Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12842
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มานพ วราภักดิ์ | - |
dc.contributor.author | นวลพรรณ มีนาทุ่ง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี | - |
dc.date.accessioned | 2010-06-11T10:05:15Z | - |
dc.date.available | 2010-06-11T10:05:15Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743335803 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12842 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาหาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับพยากรณ์มูลค่าการส่งออก อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย เพื่อได้ตัวแบบพยากรณ์ที่ให้ความคลาดเคลื่อนต่ำ โดยนำเทคนิคทางสถิติมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยวิธีบอกซ์-เจนกินส์ เทคนิคการปรับให้เรียบแบบเลขชี้กำลัง วิธีการวิเคราะห์การถดถอยและวิธีแยกองค์ประกอบ โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ทั้ง 4 วิธี ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ระหว่างปี 2527-2541 ที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ดังนี้คือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (GDP) และมูลค่าการนำเข้าสินค้า จากหนังสือ International Financial Statistics Yearbook 1998 ซึ่งเป็นข้อมูลรายปี ระหว่างปี 2527-2541 จัดทำโดย International Monetary Fund ค่าจ้างขึ้นต่ำของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนเครื่องจักร จำนวนคนงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอประเภทต่างๆ และปริมาณการผลิตเส้นด้าย ได้จากส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ดัชนีราคาผู้บริโภค และมูลค่าการส่งออกสิ่งทอ ได้จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ โดยก่อนที่จะวิเคราะห์หาตัวแบบนั้น ผู้วิจัยได้ปรับข้อมูลมูลค่าการส่งออกสิ่งทอประเภทต่างๆ ในเทอมของเงินบาท ให้อยู่ในเทอมของเงินดอลลาร์ ในการวิจัยครั้งนี้ศึกษาเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอในหมวดที่มีความสำคัญ 2 หมวดด้วยกันคือ เครื่องนุ่งห่ม และผ้าผืนและด้าย ซึ่งหมวดเครื่องนุ่งห่มประกอบด้วยเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ ถุงเท้าและถุงน่อง และถุงมือผ้า ส่วนหมวดผ้าผืนและด้ายประกอบด้วยผ้าผืน ด้ายเส้นใยประดิษฐ์และด้ายฝ้าย จากการเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ที่ได้จากวิธีการต่างๆ ทั้ง 4 วิธี โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์แล้ว พบว่าตัวแบบพยากรณ์มูลค่าการส่งออกสิ่งทอโดยส่วนใหญ่ เหมาะกับการพยากรณ์โดยวิธีบอกซ์เจนกินส์ ส่วนตัวแบบพยากรณ์สำหรับสิ่งทอประเภทผ้าผืนและด้าย และประเภทผ้าผืนเท่านั้นที่เหมาะกับการพยากรณ์ โดยวิธีการวิเคราะห์การถดถอย หลังจากได้ตัวแบบพยากรณ์มูลค่าการส่งออกสิ่งทอแต่ละประเภทแล้ว ได้พยากรณ์มูลค่าการส่งออกสิ่งทอล่วงหน้าไปอีก 2 ปี คือปี 2542 และ 2543 คาดว่าสถานการณ์ส่งออกสิ่งทอประเภทเครื่องนุ่งห่ม ประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป ประเภทถุงเท้าและถุ่งน่อง ประเภทถุงมือผ้า ประเภทด้ายเส้นใยประดิษฐ์และประเภทด้ายฝ้าย มีแนวโน้มลดลงกว่าปี 2541 ที่ผ่านมาค่อนข้างมาก โดยเฉลี่ยประมาณ 9.67% มีเพียงสิ่งทอประเภทเครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ ประเภทผ้าผืนและด้ายและประเภทผ้าผืนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแต่ไม่มากนัก โดยเฉลี่ยประมาณ 1.75 เปอร์เซ็นต์ ตลอดระยะเวลา 10 ปีสิ่งทอประเภทเครื่องนุ่งห่มเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของประเทศ ได้สร้างมูลค่าอย่างมากมายให้แก่ประเทศไทยแต่มีแนวโน้มลดลงกว่าปี 2541 ที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก โดยเฉลี่ยประมาณประมาณ 4.08 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นรัฐบาลจึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขในการกำหนดนโยบายและวางแผนงานต่างๆ ทีเกี่ยวข้องในการมุ่งส่งเสริมสินค้าอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย เพื่อจะได้ช่วยเพิ่มพูนรายได้ของประเทศ และยังคงรักษาความเป็นผู้นำในด้านนี้ไว้ได้ต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | To find an appropriate statistical methods of forecasting the exports of textile products based on small error. The mean absolute percent error was used as the criterion for choosing between the following four forecasting techniques: Box-Jenkins, exponential smoothing, regression analysis, and decomposition. This study used the following additional data : Gross Domestic Product (GDP) and import data (between 1984 to 1998) from the International Financial Statistics Yearbook 1998, published by the International Monetary Fund (IMF); minimum wages in Bangkok and adjacent provinces from the national statistical office; number of textile machines installed, number of production workers and production of yarns from the Textile Industry Division, Bureau of Industrial Sectors Development of the Department of Industrial Promotion and exchange rates; consumer price index and the value of textile industry exports from the Ministry of Commerce. Before investigating the models, the export data was converted from baht to dollar amounts. Thai textile products were classified into two main groups, clothing, fabric and yarn, and respectively 4 and 3 subgroups. The clothing subgroups were readymade-clothing, brassieres, braces and parts thereof, sock and tights and fabric gloves. The fabric and yarn subgroups were fabric, Man-made yarn and yarn. Comparison of the forecasts from the four techniques showed that the Box-Jenkins Techniques gave the least mean absolute percent error for most categories. However, in fabric and yarn, and fabric, regression analysis gave better results than Box-Jenkins. Based on the results of this research, models have been constructed to forecast the export value of all textile products in the above categories for 1999 and 2000. The conclusion from the models can be expressed as following: The export of clothing, readymade-clothing, sock and tights, fabric gloves, Man-made yarn and yarn combined together are expected to drop about 9.67%. The brassiere products, the fabric and yarn products, and the fabric products exports are expected to increase about 1.75%. For the past 10 years, clothing has been the main export group which are considered to be very important for building a strong Thai economy but these exports are expected to reduce the total textile exports by approximately 4.08%. This information is extremely useful for the Thai government to make critical decisions on export policy in order to maintain Thailand as a leadering textile exporting country in the future. | en |
dc.format.extent | 625740 bytes | - |
dc.format.extent | 388499 bytes | - |
dc.format.extent | 1519034 bytes | - |
dc.format.extent | 524288 bytes | - |
dc.format.extent | 3434627 bytes | - |
dc.format.extent | 322339 bytes | - |
dc.format.extent | 8021864 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.263 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมสิ่งทอ -- ไทย | en |
dc.subject | พยากรณ์เศรษฐกิจ | en |
dc.subject | การวิเคราะห์อนุกรมเวลา | en |
dc.subject | การวิเคราะห์การถดถอย | en |
dc.title | การพยากรณ์มูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย | en |
dc.title.alternative | Forecasting the value of textile industry exports in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถิติ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | fcommva@acc.chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1999.263 | - |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuanpan_Me_front.pdf | 611.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuanpan_Me_ch1.pdf | 379.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuanpan_Me_ch2.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuanpan_Me_ch3.pdf | 512 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuanpan_Me_ch4.pdf | 3.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuanpan_Me_ch5.pdf | 314.78 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuanpan_Me_back.pdf | 7.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.