Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12837
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพรรณ พนัสพัฒนา-
dc.contributor.authorภัทรา ภาคย์ประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-06-11T09:36:17Z-
dc.date.available2010-06-11T09:36:17Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12837-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractศึกษาบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์การละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าและข้อยกเว้นของการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าตามพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่สาม เพื่อแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดจากความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์การละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าตามมาตรา 6 ที่ไม่ครอบคลุมถึงการกระทำของบุคคลที่สาม และปัญหาที่เกิดจากการกำหนดข้อยกเว้นของการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าตามตรา 7 (1) ที่กำหนดข้อยกเว้นความรับผิดให้เฉพาะแต่บุคคลที่สามที่ได้ความลับทางการค้ามาทางนิติกรรมโดยสุจริตว่ามีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร รวมถึงวิเคราะห์กรณีของบุคคลที่สามที่ได้ความลับทางการค้ามาทางนิติกรรมโดยสุจริตซึ่งเข้าข้อยกเว้นความรับผิดว่ามีสิทธิที่จะใช้หรือเปิดเผยความลับทางการค้าต่อไปได้แค่ไหนและเพียงใด และกรณีของบุคคลที่สามที่ได้ความลับทางการค้ามาโดยทางอื่นนอกจากทางนิติ กรรมโดยสุจริตว่ามีความรับผิดหรือไม่อย่างไร ผลจากการศึกษาบทบัญญัติทางกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ และคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า ตามกฎหมายของต่างประเทศพบว่า บทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์การละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า ข้อยกเว้นของการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า รวมถึงมาตรการเยียวยาความรับผิดของบุคคลที่สามตามพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 มีความแตกต่างจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามกฎหมายของต่างประเทศ มีความแตกต่างจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามกฎหมายของต่างประเทศ จากการศึกษายังพบว่ามีความไม่เหมาะสมของบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการเยียวยาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่สามตามพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 จึงได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์การละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าตามมาตรา 6 บทบัญญัติที่กำหนดข้อยกเว้นของการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าตามมาตรา 7 (1) และบทบัญญัติที่กำหนดมาตรการเยียวยาตามมาตรา 11 รวมถึงการตีความของศาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของบุคคลที่สามให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับหลักเกณฑ์ตามกฎหมายของต่างประเทศ อันจะทำให้การคุ้มครองสิทธิในข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้เป็นไปอย่างสมบูรณ์.en
dc.description.abstractalternativeStudies the provisions on rules governing infringement of trade secret rights and the exceptions thereof as regards third parties under the Trade Secrets Act B.E. 2545 (2002). The study seeks to identify problems arising from ambiguities in the rules on trade secrets infringement provided in section 6, which fail to include the acts of third parties, as well as problems arising from and the suitability of exceptions to trade secrets infringement provided in section 7 (1), which exclude liabilities only for bona fide third parties acquiring trade secrets from juristic acts. The analysis also examines the scope and extent of permissible use or disclosure of trade secrets by bona fide third parties excluded from liability, and the existence and extent of liability of bona fide third parties acquiring trade secret through means other than the transaction of juristic acts. Results obtained from studies of legal provisions, law textbooks, academic publications and court judgments pertaining to the rules governing infringement of trade secret rights under foreign jurisdictions reveal that the rules on infringement of trade secret rights and the exceptions thereof, including remedies for third party liabilities, under the Trade Secrets Act B.E. 2454 (2002), differ from the corresponding rules under foreign law. This study has identified certain flaws in the rules and remedies with respect to the acts of third parties under the Trade Secrets Act B.E. 2545 (2002), In this regard, proposals have been made for modifications of existing laws through amendments to the rules on infringement of trade secret rights under section 6, exceptions to trade secrets infringement provided in section 7 (1) and the provision on remedies in section 11. It has also been suggested that judicial interpretation, where related to third parties, should follow the approach adopted by other jurisdictions. It is expected that these proposals would lead to greater effectiveness in the protection of trade secrets in line with the intentions of the said Act.en
dc.format.extent1899181 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.95-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความลับทางการค้าen
dc.subjectความลับทางการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.subjectความรับผิด (กฎหมาย)en
dc.subjectพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545en
dc.subjectบุคคลที่สาม (กฎหมาย)en
dc.subjectละเมิดen
dc.subjectทรัพย์สินทางปัญญาen
dc.titleการคุ้มครองบุคคลที่สามที่ได้ความลับทางการค้ามาโดยสุจริตen
dc.title.alternativeProtection of a third party bona-fide acquiring trade secretsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.95-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patra.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.