Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12832
Title: | Effects of inorganic phosphorus on stability and physicochemical properties of milk in dairy crossbred holstein |
Other Titles: | ผลของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสต่อการเปลี่ยนแปลงทางเสถียรภาพและคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของน้ำนมในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ |
Authors: | Cholthicha Saksuwan |
Advisors: | Narongsak Chaiyabutr Somchai Chanpongsang |
Other author: | Chulalongkorn University. Graduate School |
Advisor's Email: | Narongsak.C@Chula.ac.th Somchai.C@Chula.ac.th |
Subjects: | Phosphorus Milk |
Issue Date: | 1998 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | The objective of this investigation was to study the effect of inorganic phosphorus (Pi) on stability and physicochemical properties of milk whether its effect occurred intracellular or extracellular of mammary gland of crossbred Holstei Friesians. The 20 animals were divided into 2 groups depend on their milk quality test with 75% EtOH. Ten animals were assigned to positive EtOH test group. Other ten animals were assigned to negative EtOH test group. Experiments in each group were carried out both in vivo and in vitro. In in vivo study, animals received Pi 28.5 mg/min throughly 120 minutes of experimental period. Before the end of experimental period, blood sample was collected for mammary A-V difference, mammary extraction ratio and blood electrolyte concentration. The end of experimental period, milk was collected for milk stability test by ethanol (EtOH), milk composition, milk precipitation and the soluble salt balance (SSB) of milk. In in vitro study, an addition of Pi were performed at 3 levels of Pi 0.1, 0.5 and 0.9 mg/ml milk. After Pi addition, milk sample was carried out for stability test to compared with that of milk before Pi addition. During Pi solution infusion, animals in both groups showed significantly higher of plasma Pi concentration (P<0.01). Animals with the positive EtOH test showed a higher mammary A-V difference and mammary extraction ratio of Pi. Plasma electrolyte concentrations for Ca, Na, K, Cl and Mg were not affected by Pi solution infusion. The precipitation value of normal milk showed no differences of the optical density between before and after Pi infusion in each group. During testing the stability of milk with EtOH the occurrence of precipitation in the positive EtOH test was more than that of the negative EtOH test (P<0.01). A shift to higher stability from 68% to 75% or 80% were apparent after Pi infusion in positive EtOH test. During Pi infusion, the Pi concentration in milk markedly increased in both group. After Pi infusion, milk compositions of the positive EtOH test were in normal range as in the negative EtOH test exception for the milk Na concentration. Pi solution infusion did not affect to the fraction of casein concentration. The negative EtOH test had significant higher of K-casein concentration in milk than the positive EtOH test. The SSB were not affected by Pi infusion in both groups. The SSB of the negative EtOH test showed significant lower (P<0.01) when compared to the positive group. The addition of Pi in milk at 0.1, 0.5 and 0.9 mg Pi/ml milk would affect the stability of milk to EtOH test (P<0.01) in the positive EtOH testing group. From these results, it may conclude that Pi affected the stability and physicochemical properties of milk in dairy crossbred Holstein. Pi support the structure of casein micelle either in intracellular or extracelllar of mammary tissue. However, the physicochemical properties of milk and micelle forming are dependent on the property of each casein formation of individual animal. |
