตร์
การรักษาโรค
สุขภาพจิต
การพยาบาลศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
สถานการณ์จำลอง (การสอน)
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้สถานการณ์จำลองในการสอนการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชภาคปฏิบัติ ที่มีต่อความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาล และเปรียบเทียบ ความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดของนักศึกษากลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง กับกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ ในการสอนการปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ของวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ที่กำลังเรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช จำนวน 32 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น และจัดเป็นกลุ่มทดลอง 16 คน กลุ่มควบคุม 16 คน กลุ่มทดลองได้รับการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง รวบรวมข้อมูล โดยการวัดความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดหลังการทดลอง ด้วยแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเพื่อการบำบัด และ แบบตรวจนับพฤติกรรมการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และค่าความเที่ยงภายในของแบบวัด และดัชนีความสอดคล้องของการตรวจนับแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า ความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง สูงกว่า กลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this quasi experimental research were to effects of teaching by simulations in clinical teaching of mental health and psychiatric nursing on the ability in establishing therapeutic relationship nursing students and to compare such of nursing students who were taught by simulations and by conventional teaching methods. Research samples were 32 second year nursing students of Police College of Nursing which were randomly assigned into one experimental group and one control group by using Randomized Block Design. The experimental group was taught by simulations, and the control group was taught by conventional teaching method, Instruments, used in the experimental group, was a lesson plan using simulation. Two instruments, used in data collection were a tool designed to analyze nurse-patient interaction and a modified essay question test which were developed by the researcher and test for the content validity and the internal reliability and the consistency index of tallying. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviation and by t-test. The major findings was the following: The ability in establishing therapeutic relationship of nursing students in the experiment group who were taught by simulation was significantly higher than those who were taught by conventional teaching method, at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12764
ISBN: 9746389513
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Savitree_Ya_front.pdf344.51 kBAdobe PDFView/Open
Savitree_Ya_ch1.pdf477.73 kBAdobe PDFView/Open
Savitree_Ya_ch2.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Savitree_Ya_ch3.pdf786.9 kBAdobe PDFView/Open
Savitree_Ya_ch4.pdf232.23 kBAdobe PDFView/Open
Savitree_Ya_ch5.pdf413.86 kBAdobe PDFView/Open
Savitree_Ya_back.pdf975.72 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.