Other Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสต่อการเปลี่ยนแปลงทางเสถียรภาพและคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของน้ำนมในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ว่าเกิดขึ้นที่ภายในหรือภายนอกเซลต่อมน้ำมัน โดยสัตว์ทดลอง 20 ตัว แบ่งตามลักษณะคุณภาพของน้ำนมเมื่อทดสอบด้วยแอลกอฮอล์ 75% เป็น 2 กลุ่ม สัตว์ทดลอง 10 ตัวเป็นกลุ่มที่ให้ผลบวกกับแอลกอฮอล์ที่เหลือ 10 ตัวเป็นกลุ่มที่ให้ผลลบกับแอลกอฮอล์ โดยแต่ละกลุ่มทำการทดสอบผลของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสทั้งภายในและภายนอกตัวสัตว์ การทดลองภายใต้ตัวสัตว์ทำการฉีดอนินทรีย์ฟอสฟอรัสเข้าหลอดเลือดดำขนาด 28.5 มก/นาที เป็นเวลาทั้งหมด 120 นาที ก่อนสิ้นสุดเวลาที่ทำการทดลอง ทำการเก็บตัวอย่างเลือดสำหรับวัดค่าความแตกต่างของความเข้มข้นของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสในเลือดดำและเลือดแดง วัดค่าความแตกต่างของความเข้มข้นของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสในเลือดดำและเลือดแดงคิดเป็น เปอร์เซนต์ของความเข้มข้นในเลือดแดง และส่วนประกอบของไอออนในเลือด เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการเก็บตัวอย่างน้ำนมเพื่อวัดเสถียรภาพของน้ำนมต่อแอลกอฮอล์ วัดความเข้มข้นส่วนประกอบในน้ำนม วัดการตกตะกอนของน้ำนม และวัดความสมดุลเกลือแร่ในน้ำนม ส่วนการทดลองภายนอกตัวสัตว์โดยการเติมอนินทรีย์ฟอสฟอรัสในน้ำนมเพื่อเพิ่มความเข้มข้นจากเดิมที่ 3 ระดับ 0.1 0.5 และ 0.9 มก. อนินทรีย์ฟอสฟอรัส/มล น้ำนม และทดสอบเสถียรภาพของน้ำนมเปรียบเทียบกับก่อนให้อนินทรีย์ฟอสฟอรัส จากการทดลองพบว่าสัตว์ทั้ง 2 กลุ่ม ขณะฉีดสารอนินทรีย์ฟอสฟอรัสระดับอนินทรีย์ฟอสฟอรัสในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.01) ส่วนในกลุ่มที่ให้ผลบวกกับแอลกอฮอล์พบว่าต่อมน้ำนมมีการใช้อนินทรีย์ฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น ไม่พบการเปลี่ยแปลงในระดับของส่วนประกอบไอออน (แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม คลอไรด์ และแมกนีเซียม) ในเลือด และในการทดสอบการตกตะกอนน้ำนมโดยการไม่พบความแตกต่างของน้ำที่เหลือจากตะกอนระหว่างก่อนและหลังให้อนินทรีย์ฟอสฟอรัส ในการทดสอบเสถียรภาพของน้ำนมด้วยแอลกอฮอล์ จะพบตะกอนเกิดขึ้นในกลุ่มที่ให้ผลบวกกับแอลกอฮอล์มากกว่าในกลุ่มที่ให้ผลลบกับแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.01) ส่วนในกลุ่มที่ให้ผลบวกกับแอลกอฮอล์พบว่ามีการเปลี่ยนความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการเกิดการตกตะกอนสูงขึ้นจาก 68% เป็น 75% หรือ 80% หลังการให้อนินทรีย์ฟอสฟอรัส ในระหว่างทำการให้อนินทรีย์ฟอสฟอรัสจะมีการเพิ่มระดับอนินทรีย์ฟอสฟอรัสในน้ำนมทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนค่าของระดับแคลเซียม โซเดียมโพแทสเซียม คลอไรด์ แมกนีเซียม ซิเตรต แลคโตส ไขมัน และโปรตีนในน้ำนมไม่พบการเปลี่ยนแปลงในทั้ง 2 กลุ่ม ยกเว้นค่าของระดับโซเดียมในกลุ่มที่ให้ผลบวกกับแอลกอฮอล์จะมีค่าลดลง ช่วงการทดลองไม่มีผลต่อระดับเคซีนในน้ำนม แต่ในกลุ่มที่ให้ผลลบกับแอลกอฮอล์พบว่า มีระดับ K-เคซีนมากกว่าในอีกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.01) ระดับของสมดุลเกลือแร่ในน้ำนมไม่ได้รับผลจากการทดลองแต่จะพบว่าในกลุ่มที่ให้ผลลบกับแอลกอฮอล์มีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ให้ผลบวกกับแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.01) ส่วนการเติมอนินทรีย์ฟอสฟอรัสในน้ำนมที่ 0.1 0.5 และ 0.9 มก อนินทรีย์ฟอสฟอรัส/มล มีผลต่อเสถียรภาพของน้ำนมต่อการทดสอบแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ให้ผลบวกกับแอลกอฮอล์ (P<0.01) จากการทดสอบครั้งนี้ สรุปว่าอนินทรีย์ฟอสฟอรัสมีผลต่อเสถียรภาพและคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของน้ำนมในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์โดยที่อนินทรีย์ฟอสฟอรัสเป็นตัวช่วยให้โครงสร้างของเคซีนไมเซลมีเสถียรภาพซึ่งสามารถเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกเซลต่อมน้ำนม โดยคุณสมบัติในการเกิดโครงสร้างเป็นเคซีนไมเซลก็ยังขึ้นอยู่กับลักษณะของวัวแต่ละตัวอีกด้วย |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 1998 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Physiology |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12832 |
ISBN: | 9746394908 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Cholthicha_Sa_front.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholthicha_Sa_ch1.pdf | 742.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholthicha_Sa_ch2.pdf | 910.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholthicha_Sa_ch3.pdf | 886.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholthicha_Sa_ch4.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholthicha_Sa_ch5.pdf | 817.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholthicha_Sa_back.pdf | 814.75 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.